กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--นานมีบุ๊คส์
วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยในอดีต ได้มีการส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมสู่อนุชนรุ่นหลังอย่างทรงคุณค่าหลากหลายประพณี โดยเฉพาะการบวชซึ่งเป็นประเพณีไทยที่สืบสานมาช้านาน แต่ปัจจุบันคนรุ่นหลังกลับไม่ได้สัมผัสประเพณีดั้งเดิมอย่างถ่องแท้ ดังนั้นการเรียนรู้ธรรมเนียมปฏิบัติที่กำลังจะกลืนหายไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยค้ำจุนค่านิยมอันดีงามในสังคมไทยสืบต่อไป หนังสือเรื่อง บรรพชาปวัตน์คำกลอน็นส็ เขียนโดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยประจำปี พ.ศ. 2552 จึงเป็นผลงานเขียนร้อยกรองอันทรงคุณค่าที่จะช่วยจารึกขนบธรรมเนียมไทยที่น่าชื่นชมและยังเป็นผลงานทรงคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ด้วยสำนวนโวหารที่เปรียบเทียบได้อย่างวิจิตรงดงามนั่นเอง
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานว่า "แรงบันดาลใจอย่างแรกในการเขียนเรื่อง บรรพชาปวัตน์คำกลอน คือเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีไทยถูกกับนิสัยของผมอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งร้อยกรองก็เป็นงานที่ผมพอทำได้ ผมตกลงใจเลือกแต่งเรื่องประเพณีการบวช เพราะการบวชเป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตจริงของผม พูดตามสำนวนนิยมก็ว่า ผมอยู่ในที่เกิดเหตุมาโดยตลอด การหยิบเอาเรื่องที่มิใช่แค่อยู่รอบตัว หากแต่อยู่เนื้อในตัวของตัวเองออกมาเล่าเป็นร้อยกรองซึ่งเป็นงานที่ผมชอบทำอยู่แล้ว จึงทำให้สนุกและมีความสุข ผมเลือกแต่งเป็นกลอนสุภาพหรือที่เรียกว่ากลอนแปด เพราะเป็นร้อยกรองที่มีลีลาเรียบๆ อย่างที่น่าจะเรียกว่าเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี โดยผูกเรื่องให้คล้ายกับนิทานเก่าๆ ที่นิยมแต่งเป็นกลอน มีตัวละครซึ่งไม่ใช่ใครเลย เป็นญาติ พี่ๆ น้องๆ ร่วมถึงตัวผมเองที่โลดแล่นอยู่ในเรื่อง อาศัยตัวละครแสดงบทบาทให้ให้วัฒนธรรมประเพณี ปรากฏตัวออกมาให้เห็นกันได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือเล่าเรื่องประเพณีการบวชและชีวิตชาววัดผ่านทางตัวละครนั่นเอง"
บรรพชาปวัตน์คำกลอน ผู้แต่งผูกเรื่องให้มีตัวละคร และตัวละครเหล่านี้มีชีวิตอยู่จริงในสังคมไทย ซึ่งเราอาจจะพบได้ในชนบท ส่วนในสังคมเมืองนั้นคงจะหาดูได้ยากแล้ว แม้ในสังคมชนบท ก็มีอาการว่าจะจืดจางเสื่อมคลายลงไปเรื่อยๆ เรื่อง บรรพชาปวัตน์คำกลอน ซึ่งแปลว่า "ความเป็นไปแห่งการบวช"นี้ จึงเท่ากับเป็นการบันทึกภาพชีวิตมุมหนึ่งของสังคมไทยเอาไว้ก่อนที่คนรุ่นหลังจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือได้เห็นชีวิตเช่นนี้อีกต่อไป
บรรพชาปวัตน์คำกลอน
หนังสือที่ถ่ายทอดประเพณี ภูมิปัญญา แนวคิดและวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต โดยเฉพาะประเพณีการบวชผ่านกลอนแปด 454 บท นำเสนอผ่านเรื่องราวตัวละคร "เพียร" ซึ่งพ่อแม่พาไปฝากท่านสมภารบุญ เจ้าอาวาสวัดกร่างเพื่อให้เรียนหนังสือตั้งแต่ 7 ขวบ นอกจากเรียนหนังสือแล้ว เพียรยังต้องช่วยงานต่างๆ ของวัดด้วย จวบจนอายุ 14 ปี เพียรจึงกลับไปช่วยงานพ่อแม่ที่บ้าน
เมื่อเพียรอายุครบ 20 ปี ได้ตัดสินใจบวชพระตามประเพณี แต่ก่อนที่จะเป็นพระได้นั้น เพียรก็ต้องผ่านขั้นตอนและพิธีกรรมหลายอย่าง ตั้งแต่มาอยู่วัดเพื่อเตรียมตัวบวช ฝึกการกราบ การคลาน การท่องขานนาคประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงมีการบวชนาค ทำขวัญนาค จนสิ้นสุดที่พิธีบวชพระ เมื่อบวชแล้ว "พระเพียร" ก็เริ่มต้นใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ ต้องฝึกตนบนหนทางที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก ขณะเดียวกันพระเพียรก็ได้ข้อคิดหลายอย่างจากการบวชเช่นกัน
สัมผัสภูมิปัญญาเบื้องหลังงานบวช ที่หลายคนไม่เคยรู้ ในหนังสือบรรพชาปวัตน์คำกลอน จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ในราคา 165 บาท วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือแว่นแก้วและร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ สั่งซื้อได้ที่ Nanmeebooks Call Center 02-662-3000 กด 1www.nanmeebooks.com และwww.facebook.com/nanmeebooksfan