ผลการศึกษาล่าสุดยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาซิลเดนาฟิลซิเตรต ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ข่าวทั่วไป Tuesday October 31, 2000 13:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
ผลการศึกษาโดยสถาบันแพทย์ชั้นนำ 2 แห่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ ได้ยืนยันประสิทธิภาพของซิลเดนาฟิล ซิเตรต ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
การศึกษาแรกโดย น.พ.เอส. ดี. แคทซ์ และ ดำเนินการโดยภาควิชาสรีรวิทยาการหมุนเวียนโลหิต และภาควิชาโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย, แห่งนครนิวยอร์ค ซึ่งเฝ้าดูผลการใช้ซิลเดนาฟิล ซิเตรต ต่อการหมุนเวียนโลหิตในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
ปัจจุบัน แพทย์ส่วนมากยอมรับว่าโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และโรคหัวใจบางประเภทนั้นมีปัจจัยเสี่ยงเดียวกัน และโดยมากเกิดร่วมกัน การศึกษาก่อนหน้านี้ก็ยังยืนยันด้วยว่า อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศพบในผู้ป่วยโรคหัวใจสูงกว่าที่เกิดในกลุ่มประชากรทั่วไป
ผลการวิจัยในกลุ่มนิวยอร์คได้ศึกษา ชาย 39 คน และหญิง 9 คนที่มีอาการโรคหัวใจล้มเหลว โดยมีชาย 8 คน และหญิง 4 คนที่ไม่เคยมีประวัติโรคหัวใจเป็นกลุ่มควบคุมเพื่อให้เกิดตัวเปรียบเทียบในการรักษาและการวัดผลต่างๆ การศึกษานี้กระทำโดยการเพิ่มปริมาณซิลเดนาฟิล ซิเตรต จำนวนมาก ถึง 3 ระดับ พบว่า ยาซิลเดนาฟิล ซิเตรต ขนาด 25 มิลลิกรัม และ 50 มิลลิกรัม นั้นเพิ่มการขยายตัวของเส้นเลือดจากกลไกการขยายตัวผ่านขบวนการของเซลบุผนังหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังพบว่า การไหลเวียนของเลือดนั้นดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยาซิลเดนาฟิล ซิเตรต นั้น ยังมีรายงานด้วยว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ศึกษานั้นทนต่อยาได้ดี ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งอัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิต
การศึกษาที่สองนั้นดำเนินการโดยการริเริ่มของที่ประชุมพรินซตัน คอนเซนซัส (Princeton Consensus Conference) พบว่า ในผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีอาการและเป็นโรคหัวใจจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาคู่มือแพทย์หรือแนวทางในการรักษาผู้ป่วย การศึกษาได้เป็นภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคหัวใจโดยเสนอแนวทางที่เข้าใจง่ายสำหรับแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในระดับต่างๆ กัน คำแนะนำเหล่านี้รวมถึงการให้มีการประเมินพฤติกรรมทางเพศ ในการตรวจร่างกายครั้งแรกของผู้ป่วยทุกรายในครั้งแรกที่ตรวจเช็คโรคหัวใจ
การประเมินขั้นต่อไป คือ การแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มตามที่ระดับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่ำสามารถดำเนินกิจกรรมทางเพศต่อไปได้และสามารถเข้ารับการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เลย ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาอาการของโรคหัวใจให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินกิจกรรมทางเพศต่อไปได้ หรือได้รับการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในทุกรายควรมีการตรวจหลังจากการรักษาเพื่อติดตามผลในทุกขั้นตอน
การศึกษานี้สรุปว่า วิธีการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยทั้งผู้ที่มีหรือไม่มีอาการโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ห้ามใช้ยาซิลเดนาฟิล ซิเตรต ในผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใช้ยาไนเตรตอยู่
กิจกรรมทางเพศนั้นเป็นส่วนสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของทุกคน จากข้อมูลทางระบาดวิทยานั้นชี้ให้เห็นว่า ปัญหาทางเพศนี้ได้เพิ่มขึ้น และมีผลต่ออารมณ์ คุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย ได้แก่ ความผิดปกติของความต้องการทางเพศ การเร้าอารมณ์เพศและ/หรือการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ความผิดปกติของการถึงจุดสุดยอดและการหลั่งน้ำกาม
สำหรับผู้ที่ต้องการเอกสารแนะนำข้อมูลและคำปรึกษาโดยไม่คิดมูลค่า โปรดติดต่อ :
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพชาย โทร. 635-1001 โทรสาร 650-8455 หรือ ตู้ ป.ณ. 2513 กทม. 10501 หรือ http://menhealth.pfizer.co.th จดหมายและคำถามต่างๆที่ส่งมายังศูนย์ฯจะถูกเก็บเป็นความลับ
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล / นิโลบล โควาพิทักษ์เทศ
บริษัท แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ 257 0300
โทรสาร 257 0312--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