"HR Restructuring" พลิกโฉมองค์กรให้เป็นต่อด้วยทุนมนุษย์

ข่าวทั่วไป Tuesday July 17, 2001 09:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--APM T&D
งานแถลงข่าว "HR Restructuring" พลิกโฉมองค์กรให้เป็นต่อด้วยทุนมนุษย์ วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2544 เวลา 09.30-11.45 น. ณ. ห้องอัมรินทร์ 1 โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
ผู้ดำเนินการแถลงข่าว: คุณอรัญญา เถลิงศรี
กรรมการผู้จัดการ APM Group และตัวแทนทีมบริหาร American Management Association ในประเทศไทย
รายละเอียดภายในงาน:
* เปิดเผยข้อมูลงานวิจัย HR Restructuring ในสหรัฐอเมริกา หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจะโยงมาสู่วิกฤตในประเทศไทย ที่จะต้องมีการปรับภาพโครงสร้างในเรื่องทุนมนุษย์ที่ทุกองค์กรต้องเตรียมพร้อม ในช่วงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน หลังผลกระทบจากเศรษฐกิจในอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
* ผู้สื่อข่าวที่มาร่วมงานทุกท่านจะได้รับบทวิจัยเรื่อง HR Restructuring จากสถาบัน American Management Association
พลิกโฉมองค์กรให้เป็นต่อ ด้วยทุนมนุษย์
การปรับโครงสร้าง HR แนวทางเร่งด่วนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับองค์กร ปฏิบัติบทบาท HR จากฝ่ายสนับสนุนสู่การเป็นทัพหน้าขององค์กร
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรจากสถาบัน APM Group สถาบันทางด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยกล่าวว่า ขณะนี้องค์กรในเอเชียกำลังตื่นตัวกับการปรับโครงสร้างฝ่ายทรัพยากรบุคคลโดยเน้นปรับโครงสร้างในเรื่องของคน ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในอเมริกาและยุโรปมาแล้วโดยปัจจัยที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวประกอบด้วย
1) การเรียกร้องจากลูกค้า
2) การแข่งขันในตลาดที่รุนแรงขึ้น
3) จำนวนคู่แข่งมากขึ้น
4) ค่าแรงงานสูงขึ้น
5) วัตถุดิบหายากขึ้น
6) พลังงานมีจำนวนน้อยลง
องค์กรที่จะประสบความสำเร็จในยุคนี้ได้ ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีเท่านั้น ที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรแต่จะต้องควบคู่ไปกับคนที่มีศักยภาพด้วย ดังนี้นั้นฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องปรับภาพการทำงานให้รองรับแนวโน้มเหล่านี้ด้วยการรื้อปรับโครงสร้างภายในฝ่าย องค์กรที่มีการปรับโครงสร้างฝ่ายทรัพยากรบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะเปลี่ยนชื่อจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลไปเป็นฝ่ายบริหารต้นทุนบุคลากร (Human Capital Management) โดยบทบาทหน้าที่ของ HR จะเปลี่ยนเป็นผู้ผลักดันธุรกิจให้องค์กรมากขึ้น ขณะที่ผู้จัดการแผนก (Line Manager) จะเข้ามาดูแลการจัดการบุคลากรมากขึ้น งานเกี่ยวกับเอกสารจะน้อยลง เพราะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและให้บริการภายนอกองค์กรมากขึ้น นอกจากนี้จำนวนคนของฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ในขณะที่ HR หนึ่งคนอาจจะต้องรับผิดชอบคนในองค์กรถึง 145 คน
กรรมการผู้จัดการ APM Group กล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญทำให้การรื้อปรับโครงสร้างฝ่ายทรัพยากรบุคคลประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย
1. HR จะต้องทำให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างการลงทุนเรื่องคนกับตัวเงินที่องค์กรจะได้รับกลับคืนมา (Balanced Value)
2. จะต้องยึดมั่นในการปฏิบัติตามกลยุทธ์หลักขององค์กร (Commitment)
3. เชื่อมโยงระบบการทำงานกับวัฒนธรรมขององค์กร (Culture)
4. สื่อสารอย่างสม่ำเสมอ (Communication)
5. เข้าไปเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ (Partnering)
6. ช่วยเหลือคนในองค์กรอย่างใกล้ชิด (Collaboration)
7. ต้องมีความกล้าคู่ไปกับความรอบคอบ (Innovation and Risk)
8. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Competitive Passion)นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่องค์กรจะมองข้ามไปไม่ได้สำหรับทรัพยากรบุคคลในอนาคตก็คือ การพัฒนาพนักงาน, การสร้างความเป็นผู้นำ, การดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กร ซึ่งจะทำให้องค์กรมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความจงรักภักดี พร้อมที่จะผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วขึ้น
เตือนประเทศไทยปรับตัวให้ทันการแข่งขันปรับโครงสร้างคน ปรับโครงสร้างการศึกษาด่วน!
ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนองค์กรและบุคลากรชี้ องค์กรทั่วโลกเร่งปรับโครงสร้างทรัพย์กรมนุษย์ เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน ภาครัฐและเอกชนไทยต้องรู้เท่าทัน ปรับเปลี่ยนเร่งด่วนทั้งโครงสร้างคนในองค์กร และโครงสร้างการศึกษาไทย
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรของสถาบัน APM Group สถาบันท้างด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากรที่มีชื่อเสียงที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยกล่าวว่า องค์กรทั่วโลกกำลังตื่นตัวเรื่องการปรับตัวโครงสร้างงานด้านทรัพยากรบุคคลโดยเน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านคน (People Strategy) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากเทคโนโลยีและการพัฒนาและวิจัยในปัจจุบันสามารถลอกเลียนหรือตามทันได้ทัน แต่ความสามารถของบุคลากรไม่สามารถลอกเลียนกันได้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเป็นอันตรายกับธุรกิจไทยอย่างยิ่ง เนื่องจาก ปัจจุบันค่าแรงไทยไม่ได้ต่ำอีกต่อไปแล้วเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น จีน เวียดนาม เป็นต้น วัตถุดิบและพลังงานในประเทศไทยก็ลดจำนวนลง รวมทั้งคุณภาพของสินค้าก็ยังไม่ดีพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยด้อยศักยภาพในการแข่งขัน หากความสามารถของคนในประเทศยังไม่มีการปรับปรุงไปเรื่อยๆ ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาครวม โดยอาจกลายเป็นประเทศที่นักลงทุนไมให้ความสนใจ บริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในไทยก็จะถอนตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการว่างงานครั้งใหญ่ของประชาชนคนไทย
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะต้องปรับโครงสร้างของทรัพยากรมนุษย์
กรรมการผู้จัดการ APM Gruop กล่าวต่อไปว่า ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนเท่านั้นที่จะให้ความสำคัญเรื่องการปรับโครงสร้างคนแต่รวมไปถึงรัฐบาลด้วยที่จะต้องผลักดันให้เกิดการเพิ่มความสามารถของคนในประเทศ ด้วยการตั้งเป้าหมายการพิจารณาคนตั้งแต่ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และดำเนินแผนงานต่อเนื่องทุกสมัยของรัฐบาล โดยสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ได้แต่เป้าหมายคงเดิม ซึ่งขณะนี้ประเทศในเอเชียบางประเทศได้เคลื่อนไหวตามการปรับโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยแถบยุโรปและอเมริกา เช่น ประเทศญี่ปุ่นทันทีที่ทราบว่าอเมริกามีการปรับโครงสร้างงานทรัพยากรบคุคล รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินแผนปรับ โครงสร้างการศึกษา เน้นระบบการเรียนรู้ (Learnning) สอนให้คนคิดเป็นมากกว่าท่องจำ และในประเทศสิงคโปร์ ภายหลังที่ไดค้นพบว่า สิ่งที่ทำให้ธุรกิจของสิงคโปร์สู้ประเทศอื่นไม่ได้ก็คือ คนสิงคโปร์ไม่มีใจรักในการให้บริการ (Service mind) ซึ่งปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน รัฐบาลสิงคโปร์จึงบรรจุหลักสูตรเกี่ยวกับการให้บริการอย่างถูกต้องเข้าไปในระบบการศึกษา และรณรงค์ให้บริษัทในสิงคโปร์อบรมเรื่องการให้บริการกับพนักงานบริษัท โดยหากองค์กร ใดสามารถพัฒนาการให้บริการขององค์กรได้รัฐบาลจะลดหย่อนภาษีให้กับองค์กรนั้นๆ
สำหรับองค์กรที่ปรับโครงสร้างทรัพยากรบุคคลสำเร็จแล้วในยุโรปและอเมริกา อาทิ Cologatc Palmolive, Banc One, Dell, General Electric, Dow Chemical, Eil Lilly, Hewlett Packard และ Unisys เป็นต้น โดยจากการวิจัยของสถาบัน American Management Association International พบว่าสาเหตุหลักที่องค์กรในยุโรปและอเมริกาต้องปรับโครงสร้าง คือ
1) ต้องการปรับปรุงให้บริการ (Cost Reduction) คิดเป็น 96%
2) ต้องการลดต้นทุน (Cost Reduction) คิดเป็น 88%
