กรุงเทพฯ--2 ส.ค.--คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัวโครงการ วิถีใหม่ "ผู้สูงอายุ" ยุค Thainand 4.0 ในการเรียนรู้การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล เล็งเห็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายเพิ่มอิสระในการใช้ชีวิตให้กับผู้สูงอายุ และเพื่อสร้างการดูแลที่แตกต่าง พร้อมช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพด้วยการนำการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกล โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัค และสื่อ Information and Communication Technology เข้ามามีบทบาท ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงทำการเปิดตัวโครงการ วิถีใหม่ "ผู้สูงอายุ" ยุค Thainand 4.0 ในการเรียนรู้การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
ด้วยปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรัฐได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในด้านการป้องกันและการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น ส่งเสริมและสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสื่อความรู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำของกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเกิดการนำความรู้ใหม่มาพัฒนาองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ การพัฒนาสื่อความรู้ทางด้านสุขภาพ โดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุสามารถนำความรู้มาดูแลสุขภาพของตนเองได้
ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมในการให้บริการทางด้านสุขภาพ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเรียนรู้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล เพื่อดูแลตนเองและเฝ้าระวังสุขภาพนำมาซึ่งการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งการทำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้นั้น เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ อาทิ
- Digital Learning เรียนรู้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
- EADL หรือ Electronic aids to daily living อุปกรณ์ช่วยอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการดำรงชีวิต
- ECUs หรือ Environmental control units เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม
- SAFETY เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
- COGNITION รับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาความคิดความจำ
- ADAPTATION เรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อการปรับตัว
"โครงการเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ" นี้ตระหนักถึงการรับมือกับประชากรผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ
- Digital for Life คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้น
- Development คือการพัฒนาแบบองค์รวม
- Adaptation คือการเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อการปรับตัว
- Self Learning คือทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งการนำทั้ง Digital for Life + Development + Adaptation + Self Learning มาผนวกรวมกันเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปพัฒนาองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อลดภาวะพึ่งพิงผู้อื่น และเรียนรู้ข้อมูล เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาความคิดความจำ และนำเทคโนโลยีช่วยให้สามารถศึกษาค้นคว้า และถ่ายทอดความรู้เป็นไปได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ท้ายที่สุดเพื่อเรียนรู้ วิธีการป้องกันอันตราย และการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น