กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
การสำรวจซึ่งจัดทำโดย อ็อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป หรือ โอบีจี (Oxford Business Group หรือOBG) บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาระดับโลก พบว่าผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยให้การสนับสนุนหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy หรือ SEP) และบทบาทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ขับเคลื่อนการร่วมลงทุนของพวกเขาให้ไปยังการเติบโตอย่างยั่งยืน
ด้วยเครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของอ็อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป สำรวจในเรื่องหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทย โอบีจีได้สอบถามผู้บริหารระดับสูงหลายสิบคนทั่วประเทศเพื่อสำรวจความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยสามารถดูผลการวิจัยนี้ได้ที่บล็อกของบรรณาธิการของอ็อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป ที่มีชื่อว่า "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทย: แม่แบบของความสำเร็จทางธุรกิจทั่วโลก" (Thailand's Sufficiency Economy Philosophy: A template for business success worldwide) และได้รับการวิเคราะห์ในรายละเอียดโดย คุณพอลเลียส คุนซินาส (Paulius Kuncinas) บรรณาธิการบริหารในเอเชียของอ็อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการดำริและนำไปปฏิบัติใช้อย่างสำเร็จยอดเยี่ยมโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ทรงนำองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ความพอประมาณ ความรู้ และมีเหตุผล มาใช้เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
จากผลการสำรวจของโอบีจีพบว่า สองในสามของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าหลักการที่ตั้งขึ้นในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของพวกเขาในอนาคตและมองว่าเป็นสิ่งที่นำไปสู่การเติบโตมากกว่าที่จะเป็นข้อกำหนดสำหรับการปฏิบัติตามข้อจำเป็นนั้นหรือความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนที่เหลือกล่าวว่าพวกเขาเห็นด้วยกับคำแถลงดังต่อไปนี้
ราวหนึ่งในสาม (คิดเป็นร้อยละ 33) กล่าวถึงความรอบคอบในการปลูกฝังการบริหารความเสี่ยงและการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้นำธุรกิจ
เมื่อถามเกี่ยวกับความท้าทายที่เป็นไปได้ในการใช้องค์ประกอบต่างๆ ของปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ กลุ่มคนในระดับซีอีโอร้อยละ40 กล่าวว่าการดำเนินธุรกิจให้คงอยู่หรือการขยายส่วนแบ่งการตลาดอาจชี้ให้เห็นปัญหาต่างๆ และร้อยละ 40 กล่าวว่าการควบและซื้อกิจการเป็นปัญหา
คุณคุนซินาสกล่าวว่าการสำรวจกลุ่มซีอีโอคนไทยและต่างชาติในประเทศไทยสามารถให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางที่ผู้นำธุรกิจได้นำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทางปัฏิบัติในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย
"ผลการสำรวจที่ได้รับชี้ให้เห็นว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยอมรับว่าการใช้หลักการเหล่านี้ในกิจกรรมทางธุรกิจในแต่ละวันมีความเกี่ยวเนื่องกับการขยายตัวในระยะยาว" คุณคุนซินาสกล่าวและเสริมว่า "ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะท้าทายการสร้างสมดุลในการพัฒนาธุรกิจ แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจหลายท่านเห็นว่าเป็นแม่แบบที่มีคุณค่าสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในภาวะตลาดที่ท้าทายในปัจจุบัน
เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจีที่นำมาใช้ในการสำรวจความคิดเห็นของซีอีโอ คือการสำรวจที่เข้ามาเพิ่มเติมพอร์ตโฟลิโอที่มีอยู่อย่างมากมายของเครื่องมือวิจัยของโอบีจี ผลลัพธ์ฉบับสมบูรณ์ของการสำรวจจะถูกเผยแพร่ทางออนไลน์และในรูปแบบการพิมพ์ การวิเคราะห์ที่คล้ายคลึงกันกำลังอยู่ในช่วงระหว่างดำเนินการในตลาดอื่นที่โอบีจีดูแลอยู่
การสำรวจครั้งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความเชื่อมั่นทางธุรกิจระหว่างผู้นำธุรกิจ (ประธานบริหาร หรือเทียบเท่า) และความคาดหวังในอีก 12 เดือนข้างหน้า ต่างจากการสำรวจอื่นเครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจีนี้ดำเนินงานแบบตัวต่อตัวกับพนักงานของโอบีจีที่มาจากอุตสาหกรรมที่แตกต่างหลากหลาย ขนาดของบริษัทที่ต่างกันไป และความเชี่ยวชาญแบบเฉพาะด้านการทำงานที่หลากหลาย ผลลัพธ์จะไม่ระบุตัวตน
เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจีใช้ข้อมูลจากบริษัทที่มีรายได้ภายในพารามิเตอร์ต่อไปนี้:
• ร้อยละ 88 ของบริษัทที่ทำการสำรวจเป็นเอกชน
• ร้อยละ 51 ของบริษัทที่ทำการสำรวจเป็นของต่างชาติ
• ร้อยละ 31 ของบริษัทที่ทำการสำรวจเป็นของในประเทศ
• ร้อยละ 67 ของบริษัทที่ทำการสำรวจอยู่ที่ดูไบ ร้อยละ 23 อยู่ที่อาบูดาบี และร้อยละ 9 อยู่ที่ชาร์จาห์
ข้อมูลที่สร้างขึ้นมาช่วยในการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นในแต่ละประเทศรวมถึงทั่วภูมิภาคและทั่วโลกอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองประเทศและภูมิภาคได้ ผลสำรวจถูกนำเสนอในเชิงสถิติในรูปแบบอินโฟกราฟฟิคและถูกกล่าวถึงในแบบบทความซึ่งเขียนโดยผู้จัดการบรรณาธิการของ อ็อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป
อ็อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป ได้มอบการสำรวจนี้ อินโฟกราฟฟิค และการวิเคราะห์จากแหล่งที่เชื่อถือได้เพื่อเป็นข้อมูลความรู้เท่านั้น โอบีจีจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียทางการเงินหรือสิ่งอื่นใดที่ได้รับจากบุคคลหรือองค์กรที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาของการสำรวจ กรุณาติดต่อ: โอลิเวอร์ คอร์น็อก (Oliver Cornock) บรรณาธิการใหญ่ที่ocornock@oxfordbusinessgroup.com
หากคุณต้องการถอดแบบเนื้อหาใด ๆ ในแบบสำรวจนี้ อินโฟกราฟฟิค และการวิเคราะห์ที่แนบมา กรุณาติดต่อmdeblois@oxfordbusinessgroup.com การผลิตและถอดแบบงานโดยไม่ได้รับอนุญาติจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอบีจีและวิธีการสมัครรับข้อมูลของธุรกิจเราที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง กรุณาเยี่ยมชมwww.oxfordbusinessgroup.com