กรุงเทพฯ--31 ก.ค.--ทริปเปิล เอท ไอเดียส์
บางท่านอาจจะเคยได้ยินว่า "ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ในเอเชีย ที่เสี่ยงภัยจาก "Malware" วันนี้โปรแกรม Thai WPS Office จะมาให้ข้อมูลว่า Malware คืออะไร
มัลแวร์ ย่อมาจากคำว่า Malicious Software ซึ่งหมายถึงโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นการโจมตีระบบ การทำให้ระบบเสียหาย เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมย/ทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งหากโดนมัลแวร์โจมตีแล้ว จะเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
โดยขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับภัยทางอินเทอร์เน็ตล่าสุด ที่โด่งดังไปทั่วโลก นั่นคือ Malware Wanna Cry หรือ Malware เรียกค่าไถ่....โดยทั้งบุคคลทั่วไป จนถึงองค์กรภาคเอกชน และภาครัฐ ต่างโดนเรียกค่าไถ่กันโดยทั่วหน้า...
ท่านสามารถดูรายละเอียดของข่าวดังกล่าวได้ โดยไปที่ลิงค์ต่อไปนี้
http://www.bangkokpost.com/business/news/1274739/Thailand-in-top-10-for-malware-in-Asia
การใช้ Software เถื่อน : สาเหตุของความเสี่ยง
"สาเหตุหลักของความเสี่ยง ที่จะนำมาสู่ความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ ก็คือ "การใช้ Software เถื่อน และ การใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ปลอดภัย" และประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากการคุกคามของ "Malware" แต่ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่ำกว่า บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และเวียดนาม สำหรับประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำมากจากการถูกคุกคามจาก "Malware" คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และ สิงค์โปร์
จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงค์โปร์ เรื่อง "ความเสี่ยงที่มีต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ จากการใช้ Software เถื่อน" พบสิ่งที่น่าสนใจมาก ได้แก่
· อาชญากรทางคอมพิวเตอร์มักจะฝัง "Malware" เข้าไปใน แผ่นซีดี หรือ ดีวีดี ที่บันทึก Software เถื่อน หรือ ช่องทาง Online เช่น โปรแกรมโหลด Bit Torrent เป็นต้น
· นอกจากนั้นยังพบว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ 92% เครื่องที่ติดตั้ง Software เถื่อน มักจะติดไวรัส "Malware"
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
หน่วยงาน หรือ องค์กร ส่วนใหญ่ที่ใช้ Software เถื่อน มักจะมองว่า หากใช้ฟรีได้ ก็ควรใช้ฟรี ไม่จำเป็นจะต้องเสียเงิน เสียงบประมาณ ไปซื้อ Software ลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน หรือ องค์กร เหล่านั้น มักมองข้ามความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดย Cyber Crime ผ่าน Software เถื่อนเหล่านั้น ซึ่งหากถูกโจมตี มูลค่าความเสียหายจะมากมายหลายสิบเท่า หรือ อาจจะประมาณค่ามิได้ หากความเสียหายนั้นมิได้เกิดเพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง แต่ลุกลามขยายตัวไปทั้งระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน หรือ องค์กร
ดังนั้นการมองว่า "ใช้ฟรีได้ ก็ใช้ฟรี" และมองข้าม "ความเสี่ยงที่จะถูกคุกคาม/โจมตีจาก Cyber Crime" รูปแบบต่างผ่าน "Software เถื่อน" เหล่านั้น จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"
เสียน้อยเสียง่าย เสียมากเสียยาก
ในทางกลับกัน หากเปลี่ยนมุมมองใหม่ จาก "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" มาเป็น "เสียน้อยเสียง่าย เสียมากเสียยาก" กล่าวคือ ให้มองว่า การลงทุนใช้ "Software ลิขสิทธิ์" เป็นการลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยง หรือ ลดความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความเสียหายมหาศาลที่เกิดขึ้นจากการใช้"Software เถื่อน"
Wanna Cry การเปิดศักราช การโจมตีของ Cyber Crim
จริง ๆ แล้ว การโจมตีของเหล่าอาชญากร Cyber Crime มีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่เปรี้ยงปร้างดังข้ามโลก เหตุการณ์เปรี้ยงปร้างดังข้ามโลกของ "การแพร่ระบาดของ Malware Wanna Cry" ทำให้ผู้คนในวงกว้างทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร หรือแม้กระทั่งระดับประเทศ ต่างเกิดความตื่นตัวเพื่อรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ ที่มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง หรือในองค์กรของตนเอง
องค์กรที่ชาญฉลาดที่เตรียมตัวให้พร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ความเสี่ยงเหล่านี้ ก็มีโอกาสที่จะลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ของตนเอง ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรที่ยังทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน..ยังไม่มีการปรับตัวรับมือกับภัยจาก Cyber Crime ดังกล่าว ก็อาจจะต้องเตรียมตัวรับมือกับความเสียหายในอนาคต
ข้อมูลจากโปรแกรม Thai WPS Office