กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
ความร่วมมือจัดการประชุมนานาชาติเรื่องเทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย "คลองไทย" การศึกษาแบบบรูณาการของ
ระบบโลจิสติกส์ทางเลือกบนเส้นทางสายไหม
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 กรุงเทพฯ ได้มีพิธีลงนามความบันทึกความเข้าใจ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีฯ (ที่ 2 จากขวา) และ สมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา โดยพลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป นายกสมาคมฯ (ที่ 2 จากซ้าย) ในการจัดการประชุมนานาชาติเรื่อง เทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย "คลองไทย" การศึกษาแบบบรูณาการของระบบโลจิสติกส์ทางเลือกบนเส้นทางสายไหม (INTERNATIONAL CONFERENCE ON TECHNOLOGY FOR SUSTAINABLE PATHS TO THAILAND'S FUTURE, THAI CANAL: Comprehensive Study of Alternative Logistics Systems for the Maritime Silk Road) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เฮอร์รัลด์ ว้ากเนอร์ (ขวา) และ คุณภักดี ธนะปุระ (ซ้าย) ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน การประชุมนานาชาตินี้จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2560 ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพฯ
การประชุมนานาชาตินี้ ยังได้รับความสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากสมาคมยุโรปเพื่อธุรกิจและการค้า (European Association for Business and Commerce – EABC)
ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการผนึกพลังความพยายามและมุ่งมั่นในความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายเพื่อสร้างการประชุมระดับนานาชาติอันเป็นเวทีซึ่งมีผู้ชำนาญการในสาขาต่างๆ หลากหลายของการสร้างคลองจากทั่วโลกจะมารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการและวิสัยทัศน์ในการสร้างคลองเพื่อการพาณิชย์
เวทีการประชุมนานาชาตินี้เปิดกว้างต้อนรับทุกท่านที่สนใจและเห็นความสำคัญของความเป็นไปได้ในการก่อสร้างคลองไทย (เดิมเรียกว่า "คลองกระ") และท่านที่เชื่อมั่นศรัทธาว่า การก่อสร้างคลองไทยจะช่วยเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนทั้งกับประเทศไทยและในระดับโลก
ภายหลังจากการลงนามข้อตลกลงจัดการประชุมนานาชาติคลองไทยฯ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า โนบายจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาและก่อสร้างทั้งโครงการเล็กหรือใหญ่ ในทางปฏิบัติควรผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบ ทั้งในแง่บวกและลบตามหลักวิชาการอย่างรอบด้าน สำหรับนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้แผนงานมีความเหมาะสม เป็นประโยชน์สูงสุด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด เช่นเดียวกับโครงการ "คลองกระ" ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "คลองไทย" ในขณะนี้ กำลังเข้าสู่กระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของเทคโนโลยีการก่อสร้าง รวมไปถึงข้อดีในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจ การเดินทาง การขนส่งโรจิสติกส์ และข้อเสียที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชน และประเด็นด้านความมั่นคง ดังนั้น การเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และระดมสมองในครั้งนี้ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ จะช่วยทำให้เกิดองค์ความรู้และมุมมองที่รอบด้านต่อโครงการมากอย่างไรก็ตาม สจล. ในฐานะสถาบันการศึกษา ที่มีคณาจารย์ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับต้นๆ ของประเทศมีความยินดีในการให้ข้อมูลในเชิงวิชาการและสนับสนุนการพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืน
หมายเหตุ: การประชุมนี้ดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษ และมีหูฟังแปลภาษาไทย ท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดต่อผู้จัดงานได้ทางอีเมล์ thaicanalconf@gmail.com