กรุงเทพฯ--2 ส.ค.--โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น
หลังจากรัฐบาลไทยได้กำหนดเป้าหมายที่จะยุติเอดส์ภายใน 14 ข้างหน้า หรือภายในปี 2573 โดยวางแผนที่จะลดปริมาณผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตจากเอชไอวี รวมทั้งต้องมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต้องมีจำนวนน้อยกว่า 1,000 รายต่อปี ลดอัตราการเสียชีวิตให้น้อยกว่า 4,000 รายต่อไป ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติให้อยู่ในระดับ 95% ของประเทศ รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนต้องเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ ซึ่งขณะนี้มีผู้ติดเชื้อที่กินยาและอยู่ในระบบจำนวน 280,000 ราย จากจำนวนทั้งสิ้น 460,000 ราย(ไม่แน่ตัวเลข) พร้อมสร้างอุดมคติใหม่ให้สังคมไม่ให้เกิดการรังเกียจ กีดกัน และเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีดังเช่นที่ผ่านมา จึงเกิดการรวมตัวกันระหว่างภาคประชาสังคมกว่า 30 องค์กร ภาคธุรกิจ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและยุติการแพร่ระบาดการติดเชื้อเอชไอวี ผ่านโครงการ 'อีกนิดพิชิตเอดส์ : AIDS-Almost Zero'
'เย็นจิต สมเพาะ' ผู้จัดการโครงการ ระบุว่า การรวมตัวของภาคประชาสังคมกว่า 30 องค์กร เพื่อระดมทุนในการใช้จ่ายในโครงการฯ เนื่องจากทุนหลักในการจ่ายใช้สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีมาจากกองทุนโลก แต่เมื่อไม่นานมานี้มีแผนยกเลิกการสนับสนุนโครงการในประเทศไทย เนื่องด้วยไทยถูกยกระดับให้เป็นประเทศที่มีรายปานกลางถึงสูง ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กองทุนโลกจะสนับสนุนได้ ทั้งนี้เงินที่ได้จากการระดมทุนทางโครงการฯจะใช้จ่ายสำหรับศูนย์สุขภาพในชุมชน การทำงานเชิงรุกในชุมชน ค่าใช้จ่ายในการหาอุปกรณ์ป้องกัน เป็นต้น โดยโครงการฯได้กำหนดการดำเนินงานเพื่อลงพื้นที่การดำเนินงานไว้ทั่วประเทศ ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะเน้นไปยังพื้นที่ที่มีสถานการณ์เอชไอวีสูงก่อน ทั้งนี้พื้นที่แรกที่โครงการได้เริ่มดำเนินการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ เพื่อนพนักงานบริการ (SWING) หรือสวิง
ทั้งนี้มูลนิธิสวิงเน้นให้บริการแก่พนักงานบริการที่มีความหลากหลายทางเพศในย่านพัฒน์พงษ์ 'สุรางค์ จันทร์แย้ม' ผู้อำนวยการฯ เปิดเผยข้อมูลว่า มูลนิธิสวิงก่อตั้งมานานกว่า 13 ปี เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเพื่อนพนักงานบริการที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งผสานความร่วมมือกับเจ้าของสถานบริการเพื่อลงพื้นที่ให้เข้ารู้เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีและวิธีป้องกัน นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคลินิกสำหรับให้บริการตรวจหาเชื้อเอชไอวี แก่พนักงานบริการที่ความหลากหลายทางเพศ หากทราบผลจะดำเนินงานประสานกับทางโรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายกับทางมูลนิธิฯ เพื่อเข้าทำการรักษาและกินยาให้ถูกต้อง และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทั้งนี้หากได้รับการตรวจหาเชื้อและทราบผลเร็ว ก็จะสามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และที่สำคัญยังสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างไม่มีความแปลกแยกแกด้วย
ดังนั้นการร่วมมือการทุกคนในสังคม จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยประเทศไทยก้าวข้ามปัญหาโรคเอดส์และเชื้อเอชไอวีได้อย่างแน่นอน หากทุกคนในสังคมไม่นิ่งเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น