กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--สมาร์ท วิน
บริษัท ไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน) โดยนายสมมาศเสถียร เลิศวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด ร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยนายเดชพร ด่านพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักงานและบริการลูกค้านครหลวงที่ 1 จัดทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตบนสายไฟเบอร์ออฟติก ที่โครงการคอนโด Ryhthm พหล-อารีย์ โดยความเร็วที่ทางทีโอทีนำมาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองใช้ เปิดความเร็วดาวน์โหลด / อัพโหลด ไว้ที่ 300/ 100 เมกะบิตต่อวินาที
โดยก่อนเริ่มงาน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน) นายสมเกียรติ สวัสดิ์รัมย์ ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับ 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟเบอร์ออฟติก เทียบกับสายทองแดง เช่น สายไฟเบอร์ออฟติกเป็นโครงข่ายที่เดินสายใหม่ ให้ความเร็วทั้งดาวน์โหลดและอัพโหลดได้เร็วกว่าสายทองแดงแบบเดิม คือ สามารถส่งข้อมูลได้ในระดับ 100 กิกะบิตต่อวินาที คลื่นสัญญาณไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนสายไฟเบอร์ออฟติกได้ รองรับการติดตั้งเครื่องปลายทางได้ในระยะที่ไกลกว่าสายทองแดง ข้อมูลปลอดภัยมากกว่า รองรับอุปกรณ์ใช้งานได้มากกว่า รวมถึงรองรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นเสริมได้มากกว่า
งานนี้ มีผู้เข้าร่วมงานเข้าร่วมงานทดสอบประมาณ 15 ท่าน และเมื่อทดลองใช้งานพร้อมกันทั้งหมด ความเร็วในการดาวน์โหลดที่ได้ในช่วงระหว่าง 94 - 300 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นความเร็วดาวน์โหลดที่สูงมาก โดยแต่ละคนทดลองทดสอบดาวน์โหลดเกมส์ หนัง เพลง และรายการบนยูทูบ ซึ่งทุกคนพอใจกับผลการทดสอบเป็นอย่างมาก
สนใจติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก ลงทะเบียนได้ที่ www.fiber1.co.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1262
___________________
เกี่ยวกับไฟเบอร์วัน
บริษัท ไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน) ให้บริการวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกถึงที่พักอาศัยและชุมชนของผู้อยู่อาศัย โดยร่วมมือกับนิติบุคคลอาคารชุด และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในการติดตั้งโครงข่ายดิจิทัลแบบรวมศูนย์ (Digital Service Platform) เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการดิจิทัลอื่นๆในอนาคต โดยโครงข่ายที่ไฟเบอร์วันเดินสายเป็นโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกเข้าถึงบ้านแต่ละหลัง หรือห้องพักในคอนโดมีเนียมแต่ละห้อง แทนสายทองแดงในปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า โดยการติดตั้งโครงข่ายนี้ ไฟเบอร์วันมิได้คิดค่าบริการใดๆจากเจ้าของโครงการที่พักอาศัย หรือจากนิติบุคคลที่บริหารจัดการโครงการ หรือจากผู้อยู่อาศัยแต่ละรายแต่อย่างไร นอกจากนี้ ไฟเบอร์วันยังให้บริการดูแลและซ่อมบำรุงรักษาโครงข่ายดิจิทัลแบบรวมศูนย์นี้เป็นเวลา 15 ปีด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทเอง