กรุงเทพฯ--6 ต.ค.--สคบ.
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)ได้ร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องกำหนดให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนในการทำสัญญาซื้อขายรถ ซึ่งหากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วต่อไปนี้ผู้ขายรถทุกคนต้องใช้สัญญามาตรฐาน AutoThailand.com ได้นำหลักการมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้สำหรับ ผลทางกฎหมาย บังคับใช้จะมีผลในเร็วๆ นี้
สาระสำคัญของ สัญญามาตราฐานสำหรับการซื้อขายรถ
1.สภาพของทรัพย์สินที่เช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เช่าซื้อต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับยี่ห้อ รุ่นหมายเลขเครื่องและสภาพของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันมิให้นำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เคยใช้งานแล้วมาขายในสภาพของใหม่
2.ผู้ขายรถต้องมีการตรวจสภาพรถให้ถี่ถ้วนก่อนนำส่งรถให้ผู้ซื้อเพราะหากเกิดความบกพร่อง หรือความเสียหายจากรถจะไม่ใช่ความผิดหรือความจงใจเลินเล่อของผู้ซื้อ นอกจากนี้ ในกรณีที่รถหายถูกทำลาย ถูกอายัด ถูกริบ ถูกอัคคีภัย วินาศภัยผู้ซื้อรถไม่ต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญาเว้นแต่เหตุดังกล่าวเกิดความจงใจ ประมาทเลินเล่อ
3.การโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ซื้อรถชำระเงินครบตามกำหนดผู้ประกอบธุรกิจต้องโอนกรรมสิทธิ์หรือจดทะเบียนให้กับเจ้าของรถภายใน 15วัน ถ้าไม่ทำตามกำหนดจะต้องถูกปรับ 1% ของมูลค่าเช่าซื้อต่อวัน
4.การบอกเลิกสัญญาและการยึดทรัพย์จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อสามารถขาดการผ่อนชำระได้ 3 งวดติดต่อกันเป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกอายัดทรัพย์ตามคำพิพากษาของศาลหรือผู้ซื้อนำรถไปกระทำความผิดตามกฎหมายและผู้ขายจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน 5.การจำหน่ายทรัพย์สินที่เช่าซื้อกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะจำหน่ายหรือประมูลรถที่ได้ยึดคืนจากผู้ซื้อผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้าให้ผู้ซื้อมีสิทธิได้ซื้อรถคันดังกล่าวก่อนหรือมีสิทธิเข้าสู้ราคา
6.หน้าที่และความรับผิดของผู้ซื้อรถโดยผู้ซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญา
7.การคิดเบี้ยปรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อขาดการผ่อนชำระผู้ประกอบธุรกิจจะคิดค่าปรับได้ไม่เกิน 12% ต่อปีของจำนวนเงินที่ผิดนัดชำระ
8.การเปลี่ยนผู้ค้ำประกันในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกให้ผู้ซื้อเปลี่ยนแปลงผู้ค้ำประกันหรือเพิ่มผู้ค้ำประกันต้องแสดงเหตุผลอันสมควร เว้นแต่ผู้ค้ำประกันเป็นบุคคลล้มละลาย
9.การเสียภาษีผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน
10.การคิดค่าติดตามที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อหากผู้ซื้อได้ใช้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามปกติก็ไม่ควรรับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือค่าเสื่อมราคานอกจากนี้การคิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการติดตาม การทวงถาม การยึดรถและค่าทนายความ ผู้ประกอบธุรกิจต้องคิดตามความเป็นจริง
11.การส่งคำบอกกล่าว การส่งหนังสือติดต่อไปยังผู้ซื้อผู้ประกอบธุรกิจจะต้องส่งทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ระบุในสัญญาหรือมีการเปลี่ยนแปลงในครั้งสุดท้าย เพราะหากไม่มีการลงทะเบียนหรือหากให้คนนำไปส่งโดยไม่คำนึงว่าจะมีคนรับหรือไม่จะไม่เป็นธรรมต่อผู้ซื้อ
12.การนำเงินค่างวดหักชำระหนี้ก่อนผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำเงินค่างวดของผู้ซื้อมาหักชำระหนี้ก่อนหากประกอบธุรกิจได้ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ แทนผู้ซื้อไปแล้ว
13.ความรับผิดตามสัญญาและต่อบุคคลภายนอก คือผู้ขายจะต้องรับผิดชอบตามสัญญาหรือต่อบุคคลภายนอกในกรณีที่รถเกิดการสูญหายหรือเกิดการบาดเจ็บหากเกิดจากความบกพร่องของรถโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ซื้อ
14.กรณีบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือทรัพย์สินเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในรถเป็นของผู้ประกอบธุรกิจ จึงต้องรับผิดในเรื่องการรอนสิทธิและเป็นภาระของผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดชอบ หากผู้ซื้อได้รับความเสียหายจึงไม่ควรให้สัญญาเช่าซื้อ มีข้อความให้ผู้ประกอบธุรกิจยินยอมสละสิทธิ์ขอเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจกรณีดังกล่าว
15.การประกันภัยไม่ควรกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะหากรถเกิดหาย ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกร้องจากผู้ซื้ออยู่แล้วเว้นแต่จะเกิดจากการฉ้อฉลของผู้ซื้อ
16.การบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นหากการทำสัญญายอมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากที่กำหนดไว้ย่อมไม่เป็นธรรมต่อผู้ซื้อ
17.ในสัญญาการซื้อขาย ผู้ประกอบธุรกิจห้ามโอนหรือจำนำใดๆเพราะจะทำให้เกิดปัญหาในการโอนเมื่อผู้ซื้อได้ผ่อนชำระหมดเรียบร้อยแล้ว--จบ--
-สส-