การส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตามแนวทางประชารัฐ

ข่าวทั่วไป Monday August 7, 2017 13:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--นิด้าโพล สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1–12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง "การส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตามแนวทางประชารัฐ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2560 จากประชาชนผู้ที่มีงานทำอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษาทั่วประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) รวมขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 4,800 หน่วยตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีลงพื้นที่ภาคสนาม กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0 และมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error : S.E.) ไม่เกิน 0.7 จากผลการสำรวจ ความคิดเห็นต่อประเด็นที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการนโยบายประชารัฐด้านผู้สูงอายุ พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 22.52 การเตรียมความพร้อมประชากรเข้าสู่สังคมวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ อันดับสอง ร้อยละ 19.71 พัฒนาระบบมาตรฐานการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง อันดับสาม ร้อยละ 19.39 ส่งเสริมและขยายโอกาสการทำงานผู้สูงอายุ อันดับสี่ ร้อยละ 16.22 การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม สะดวกปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุโดยบูรณาการร่วมกับการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับคนพิการ และอันดับห้า ร้อยละ 13.17 จัดทำมาตรฐานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Health & Welfare) เพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุ เมื่อถามถึงช่องทางที่รัฐบาลควรใช้ในการประชาสัมพันธ์ นโยบายประชารัฐด้านผู้สูงอายุ พบว่า ร้อยละ 84.07 ระบุว่ารัฐบาลควรใช้ช่องทางโทรทัศน์ ในการประชาสัมพันธ์นโยบายประชารัฐด้านผู้สูงอายุ รองลงมา ร้อยละ 67.05 ระบุว่า ผู้นำชุมชน ร้อยละ 39.48 ระบุว่า วิทยุ ร้อยละ 32.28 ระบุว่า สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 18.83 ระบุว่า คนในครอบครัว ร้อยละ 17.60 ระบุว่า เว็บไซต์ ร้อยละ 16.70 ระบุว่า เพื่อนบ้าน และร้อยละ 0.58 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หอกระจายข่าว เสียงตามสาย ประชาสัมพันธ์ แผ่นพับหนังสือพิมพ์ สำหรับการเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.64 ระบุว่าเตรียมตัวในด้านสุขภาพ รองลงมา ร้อยละ 60.63 ระบุว่า การส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 42.73 ระบุว่า การออม ร้อยละ 39.83 ระบุว่า ที่อยู่อาศัย และร้อยละ 35.40 ระบุว่าด้านสังคม (เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ, นันทนาการ) ด้านความประสงค์ของประชาชนในการทำงานเมื่ออยู่ในวัยผู้สูงอายุ กรณีมีผู้จ้างงานเปิดโอกาสให้เข้าทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.77 ระบุว่า มีความประสงค์ที่จะทำงานเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ หากมีผู้ว่าจ้างเปิดโอกาสให้เข้าทำงาน และ ร้อยละ 18.23 ระบุว่า ไม่มีความประสงค์ที่ทำงาน โดยในจำนวนของผู้ที่ประสงค์จะทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.09 ระบุเหตุผลว่ามีความจำเป็นในการดำรงชีวิต รองลงมา ร้อยละ 51.84 ระบุว่า สร้างคุณค่าให้กับตนเอง ร้อยละ 42.44 ระบุว่า มีภาระทางการเงิน ร้อยละ 32.27 ระบุว่า สร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น และร้อยละ 25.91 ระบุว่า ช่วยเหลือสังคม สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์จะทำงานได้ระบุเหตุผล ส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.48 ระบุว่า มีปัญหาด้านสุขภาพ รองลงมา ร้อยละ 46.45 ระบุว่า ต้องการพักผ่อน/ท่องเที่ยว ร้อยละ 40.05 ระบุว่า ดูแลลูกหลาน ร้อยละ 12.81 ระบุว่า เปลี่ยนไปทำธุรกิจส่วนตัว และร้อยละ 6.98 ระบุว่า ไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ด้านรูปแบบการทำงานของผู้สูงอายุในกรณีอยากมีรายได้เพิ่ม พบว่า ด้านเวลา ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.60 ระบุว่า ต้องการทำงานบางเวลา (Part time) และร้อยละ 12.40 ระบุว่า ต้องการทำงานเต็มเวลา (Full time) ส่วนด้านสถานที่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.67 ระบุว่า อยากทำงานที่บ้าน รองลงมา ร้อยละ 32.83 ระบุว่า ทำงานกับกลุ่ม, องค์กร, ชุมชน ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ทำงานในภาครัฐ/เอกชน และร้อยละ 1.77 ระบุว่า องค์กรพัฒนาเอกชน สำหรับด้านลักษณะงาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.13 ระบุว่าลักษณะงานแบบกลุ่มอาชีพคหกรรม/หัตถกรรม/ศิลปกรรม รองลงมา ร้อยละ 30.13 ระบุว่า อาชีพอิสระ เช่น รับจ้างทั่วไป,ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.38 ระบุว่า เกษตรกรรม ร้อยละ 6.79 ระบุว่า การผลิต ร้อยละ 6.63 ระบุว่า อาสาสมัคร ร้อยละ 5.08 ระบุว่า งานเอกสาร ร้อยละ 4.69 ระบุว่า ที่ปรึกษา และร้อยละ 4.19 ระบุว่า การบริการ เมื่อถามถึงลักษณะการจัดหางานให้ผู้สูงอายุ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.33 ระบุว่า รัฐควรให้ทุนแก่ผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพ รองลงมา ร้อยละ 30.27 ระบุว่า รัฐควรจัดสรรตำแหน่งงานให้ผู้สูงอายุ ร้อยละ 9.96 ระบุว่า รัฐควรติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจให้ ร้อยละ 3.27 ระบุว่า หน่วยงานภาคเอกชนจัดหางานให้ ร้อยละ 3.06 ระบุว่า ผู้สูงอายุจัดหาแหล่งงานและทุนด้วยตนเอง และร้อยละ 0.10 ระบุอื่น ๆ เช่น ส่งเสริมการรวมกลุ่ม สำหรับหน่วยงานที่ต้องการให้มีบทบาทต่อการส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.07 ระบุว่า มีความต้องการให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีบทบาทในการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ รองลงมา ร้อยละ 58.28 ระบุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร้อยละ 55.53 ระบุว่า กระทรวงแรงงาน ร้อยละ 17.61 ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 17.36 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 10.13 ระบุว่า กระทรวงการคลัง ร้อยละ 6.77 ระบุว่า องค์กรพัฒนาเอกชน ร้อยละ 6.29 ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 6.18 ระบุว่า หน่วยงานภาคเอกชน และร้อยละ 0.08 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มูลนิธิ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตามแนวทางประชารัฐ พบว่าประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.56 เสนอว่า ควรจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ รองลงมา ร้อยละ 17.78 ระบุว่า ให้มีการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตามความเหมาะสม ร้อยละ 13.33 ระบุว่า เพิ่มสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ ร้อยละ 9.78 ระบุว่า จัดกลุ่มตามความต้องการของผู้สูงอายุแล้วส่งเสริมเป็นรายกลุ่มไปตามที่กลุ่มถนัด ร้อยละ 8.89 ระบุว่า จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 4.89 ระบุว่า รัฐบาลควรเตรียมการให้พร้อมก่อน ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ร้อยละ 1.33 ระบุว่า มีการสนับสนุนทางสังคม/หน่วยงานที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีรายได้ ร้อยละ 1.33 ระบุว่า สนับสนุนผู้สูงอายุที่มีความสามารถถ่ายทอดความรู้แก่เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น และร้อยละ 0.44 ระบุว่า ให้องค์กรท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนร่วม เมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.17 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 49.83 เป็นเพศชาย ร้อยละ 25.20 อายุ 25-34 ปี ร้อยละ 24.96 อายุ 35-44 ปี ร้อยละ 25.06 อายุ 45-54 ปี และร้อยละ 24.77 อายุ 55-65 ปี ร้อยละ 70.27 สถานภาพสมรส ร้อยละ 19.85 โสด และร้อยละ 9.88 หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ร้อยละ 30.92 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 28.67 มัธยมศึกษา/เทียบเท่า ร้อยละ 12.96 อนุปริญญา/เทียบเท่า ร้อยละ 24.21 ปริญญาตรี/เทียบเท่า และร้อยละ 3.24 สูงกว่าปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 29.44 อาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 22.96 ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.13 ข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.02 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ และร้อยละ 10.45 พนักงานเอกชน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