กรุงเทพฯ--31 ก.ค.--APPR Media
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกว่า 20 ราย คาดการณ์ถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ ว่าจะเปลี่ยนโฉมสังคมและการทำงานในปี 2030 ได้อย่างไร
• เทคโนโลยีเกิดใหม่จะสร้างสัมพันธภาพใหม่ระหว่างมนุษย์และเครื่องกล สร้างความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
• มนุษย์จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดิจิทัล และวิธีที่เราทำธุรกิจ ค้นหาความสามารถพิเศษรวมถึงเรียนรู้จะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง
ในปี 2030 องค์กรทุกแห่งจะกลายเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยี และด้วยเหตุนี้ องค์กรธุรกิจจึงต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้ว่าจะทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานและคนทำงานสามารถรองรับอนาคตได้อย่างไร สอดคล้องตามรายงานที่เผยแพร่โดยเดลล์ เทคโนโลยีส์ ในวันนี้ การวิจัยซึ่งนำโดยสถาบันเพื่ออนาคต (IFTF-Institute for the Future) พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ ด้านวิชาการและด้านเทคโนโลยี 20 รายจากทั่วโลก ได้พิจารณาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) เทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) และ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ว่าจะพลิกโฉมการใช้ชีวิตและการทำงานของเราภายในทศวรรษหน้าอย่างไรบ้าง รายงานในหัวข้อ "The Next Era of Human-Machine Partnerships" เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกลในยุคถัดไป ยังให้มุมมองเชิงลึกว่าผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างต่อเนื่องได้อย่างไรเช่นกัน
ตามรายงานได้คาดการณ์ว่า เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่ได้แรงสนับสนุนจากความก้าวหน้ามหาศาลเรื่องของซอฟต์แวร์ บิ๊กดาต้า และพลังในการประมวลผล จะเป็นตัวเปลี่ยนโฉมชีวิตผู้คน สังคมจะเข้าสู่ปฐมบทใหม่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องกล ซึ่งจะทำให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
• ให้ประสิทธิภาพและความเป็นไปได้มากขึ้นกว่าที่เคยมีมา ช่วยให้มนุษย์อยู่เหนือข้อจำกัดทั้งปวง
• มนุษย์ จะมีบทบาทคือเป็น "ผู้ควบคุมดิจิทัล" โดยมีเทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นส่วนขยายอีกภาค ช่วยให้ควบคุมและจัดการชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
• งานจะวิ่งเข้าหาผู้คน การนำเทคโนโลยีจับคู่ที่ล้ำหน้าและขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จะช่วยให้องค์กรเฟ้นหาและว่าจ้างผู้ที่มีความสามารถพิเศษจากทั่วโลกที่เหมาะกับงานได้
• ผู้คนจะเรียนรู้กับคำว่า "ในตอนนี้" เพราะย่างก้าวของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็วจนก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ขึ้น พร้อมกับที่ต้องอาศัยทักษะใหม่ๆ มาช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นอยู่รอดได้
เดลล์ เทคโนโลยีส์ สนับสนุนการจัดทำการศึกษาขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรมีเข็มทิศในการก้าวไปสู่โลกที่ไม่แน่นอนและเตรียมพร้อมรับอนาคต ปัจจุบันการปฏิรูปสู่ดิจิทัลทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ผู้นำโลกไม่สามารถทำนายได้ว่าอุตสาหกรรมจะดำเนินต่อไปตามเส้นทางอย่างไร สอดคล้องตาม ดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ ที่ว่า 61 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีประสบการณ์ครั้งสำคัญจากการปฏิรูปที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมของตนอันเป็นผลพวงมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล และกว่าครึ่งขององค์กรธุรกิจเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัทของตนจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังภายใน 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า
