กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--Golden Sanck
ทีมวิจัยจุฬาฯ ร่วมกับ อพท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายและส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมสินค้า เศรษฐกิจ และบริการด้านการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาและอนุรักษ์เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยจัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากประชาชน ส่วนงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการกำหนดกรอบการวางแผน
สำนักบริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกันจัดโครงการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูความเป็นธรรมชาติควบคู่กับการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวด้านนันทนาการให้มีความยั่งยืน
ทั้งนี้จากการประชุมระดมความคิดเห็นที่ผ่านมาได้มีการสรุปผลเพื่อกรอบการดำเนินงาน ในโครงการด้านต่าง ๆ โดยแบ่งระยะเวลาดำเนินการเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ระยะแรก 3 ปี (2561-2563) ระยะกลาง 3 ปี (2564-2566) และระยะสุดท้าย 3 ปี (2567-2569) โดยแผนงานทั้ง 3 ระยะนี้ ได้มีการจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ไว้ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ประกอบด้วยโครงการเชื่อมต่อแนวคลอง 4 แห่งเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โครงการเชื่อมต่อคลองตามแนวตะวันออก-ตะวันตกเพื่อการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว โครงการเรือท่องเที่ยวรอบคุ้งบางกระเจ้า โครงการท่องเที่ยวชมหิงห้อย โครงการส่งเสริมการสัญจรด้านการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว โครงการเส้นทางท่องเที่ยวชมพรรณไม้ และระบบนิเวศ โครงการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยแก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและชุมชน โครงการสร้างเครือข่ายในการให้บริการท่องเที่ยว โครงการปรับปรุงสาธารณูปโภค (ระบบระบายน้ำ หรือเขื่อน )
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายและส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ประกบด้วย โครงการพัฒนาศูนย์บริการที่มีอยู่และกระจายข่าวสารแก่ข้อมูลนักท่องเที่ยว โครงการส่งเสริมการจัดทำที่พัก โครงการปราชญ์ชุมชน และจัดทำหนังสือชุดความรู้คุ้งบางกระเจ้า โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อสานต่อมรดก โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ให้ได้มาตรฐาน โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ 3 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ประกอบด้วย โครงการจัดทำเว็ปไซต์ประชาสัมพันธ์ส่วนรวม โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ด้านการท่องเที่ยว โครงการจัดทำป้ายสื่อความหมายให้เป็นมาตรฐาน โครงการจัดทำศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โครงการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมสินค้า เศรษฐกิจ และบริการด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมตลาดเกษตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการปรับภูมิทัศน์เส้นทางการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาและอนุรักษ์เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย โครงการศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชาวมอญ Life museum และยุทธศาสตร์ที่ 6 การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วย โครงการจัดนิทรรศการแนวคิดในพระราชดำริส่วนพระองค์ ของสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โครงการศึกษาองค์ความรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ทั้งนี้จากยุทธศาสตร์ทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุ้งบางกระเจ้าในครั้งนี้ คาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวด้านนันทนาการที่มีความยั่งยืน และสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ได้ อาทิ ปัญหาแหล่งน้ำ ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง และปัญหาด้านการคมนาคม เพื่อให้พื้นที่คุ้งบางกระเจ้าเกิดความสวยงามและยังคงสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนในคุ้งบางกระเจ้าให้ยังคงอยู่ สมกับที่ได้ชื่อว่า "ปอดของคนกรุงเทพฯ" และเกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสืบไป