กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--คอร์แอนด์พีค
มร. คีท รอสคาเรล ผู้อำนวยการด้านความปลอดภัยสาธารณะและเมืองอัจฉริยะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็ม พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวว่า ปัจจุบันนี้เมืองใหญ่ทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเตรียมพร้อมการเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงการไหลของเงินทุนจากทั่วโลกจะเข้ามายังเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้เกิดการขยายตัวของพื้นที่เมือง จำนวนประชากรในเขตเมืองจะเพิ่มขึ้น และขนาดเศรษฐกิจของเมืองในประเทศกำลังพัฒนาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และเพื่อให้บริหารจัดการเมืองที่มีประชากรมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้หลายประเทศต่างต้องการเดินหน้าสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในหลายเมืองใหญ่ที่มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภค เทคโนโลยี ระบบอินเทอร์เน็ต และการทุ่มเม็ดเงินลงทุนเพื่อวางระบบสำหรับอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์อย่างครอบคลุมเพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้ามายังฐานข้อมูลขององค์กร หากแต่การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมยังมีน้อยมาก ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน การขาดการบูรณาการและเชื่อมต่อข้อมูลอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาประมวลผลแบบเรียลไทม์ จนสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด
ที่ผ่านมา ฮิตาชิ ฯ ได้เร่งพัฒนาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อให้พร้อมสำหรับความต้องการของโลกอนาคต ซึ่ง Hitachi Visualization Suite (HVS) เป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ทำงานได้บนระบบไฮบริดคลาวด์ สามารถผสานรวมข้อมูลทั่วไปและข้อมูลจากวิดีโอหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ(Internet of Things) จากระบบความปลอดภัยสาธารณะที่แยกออกจากกันของแต่ละหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกัน และข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อแสดงผล ซึ่งจะช่วยให้องค์กรภาครัฐและเอกชนได้รับข้อมูลและเข้าใจในสถานการณ์จากข้อมูลเชิงลึก ทำให้สามารถวางแผนจัดการได้อย่างดีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของประชาชน อาทิ หน่วยจัดส่งความช่วยเหลือ 911 ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์, ตัวอ่านป้ายทะเบียน,เซ็นเซอร์กระสุนปืน ฯลฯ ในแบบเรียลไทม์ และนำเสนอให้ภาพข้อมูลในรูปแบบภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ HVS จะช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้รับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับใช้ในการเสริมความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน ยกระดับความสามารถด้านการสืบสวนสอบสวน และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติการต่าง ๆ พร้อมด้วยคุณสมบัติของการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์แบบเรียลไทม์จากเซ็นเซอร์
ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยเองทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็มีความต้องการสร้าง Smart City ให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ทั้งในแง่ความมั่นคง ความปลอดภัย และประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้มีนโยบายประเทศไทย 4.0 เข้ามาผลักดันในเรื่องความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ส่งผลในทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งมีการลงทุนเพื่อวางระบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของ Smart Cities ในอนาคต และสามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพ
โดยเทคโนโลยีสำหรับการสร้าง Smart Cities ของฮิตาชิ ฯ อย่าง HVS สามารถแสดงภาพข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่เกี่ยวกับข้อมูลอาชญากรรมที่ผ่านมาในอดีตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมถึงเขตพื้นที่ความเสี่ยงอาชญากรรม (Heat Map) ด้วย HVS เป็นแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการปรับขนาดได้อย่างเต็มที่ซึ่งจะช่วยให้องค์กรภาครัฐและเอกชน สามารถในการรวบรวมเหตุการณ์จำลองหลายร้อยรายการสำหรับการสร้างภาพและการเฝ้าติดตามเชิงพื้นที่ HVS ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการและรวมจุดต่าง ๆ ที่ใช้โดยเมืององค์กรและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยสาธารณะ จากการที่ HVS มีมุมมองแบบแผนที่เดียว ซึ่งรวมข้อมูลวิดีโอข้อมูลการปฏิบัติงานการขนส่ง GPS และการติดตามยานพาหนะข้อมูลอาคารและโครงสร้างพื้นฐานสื่อสังคมออนไลน์และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์พื้นเมืองและเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้องค์กรทุกประเภทมีความชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
"HVS นับเป็นเครื่องมือแรกที่ใช้โซเชียลมีเดีย และฟีดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ ร่วมกับการวิเคราะห์ขั้นสูงที่มีความละเอียดและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกและยกระดับความปลอดภัยสาธารณะในรูปของการนำเสนอข้อมูลพยากรณ์การเกิดอาชญากรรมที่มีความแม่นยำสูง ทั้งนี้ Hitachi Visualization เป็นหนึ่งในของโซลูชั่น Hitachi Social Innovation ที่ช่วยพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) และออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อยกระดับแนวคิดด้านความปลอดภัยสาธารณะของเมืองและเทศบาลต่าง ๆ ผ่านทางการใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเชิงพยากรณ์และการเข้าถึงข้อมูลวิดีโอ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จากระบบความปลอดภัยสาธารณะได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ" ดร.มารุตกล่าวทิ้งท้าย