"เราได้รับรู้ภาพรวมที่สุดโต่งใน 2 มุมมองเกี่ยวกับเครื่องกลและอนาคต ปัญหาที่เกิดจากความกังวลเรื่องการว่างงานเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technological Unemployment) หรือมุมมองในแง่บวกเกินไปที่ว่าเทคโนโลยีจะรักษาอาการป่วยของสังคมและสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้" ราเชล แมคไกวร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันแห่งอนาคต กล่าว "ในทางกลับกัน เราต้องเน้นที่ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างเทคโนโลยีและผู้คนว่าจะเป็นยังไงมากกว่า และเราจะเตรียมรับมือเรื่องนี้ได้อย่างไร ซึ่งถ้าเราได้มีส่วนร่วมในการทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างขุมพลังแห่งความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกลได้สำเร็จ ผลกระทบต่อสังคมก็จะช่วยให้ทุกคนได้รับประโยชน์"
"องค์กรธุรกิจทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกไม่ควรเพิกเฉย และควรคิดซะตั้งแต่วันนี้ว่าจะร่วมมือและใช้เครื่องกลอย่างไรในอนาคต ความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกลจะกลายเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงนี้" เดวิด เว็บสเตอร์ ประธานฝ่ายเอ็นเตอร์ไพร์ซประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี กล่าว "เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้ จะช่วยสร้างความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งองค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซเองต้องมั่นใจว่ามีระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีสมัยใหม่ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเร่งสร้างอนาคตในโลกดิจิทัลได้"
รายงานยังได้เน้นให้เห็นถึงประเด็นต่อไปนี้
• ในปี 2030 การพึ่งพาเทคโนโลยีของมนุษย์ จะพัฒนาไปสู่ความร่วมมืออย่างจริงจัง อันจะนำมาซึ่งทักษะ เช่นความคิดสร้างสรรค์ ความปรารถนา และกรอบความคิดของการเป็นผู้ประกอบการ ที่จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับความสามารถของเครื่องกลที่มาพร้อมความเร็ว ระบบออโตเมชัน และประสิทธิภาพ และจะให้ผลลัพธ์ในแง่ของผลผลิตที่จะช่วยสร้างบทบาทและโอกาสใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรม
• เมื่อถึงปี 2030 ผู้ช่วยที่เป็น AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ซึ่งทำหน้าที่ได้แบบบูรณาการและให้ความช่วยเหลือได้ตรงความต้องการเฉพาะ จะช่วยงานได้มากกว่าที่ผู้ช่วยจริงๆ ทำได้ในปัจจุบัน โดยผู้ช่วยที่เป็นปัญญาประดิษฐ์นี้จะอาศัยการคาดการณ์และการดำเนินการในแบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยดูแลเรา
• เทคโนโลยีไม่จำเป็นว่าจะเข้ามาแทนที่คนทำงาน แต่กระบวนการในการหางานจะเปลี่ยนไป การทำงานจะไม่ใช่เรื่องของสถานที่แต่จะเป็นเรื่องของงานที่ต้องทำต่อๆ ไป เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยตัวเองของเครื่องกลจะทำให้สามารถค้นหาทักษะของแต่ละคนรวมถึงความสามารถในการแข่งขันได้ และองค์กรก็จะตามหาผู้ที่มีความสามารถพิเศษที่โดดเด่นที่สุดสำหรับงานแต่ละงาน
• จาก 85 เปอร์เซ็นเตอร์ของงานที่ประเมินในปี 2030 ยังไม่เกิดขึ้น ก้าวย่างแห่งความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นรวดเร็วจนผู้คนเรียนรู้คำว่า "ในตอนนี้" ในการใช้เทคโนโลยีใหม่เช่น AR และ VR ทั้งนี้ ความสามารถในการได้มาซึ่งความรู้ใหม่จะมีค่ามากว่าตัวความรู้เอง
"ผู้คนทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับเครื่องกลมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ โดยในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เราเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาใช้อย่างรวดเร็ว เช่น VR คลาวด์ และ AI ทำให้เกิดการปฏิวัติด้านความร่วมมือและเกิดพลังระหว่างมนุษย์และเครื่องกล" อมิท มิธา ประธาน ฝ่ายคอมเมอร์เชียลประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี กล่าว "ความร่วมมือนี้จะเป็นสิ่งที่ต้องอยู่ร่วมกันไป เครื่องกลให้ความเร็ว ให้การทำงานในแบบอัตโนมัติ และมนุษย์เป็นผู้ตัดสิน ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการแก้ปัญหา