กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--ปตท.
ราคาน้ำมันเฉลี่ยรายสัปดาห์ผันผวน น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 52.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 0.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 49.11 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดีราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 0.27 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 50.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในส่วนของราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 1.01 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 67.35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 1.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 63.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 11 ส.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 3 แท่น อยู่ที่ 768 แท่น สูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 58
· บริษัทน้ำมันแห่งชาติลิเบีย National Oil Corp. (NOC) รายงานแหล่ง Sharara (กำลังการผลิต 270,000บาร์เรลต่อวัน) กลับมาผลิตน้ำมันดิบตามปกติ เนื่องจากกลุ่มผู้ประท้วงติดอาวุธถอนกำลัง หลังเข้ายึดศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการในเมือง Zawiya ตั้งแต่ 6 ส.ค. 60
· รายงานฉบับเดือน ส.ค. 60 ของ OPEC ระบุปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของ OPEC เดือน ก.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 173,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับสูงสุดในปีนี้ที่ 32.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ Compliance Rateเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ 87% ลดลงจากเดือนก่อน 10%
· Energy Information Administration (EIA) ปรับเพิ่มคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปี พ.ศ.2560 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 500,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมคาดกว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 460,000 บาร์เรลต่อวัน
· Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ของสหรัฐฯ รายงานสถานะการลงทุนของสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุด 8 ส.ค. 60 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะการซื้อสุทธิ (Net Long Positions) ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2,633 สัญญา มาอยู่ที่304,197 สัญญา
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· Petroleum Planning and Analysis Cell (PPAC) ของอินเดียรายงานความต้องการใช้น้ำมันของอินเดียเดือน ก.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.1% อยู่ที่ระดับ 3.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากอุปสงค์น้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11.5% มาอยู่ที่ระดับ 586,000 บาร์เรลต่อวัน
· Reuters รายงานซาอุดิอาระเบียอาจปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ส.ค. 60 ลง 520,000 บาร์เรลต่อวันมากกว่าข้อตกลงของ OPEC และ Non-OPEC ที่ซาอุดิอาระเบียต้องปรับลดการผลิตลง 486,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกไปยังเอเชียลดลงจากเดือนก่อน 10%
· EIA รายงานปริมาณน้ำมันสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ส.ค. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 6.5 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 475.4 ล้านบาร์เรล ลดลงต่อเนื่อง 6 สัปดาห์
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเนื่องจากนักลงทุนกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบจากจีนปรับลดลง เห็นได้จากปริมาณการใช้น้ำมันดิบเพื่อกลั่นในเดือน ก.ค. 60 ลดลงอยู่ที่ 10.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 59 เนื่องจากโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุงและตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ EIA คาดว่าผู้ผลิต Shale Oil ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มผลิตน้ำมันดิบในเดือน ก.ย. 60 เพิ่มขึ้น 117,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 6.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน Wood Mackenzie และ Rystad Energy คาดการณ์การผลิตน้ำมันในปลายปี พ.ศ. 2560 ของแหล่งผลิตน้ำมันPermian ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรลต่อวัน (เดือน ก.ค.60 ผลิตเฉลี่ยที่ระดับ 2.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันในระยะต่อไป อย่างไรก็ดีการส่งออกน้ำมันดิบBonny Light จากแหล่ง Niger Delta ประเทศไนจีเรียอาจขาดเสถียรภาพ เนื่องจากเผชิญภัยคุกคามจากผู้ประท้วงบุกยึดสถานีควบคุมแรงดันน้ำมัน Belema Flow Station ของบริษัท Shell เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเพิ่มการจ้างงานและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยังเสนอให้บริษัทแก้ปัญหามลพิษจากน้ำมัน โดยผู้ประท้วงประกาศจะปักหลักอยู่ที่สถานีควบคุมแรงดันน้ำมันประมาณ 2 สัปดาห์ ให้ติดตามรายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 60 โดยนักวิเคราะห์จาก Reuters คาดว่าจะอยู่ที่ 0.7% ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์น้ำมัน ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 49.7-53.