กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริการวิชาการสู่สังคม ในฐานะที่ปรึกษาฯจัดกิจกรรมหลักสูตร "ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง" ให้กับกรมสรรพากร ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้) จังหวัดสุพรรณบุรี
ผศ.ดร.นิลุบล ศิวบวรวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริการวิชาการสู่สังคม ในฐานะที่ปรึกษาฯ จัดโครงการหลักสูตร "ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง" ให้กับกรมสรรพากร โดยมีนายชานนท์ สุราภา ผู้จัดการศูนย์วิทยบริการ SPU ร่วมดำเนินการจัดทำกิจกรรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้ เรื่อง"วิถีชาวนาไทยกับการเปลี่ยนแปลง" พร้อมฝึกปฏิบัติการดำนา เพื่อให้รู้ถึงความสำคัญของข้าวและความเหนื่อยยากลำบากของชาวนากว่าจะได้ข้าวมาซักหนึ่งเมล็ด พร้อมทำ workshop ประมวลความรู้ที่ได้รับภายหลังจากการทำกิจกรรม โดยมีข้าราชการและบุคลากร กรมสรรพากร จำนวน 80 คนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมในครั้งนี้ ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้) จ.สุพรรณบุรี เมื่อเร็วๆนี้
ผศ.ดร.นิลุบล ศิวบวรวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ ได้เปิดเผยว่า การจัดทำกิจกรรมโครงการ หลักสูตร "ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง" ในครั้งนี้ ได้จัดกิจกรรมในการนำพนักงานและข้าราชการ กรมสรรพากร เข้าศึกษาดูงานและทำ workshop กิจกรรมร่วมกับชาวบ้านชุมชนบ้านดงเย็น อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นมาก เหมือนแขกคนพิเศษ สนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ฐานทำเต้าหู้ ฐานคัดข้าวด้วยมือ ฐานทำปุ๋ยหมักใส้เดือน ซึ่งอยากให้ทุกท่านลองมาทำกิจกรรมแบบนี้กันเยอะๆ ช่วยชาวบ้านและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วยนอกกจากนี้ ทีมงานศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ยังได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้บริหารทายาทธุรกิจ คุณนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา ผู้มีแนวคิดธุรกิจเดินตามรอยเท้าพ่อ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่น่าปลาบปลื้มใจที่ได้มีโอกาสมาสัมผัสคุณงามความดีและความตั้งใจที่สามารถสะท้อนแนวคิดของพระองค์ท่านออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาท ความว่า "...การพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฎิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฎิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยุ่ในเวลานี้..." ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ทีมงานศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอกราบแทบเบื้องพระยุคลบาทด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
https://www.spu.ac.th/activities/12938
#มหาวิทยาลัยศรีปทุม #SPU #SRIPATUM #เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง #ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง