กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--เวิรฟ
ทุกวันนี้การดีไซน์ผลิตภัณฑ์เป็นกระบวนการที่ผู้ออกแบบต้องกลั่นกรองความคิดมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ใด ต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตของผู้ใช้งาน เพราะผู้บริโภคยุคใหม่มีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในด้านไลฟ์สไตล์และจิตวิทยา ทั้งผลิตภัณฑ์ยังต้องสวยและตอบโจทย์การใช้งานได้จริง
เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ไม่ต่างอะไรกับผลิตภัณฑ์ดีไซน์และแฟชั่น เพราะคนยุคนี้พิถีพิถันในการเลือก เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องมีดีไซน์สวยงาม สามารถเป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้านได้ หรือแม้กระทั่งบางบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจเปรียบเสมือนมาสเตอร์พีซประดับบ้านชิ้นเอกเลยก็เป็นได้
อีฟ เบฮาร์ (Yves Behar) ดีไซน์เนอร์และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ชื่อดังชาวสวิส ผู้คร่ำหวอดในวงการดีไซน์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Fuseproject และเจ้าของผลงานดีไซน์มากมาย กว่า 20 ปีที่โลดแล่นในวงการ เขาได้ร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PRADA, Swarovski , ISSEY MIYAKE และSamsung เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และเมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้รับตำแหน่งนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของโลกโดยนิตยสาร Forbes อีกด้วย
ล่าสุดอีฟ เบฮาร์ และซัมซุงมีแนวคิดที่จะลบภาพทีวีในอดีตที่เป็นกล่องดำตั้งกระหง่านกลางบ้านออกไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นงานศิลป์ที่ช่วยเสริมสุนทรียะให้ห้องสวยขึ้นกว่าที่เคยเป็น "เราต่างพยายามค้นหาวิธีใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคในปัจจุบันจะใช้ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับทีวี ซึ่งในแต่ละวันนั้นคนเราดูทีวีเฉลี่ยเพียงวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น เราจึงอยากให้ทีวีกลมกลืนไปกับทุกห้องภายในบ้านได้อย่างลงตัว ไม่ใช่เป็นเพียงจอดำในช่วงที่เราไม่ได้ดูทีวี โดยแนวคิดหลักคือ ทีวีรุ่นนี้จะต้องเป็นมากกว่าทีวี จึงเป็นเหตุผลที่ทั้งซัมซุงและผมต้องการเปลี่ยนหน้าตาของทีวี จากกล่องสีดำที่ทุกคนชินตา ให้เป็นงานศิลป์ที่สวยงามสะกดทุกสายตา อันเป็นที่มาของ "Samsung The Frame" ไลฟ์สไตล์ทีวีใหม่ล่าสุดที่จะเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ทีวีอย่างสิ้นเชิง เพราะมีการสอดแทรกดีไซน์ไว้ในผลิตภัณฑ์อย่างละเมียดละไม แยบยล"
The Frame นอกจากจะมีรูปลักษณ์ที่สวยงามดุจงานศิลป์แล้ว ยังเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับวิถีชีวิตของผู้คน การผสมผสานไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคกับวัตถุต่างๆ ภายในบ้านโดยผ่านการดีไซน์จะช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน และยังช่วยให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปคุ้นชินกับแนวคิดใหม่ได้เร็วขึ้นอีกด้วย อีฟ เบฮาร์ เผยถึงแรงบันดาลใจของการออกแบบให้ The Frame พลิกรูปลักษณ์ของทีวี "หัวใจหลักของทีวีรุ่นนี้คือ User Experience หรือประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับ เพราะThe Frame จะให้ประสบการณ์พิเศษที่หาได้เฉพาะในทีวีรุ่นนี้เท่านั้น ผู้ใช้สามารถเพลิดเพลินไปกับงานศิลป์จากศิลปินระดับโลก ที่จะปรากฏบนหน้าจอโดยอัตโนมัติเมื่อไม่ได้ใช้งานทีวี ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยกลไกอันชาญฉลาด Brightness Sensor หน้าจอสามารถปรับลดหรือเพิ่มความสว่างโดยอัตโนมัติตามช่วงเวลาต่างๆ ตลอดวัน และ Motion Sensor เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ใช้ตรวจจับว่ามีคนอยู่ในห้องหรือไม่เพื่อปิดและเปิดทีวีโดยอัตโนมัติ"
อีฟ เบฮาร์กล่าวเสริมว่า "การติดตั้งเซนเซอร์ในทีวีเป็นงานทางเทคนิคที่ซับซ้อน แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งมอบประสบการณ์สู่ผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์แบบ แนวคิดที่เราใช้ออกแบบ The Frame เป็นแนวคิดที่ก้าวล้ำอย่างมาก เราจึงรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้แสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ ผมสัมผัสถึงความมุ่งมั่นและพลังที่เราทุกคนทุ่มเทแรงใจแรงกายให้กับการพัฒนาทีวีรุ่นนี้" เขาปิดท้ายว่า "The Frame เป็นเสมือนทีวีที่ปฏิวัติวงการเลยทีเดียว เพราะทีวีรุ่นนี้ทำให้ผมอยากแสดงหน้าจอทีวีให้ทุกๆ คนดู และยังมีคุณสมบัติการแสดงภาพเขียนหรือภาพถ่าย ทำให้บ้านของผมงดงาม มีสุนทรียะยิ่งขึ้น ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ในยุคใหม่ของทีวี ซึ่งสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากมายมากกว่าเป็นแค่ทีวี รวมไปถึงการแสดงภาพศิลปะอีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นพื้นที่แสดงศิลปะแบบดิจิทัลเลยทีเดียว"
การออกแบบทีวีโดยใช้รากฐานจากประสบการณ์การใช้งานแทนที่จะเป็นเทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่างเหมาะสมส่งผลให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับผู้ใช้งานแต่ละคนและมีลักษณะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบได้ และ The Frame ถือเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าของแนวคิดด้านการออกแบบดังกล่าว ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของทีวีจากจอสี่เหลี่ยมสีดำใน The Frame ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงของการค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากการที่มีทีวีที่สามารถแสดงงานศิลปะได้ในบ้าน ส่งประสบการณ์เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความไม่ธรรมดาสู่ผู้ใช้งานทุกคน