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบNYMEX WTI อยู่ในกรอบ 46.7-50.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 48.5-52.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมัน Yeosu (กำลังการกลั่น 790,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท GS Caltex Corp. ในเกาหลีใต้ที่หน่วย Vacuum Residue Hydrocracker (VRHCRกำลังการกลั่น 66,000 บาร์เรลต่อวัน) เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 60 ทั้งนี้โรงกลั่น Yeosu มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ ประกอบกับโรงกลั่นในอินโดนีเซียจะปิดซ่อมบำรุง อาทิ โรงกลั่น Cilacap (กำลังการกลั่น 348,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท Pertamina จะปิดตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 60 – 1 ต.ค. 60, จะปิดโรงกลั่น Dumai (กำลังการกลั่น 170,000 บาร์เรลต่อวัน) และ โรงกลั่น Sei Pakning (กำลังการกลั่น 50,000 บาร์เรลต่อวัน) ระหว่างวันที่ 1 ก.ย. 60 – 1 ต.ค. 60 อีกทั้ง Platts คาดในช่วงครึ่งหลังของปี ปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนอาจไม่เพิ่มขึ้นสูงมากเหมือนในช่วงครึ่งแรกของปี (ในช่วงครึ่งแรกของปีจีนส่งออก น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.1% มาอยู่ที่ 40.81 ล้านบาร์เรล) เนื่องจากโรงกลั่นใช้โควตาส่งออกไปเกินกว่าครึ่งแล้ว และคาดว่ารัฐบาลจะประกาศโควตาส่งออกรอบที่ 4 ในช่วงปลายเดือน ก.ย. 60 ปริมาณไม่มากนัก ด้านปริมาณสำรอง Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 350,000 บาร์เรล อยู่ที่ 10.62 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามInternational Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 9 ส.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 15.2 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบกว่า 1 ปี และ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 4 ส.ค.60 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 3.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่231.1 ล้านบาร์เรล ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซิน จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 64.5-68.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงจาก Platts รายงานการซื้อขายน้ำมันดีเซลในเอเชียซบเซา เนื่องจากค่าจ้างเรือที่สูงขึ้นส่งผลให้ Arbitrage ส่งออกน้ำมันดีเซลจากทั้งเอเชียและตะวันออกกลางไปยุโรปปิด ขณะที่ โฆษกบริษัทRoyal Dutch Shell แถลงโรงกลั่นน้ำมัน Pernis (กำลังการกลั่น 404,000 บาร์เรลต่อวัน) ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโรงกลั่นใหญ่ที่สุดในยุโรป เริ่มกลับมาเดินเครื่องหน่วยกลั่นบางส่วน หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อ 29 ก.ค. 60 และมีแผนกลับมาดำเนินการ ภายในเดือน ส.ค. 60 นี้ และ กระทรวงพาณิชย์บราซิลรายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดีเซล เดือน ก.ค. 60 ลดลงจากเดือนก่อน 8% มาอยู่ที่ระดับ 237,000 บาร์เรลต่อวัน อีกทั้งโรงกลั่นในญี่ปุ่นทยอยกลับมาส่งมอบผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปตามปกติหลังหยุดดำเนินการในวันที่ 7-8 ส.ค. 60 เพราะพายุไต้ฝุ่น Noru พัดผ่าน อย่างไรก็ตาม Bloombergรายงานรัฐบาลมลรัฐ South Australia มีแผนติดตั้งเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าชนิด Hybrid กำลังการผลิต 276 เมกะวัตต์ ที่เมือง Lonsdale ทางตอนใต้ของประเทศ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ารองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นช่วงฤดูร้อน (เดือน ธ.ค. 60 - ก.พ. 61) ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนใช้น้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้าเป็นเวลา 2 ปี และจะเริ่มใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแทนตั้งแต่เดือน ก.พ. 62 เป็นต้นไป ด้านปริมาณสำรองน้ำมันดีเซล IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 9 ส.ค. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.2 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 11.8 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ และEIA รายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 4 ส.ค. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.7 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 147.7 ล้านบาร์เรล และ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซล เชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.22 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 8.97 ล้าน