3) เป็นวิทัศน์ของผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล (HR director's vision) คิดเป็น 77%
4) จากการเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างองค์กร (Benchmarking) คิดเป็น 69%
5) ต้องการปรับปรุงวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร (Update methods) คิดเป็น 58%
6) การลดขนาดองค์กร (Downsizing) คิดเป็น 54%
7) เป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสูงสุด (CEO's vision) คิดเป็น 50%
8) มีการควบรวมกิจการ (Marger & Acquision) คิดเป็น 35%
ทั้งนี้องค์กรที่ปรับ โครงสร้างทรัพยากรบุคคลไดสำเร็จสามารถที่จะสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจกับสู่องค์กรได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น General Electric โดยก่อนการปรับโครงสร้างในปี ค.ศ. 1994 มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์ ภายหลังปรับโครงสร้างแล้วในปี ค.ศ. 1997 มีรายได้สุทธิ 8.2 พันล้านดอลลาร์ และ ในปี ค.ศ. 1999 รายได้สุทธิพุ่งตัวขึ้นสูงถึง 10.7 พันล้านดอลลาร์
About APM Group...
APM Group เป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากร รวมทั้งผลักดันองค์กรในประเทศไทยก้าวไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการให้บริการของ APM Group เป็นที่ยอมรับในกลุ่มองค์กรชั้นนำในประเทศไทย อาทิ การพัฒนาทักษะการจัดการและการเป็นผู้นำ(Management & Leadership)การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การพัฒนาระบบการอบรมภาษาอังกฤษให้กับพนักงานในองค์กร การพัฒนางานขายและงานบริการ เป็นต้น
1) APM International Co.,Ltd. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับ American Management Association International(AMAI)สถาบันทางด้านการพัฒนาองค์กรที่มีชื่อเสียงที่สุดติดอันดับหนึ่งในสามของโลก
2) APM Training & Development Center(APM T&D) ศูนย์รวมเครื่องมือทางด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกแห่งเดียวในประเทศไทย
ความเป็นมา
APM Group ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2535 ในนาม APM International Co.,Ltd. โดยแรกเริ่มให้บริการทางด้านที่ปรึกษาสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการไปศึกษาในต่างประเทศ ต่อมาได้ก้าวสู่การเป็นผู้จัดหลักสูตรอบรมสัมมนา โดยนำเสนอหลักสูตรที่มีชื่อเสียงจากสถาบันชั้นนำทั่วโลกให้กับผู้บริหารในประเทศไทยจนกระทั่ง APM Intemational มีชื่อเสียงในวงการอบรมสัมมนาทั้งในประเทศและนานาชาติ ในปี พ.ศ.2538 APM International ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับสถาบัน American Management Association International(AMAI)ซึ่งเป็นสถาบันทางด้านการพัฒนาองค์กรที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งในปี พ.ศ.2466 AMAI เป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่มุ่งผลกำไร เกิดจากการร่วมลงทุนของกลุ่มบริษัทจำนวน 100,000 แห่งรวมกับสมาชิกรายบุคคล โดยมีภาระกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของวงการบริหารในแต่ละภูมิภาค และในแต่ละประเทศให้สามารถดำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
APM Training & Development Center(APM T&D )เป็นศูนย์รวมชั้นนำทางด้านเครื่องมือการจัดการและพัฒนาบุคลากรที่นำเทคนิควิธีการที่มีคุณภาพระดับโลกเข้ามาตอบสนองการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย อาทิ หลักสูตรของ Human Resource Development Press ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดในอเมริกา แคนาดา และยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้ APM T&D ยังให้บริการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน--จบ--
-นห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