กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "คนไทยคิดอย่างไรกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 7 กรกฎาคม 2560 จากประชาชน ทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2560 ที่ผ่านมา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการรับทราบเกี่ยวกับการบังคับใช้ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในประเด็นต่าง ๆ พบว่า
การห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบกับบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.44 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 22.56 ระบุว่า ไม่ทราบ
การห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.20 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 34.80 ระบุว่า ไม่ทราบ
การห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่ วัดหรือสถานที่ปฏิบัติ พิธีกรรมทางศาสนา สถานพยาบาลและร้านขายยา สถานศึกษาทุกระดับ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.36 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 29.64 ระบุว่า ไม่ทราบ
การห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.82 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 40.18 ระบุว่า ไม่ทราบ
การห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรม CSR อุปถัมภ์สนับสนุน บุคคลหรือองค์กร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.32 ระบุว่า ไม่ทราบ และร้อยละ 38.68 ระบุว่า ทราบ
การห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.45 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 31.55 ระบุว่า ไม่ทราบ
การห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.65 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 32.35 ระบุว่า ไม่ทราบ
การเพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.70 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 41.30 ระบุว่า ไม่ทราบ
เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.37 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 38.63 ระบุว่า ไม่ทราบ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบังคับใช้ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในประเด็นต่าง ๆ พบว่า
การห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบกับบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.68 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 9.28 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.04 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.56 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 14.72 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2.72 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่ วัดหรือสถานที่ปฏิบัติ พิธีกรรมทางศาสนา สถานพยาบาลและร้านขายยา สถานศึกษาทุกระดับ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.20 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 7.60 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.20 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.12 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 10.56 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2.32 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรม CSR อุปถัมภ์สนับสนุน บุคคลหรือองค์กร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.28 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.60 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.92 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 16.72 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.36 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.96 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 24.32 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2.72 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
การเพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.88 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 13.52 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.60 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.52 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 6.88 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.60 ระบุว่า เฉย ๆ /ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ว่าจะช่วยลดการเข้าถึงหรือปัญหา การสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนได้หรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ช่วยได้มาก เพราะการบังคับใช้รอบนี้ มีบทลงโทษที่รุนแรง และค่อนข้างจริงจัง คนน่าจะเกรงกลัวกฎหมายมากขึ้น อีกทั้งกฎหมายการห้ามแบ่งขาย น่าจะทำให้เด็กไม่มีกำลังซื้อ และห้ามขายให้กับผู้ที่อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ตลอดจนการห้ามส่งเสริมการขายและการโฆษณา เด็กก็จะไม่เกิดการเลียนแบบ น่าจะช่วยลดปัญหาการสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็ก และเยาวชนลงได้ ร้อยละ 50.56 ระบุว่า ช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะ บางข้อก็สามารถควบคุมได้ แต่บางข้อก็ไม่สามารถควบคุมได้ หรือควบคุมได้เฉพาะกลุ่ม อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายจะเข้มงวดในช่วงแรก ๆ แต่พอได้สักระยะก็จะเป็นเหมือนเดิม และยังมีช่องทางอื่นที่เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงหรือแอบหาซื้อบุหรี้ได้อยู่ดี วัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง ชอบเลียนแบบ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ตราบใดยังมีคนขาย ก็ยังมีคนซื้อ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ควรใช้การรณรงค์จิตสำนึกมากกว่า ร้อยละ 25.84 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย เพราะ กฎหมายไม่ได้ถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะตามพื้นที่ในต่างจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขกฎหมายมาแล้วหลายครั้ง ปัญหาผู้เสพหน้าใหม่ก็ไม่ได้ลดลงเลย ทั้งนี้ บุหรี่เป็นสิ่งที่หาซื้อได้ง่าย ถึงมีกฎหมายระบุห้ามก็ตาม เด็กและเยาวชนอาจจะฝากให้คนอื่นซื้อให้ หรือต้องขวานขวายหามาสูบให้จนได้ อีกทั้งร้านค้าบางร้านก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือ และร้อยละ 5.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.76 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 24.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 19.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 31.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.56 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.00 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.92 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 11.28 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 16.48 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.68 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.52 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 14.88 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.16 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.48 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.04 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.36 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 29.20 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 63.28 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.32 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.20 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.48 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.00 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.36 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.32 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.92 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.92 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.92 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.36 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.88 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.52 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.12 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.68 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวง หากำไร และร้อยละ 4.24 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.08 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.56 ไม่ระบุรายได้