กรุงเทพฯ--21 ก.ค.--ธพว.
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) เปิดเผยว่า ธพว. ในฐานะหน่วยงานร่วมในการบริหารงานโครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ลงพื้นที่จัดงาน "คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรตามแนวประชารัฐ" เร่งดำเนินการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการตามมาตรการช่วยเหลือ SMEsวงเงินรวม 38,000 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ ธพว. มุ่งสร้างความแข็งแกร่งแก่ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและส่งเสริมการประกอบการของ SMEs พร้อมทั้งสนับสนุนให้ความรู้ ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายระยะเวลาในการขับเคลื่อนอย่างชัดเจน กระจายโอกาสสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Local Economy)
นายสมชาย กล่าวว่า คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการขอรับเงินกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ มีดังนี้ (1) เป็น SMEs ที่เป็นนิติบุคคลไทย ที่มีศักยภาพและมีขนาดของกิจการ 1.1 กิจการประเภทการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท 1.2 กิจการประเภทการค้าปลีก หรือการค้าส่ง โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 100 ล้านบาท (2) เป็น SMEsที่เป็นนิติบุคคลไทย เฉพาะที่เป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด (3) เป็น SMEs ที่ประกอบธุรกิจในกลุ่ม 3.1 กลุ่มธุรกิจ (Sector หรือ Cluster) ที่เป็นกลุ่ม 10 S-Curve หรือ ที่เชื่อมโยงและพัฒนาไปสู่กลุ่ม 10 S-Curve หรือ 3.2 ธุรกิจที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดกำหนด ทั้งนี้ ธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายในการให้การสนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจผิดกฎหมาย ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม (4) เป็น SMEsที่จะใช้เงินทุนเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการ/สินค้า/บริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เช่น การรับรองมาตรฐาน การนำนวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี หรือที่เกี่ยวกับ Digital เข้ามาใช้ในกิจการ เป็นต้น (5) เป็น SMEs ที่เคย หรืออยู่ระหว่างเข้าร่วมโครงการภาครัฐ หรือ องค์กรเอกชนที่มีลักษณะเป็นการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ หรือ เพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี การตลาด การจัดการ และการเงิน ทั้งในรูปกิจกรรมกลุ่ม หรือ การจัดที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือเฉพาะราย หรือ เป็นผู้ได้รับรางวัลในการประกวดแนวคิด/แผนธุรกิจ หรือ SMEs ดีเด่นด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ หรือ องค์กรเอกชน พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ (6) มีระบบบัญชีเดียว หรือ แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว (7) ไม่เป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี ณ วันยื่นขอเข้าโครงการ (8) ไม่เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือ ไม่เคยปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและมีประวัติการขำระหนี้ปกติ อย่างน้อย 12 งวด ก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ (9) ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ดังนี้ 9.1 กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน1,000 ล้านบาท 9.2 กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 200 ล้านบาท 9.3 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตกรรมไทย (10) ยินยอมนำส่งข้อมูลทางบัญชีของกิจการและข้อมูลเครดิตให้กับกองทุน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนตามรอบบัญชีทุกปี ตลอดอายุการชำระคืนหนี้ (11) หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดาหรือเคยมีประวัติเป็น NPL ยังขอรับการช่วยเหลือผ่านกองทุนฟื้นฟู SMEs ของ สสว.ได้ โดยจะไม่ทิ้งผู้ประกอบการที่ขาดโอกาสไว้ข้างหลัง
ทั้งนี้เพื่อขยายโอกาสสำหรับ SMEs ที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อกองทุนฯ สำหรับจังหวัดที่ยังมีวงเงินคงเหลือนั้น จะดำเนินการ ขยายระยะเวลาปล่อยกู้ไปจนถึง 30 กันยายน 2560 รวม 62 จังหวัด ดังนี้ เพชรบูรณ์ เพชรบุรี พังงา สิงห์บุรี นราธิวาส ยะลา ตราด ชัยนาท ตาก นนทบุรี ปัตตานี สมุทรสาคร มหาสารคาม ระยอง สุพรรณบุรี นครพนม สมุทรปราการ สระแก้ว บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา กำแพงเพชร สกลนคร หนองบัวลำภู อ่างทอง บุรีรัมย์ ยโสธร นครศรีธรรมราช ชุมพร จันทบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ นครนายก อุทัยธานี พัทลุง หนองคาย ตรัง ชัยภูมิ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี สมุทรสงคราม พิจิตร ราชบุรี ลำพูน นครราชสีมา กาฬสินธุ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ระนอง น่าน เลย สตูล มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา อยุธยา สุราษฎร์ธานี สระบุรี พิษณุโลก กระบี่ พะเยา แพร่ และ อำนาจเจริญ
ส่วนจังหวัดที่มีผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อเต็มวงเงินแล้ว มีทั้งหมด 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี อุดรธานี ปทุมธานี สุรินทร์ สุโขทัย ปราจีนบุรี เชียงราย ศรีสะเกษ ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม ร้อยเอ็ด และ กาญจนบุรี ซึ่งกองทุนปิดรับคำขอกู้ไปแล้ว
ดังนั้น ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติครบตามกำหนด และมีธุรกิจอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดที่ยังเปิดรับทั้ง 62 จังหวัดดังกล่าว ที่ประสงค์ยื่นคำขอสินเชื่อ โครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา ระยะเวลาชำระคืน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุด 3 ปี ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย ทั้งนี้ในแต่ละจังหวัดให้มีสัดส่วนร้อยละ 75 ขึ้นไป เป็นวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและมีธุรกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด รับสิทธิ์พิเศษจากกองทุนฯ ยื่นก่อนมีสิทธิ์ก่อน และสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศในเขตพื้นที่ของท่าน หรือ ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center) Call Center 1358 หรือ 02-202-3265, 02-202-3767
นายสมชายกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของการดำเนินงานกองทุนฯ มีผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสงค์ยื่นคำขอสินเชื่อ ผ่านทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 2,191 ราย วงเงิน 11,056 ล้านบาท ผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อผ่านทาง ธพว. จำนวน 1,543 ราย วงเงิน 7,377 ล้านบาท
ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ท่านสามารถแสดงความประสงค์ยื่นคำขอได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs (SME Support & Rescue Center) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ธพว. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 หรือ ธพว.ทุกสาขาทั่วประเทศ และสามารถกรอกสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.smebank.co.th/th/fund/ ติดตามกิจกรรมดีๆ ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank