กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์
SPRINT สร้างไอเดียไหนก็ได้ใจลูกค้าใน 5 วัน
หนังสือขายดีของ New York Time Bestseller และ Wall Street Journal
SPRINT เกิดจาก เจค แนปป์ ได้ยินวิศวกรที่ร่วมทำงานด้วยกันพูดขึ้นในระหว่างประชุมว่า "พวกคุณรู้ได้อย่างไรว่าการระดมสมองจะใช้ได้ผล" นั่นทำให้เจคเองได้คิดและเห็นว่าการประชุมระดมสมองนั้น เมื่อสิ้นสุดลงแล้วก็จะมีแค่ไอเดียและภาพร่างในกระดาษใช้งานไม่ได้จริง การทบทวนถึงงานที่ผ่านมาของเจคทำให้ได้ข้อสรุปขึ้นมาว่า การที่มีเวลาคิดไอเดียด้วยตนเองต่างกับการระดมสมองแบบกลุ่มที่ต้องพยายามโน้มน้าวให้คนอื่นยอมรับ เวลาที่จำกัดอยู่ทำให้บังคับตัวเองให้จดจ่อกับงานได้มากขึ้น และบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอื่นๆที่อยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหางานส่วนของพวกเขาเองและพร้อมตอบปัญหาของคนอื่น ถ้าหากการประชุมระดมสมองลองใส่องค์ประกอบเหล่านี้เข้าไป โดยให้แต่ละคนจดจ่อไปที่งานของตัวเอง กำหนดเส้นตายที่เลื่อนไม่ได้ มีเวลาให้สร้างผลงานต้นแบบเพื่อนำไปทดสอบ ก็น่าจะทำให้ไอเดียที่คิดขึ้นมาสามารถนำไปใช้งานได้จริง
แต่ไม่ใช่คิดแค่นี้แล้วจะใช้ได้เลยเพราะทางเจคได้ร่วมมือกับ กูเกิลเวนเจอร์สที่เป็นองค์กรด้านการลงทุนธุรกิจสตาร์ทอัพของกูเกิลในการทำให้ "สปรินท์" ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยทดลองกับธุรกิจสตาร์ทอัพในเครือ โดยปกติธุรกิจสตาร์ทอัพมักมีโอกาสครั้งเดียวที่นำเสนอไอเดีย กระบวนการสปรินท์จะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้หาคำตอบได้ว่า มาถูกทางแล้วหรือยังก่อนที่จะสร้างธุจกิจและเปิดตัวผลิตภัณฑ์
กระบวนการสปรินท์ที่ใช้เวลา 5 วันสามารถใช้งานกับลูกค้าได้ทุกประเภทตั้งแต่นักลงทุนถึงเกษตรกร แพทย์โรคมะเร็งจนถึงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก เว็ปไซต์ แอปพลิเคชั่น เอกสารทางการแพทย์จนถึงอุปกรณ์ไฮเทค และไม่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้นแต่ยังใช้เพื่อเรียงลำดับความสำคัญ กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด หลายครั้งกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมและทำให้ไอเดียต่างๆ กลายเป็นความจริง
สปรินท์ เหมาะกับการใช้งานในสถานการณ์ใดบ้าง?
สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง ถ้าเจอปัญหาที่ต้องอาศัยทั้งเวลาและเงินเพื่อหาทางออก การทำสปรินท์เป็นตัวเลือกที่ดีที่จะใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์นี้
สถานการณ์ที่เวลาไม่พอ หากเวลาที่จำกัดบีบบังคับ สปรินท์เป็นทางแก้ปัญหาที่ดีและรวดเร็วให้สมกับชื่อของมัน
สถานการณ์ที่ติดขัดเรื่องทั่วไป โครงการบางอย่างเริ่มต้นได้ บางครั้งก็เจอความไม่ลงตัวบางอย่าง ในสถานการ์แบบนี้สปรินท์ช่วยเป็นแรงส่งให้งานดำเนินต่อไปได้
การทำงานของกระบวนการสปรินท์ไม่ได้เข้าใจยากใช้เวลาเพียง 5 วันคือจันทร์-ศุกร์ โดยที่ห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ในห้องทำสปรินท์ และต้องมีอุปกรณ์รองรับกระบวนการสปรินท์อย่างไวทบอร์ด โพสต์อิท เครื่องจับเวลา ของว่างต่างๆ โดยการทำงานของทั้ง 5 วันแตกต่างกันไป วันจันทร์คือวันแรกที่เริ่มโดยการกำหนดเป้าหมาย แนวทางของโครงการ วันอังคารต่อมาคือการหาแนวทางการแก้ปัญหา เสนอไอเดียต่างๆ ต่อมาเมื่อถึงวันพุธต้องเลือกไอเดียที่นำไปใช้ได้จริงจากที่เสนอมาและวาดสตอรี่บอร์ด เมื่อถึงวันพฤหัสนำสตอรี่บอร์ดมาสร้างต้นแบบงานและต้องเช็คกับทางผู้ร่วมทดสอบที่จะทำวันศุกร์ และวันสุดท้ายคือศุกร์ก็เริ่มทำการทดสอบจากผู้ร่วมโครงการ
เมื่อจบกระบวนการสปรินท์คุณจะได้เรียนรู้ไอเดียที่ไม่ธรรมดาในการทำงานให้รวดเร็วขึ้นและทำงานอย่างชาญฉลาดมากขึ้นเพราะคุณจะไม่ต้องรีบสรุปแนวทางการแก้ปัญหา ไม่ต้องแข่งกันตะโกนเสนอไอเดีย ไม่ต้องเถียงกันเรื่องไอเดียที่ยังไม่เป็นรูปธรรมและไม่ต้องเดาสุ่มว่าคุณมาถูกทางแล้ว
ยกตัวอย่างสถานการณ์เรื่องการเปิดร้านค้าออนไลน์ของร้านขายกาแฟบลูบอทเทิลโดยเจ้าของธุรกิจต้องการที่จะขยายร้านค้าไปสู่ตลาดออนไลน์แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร การเริ่มทำสปรินท์ต้องให้ทีมงานทุกคนรวมตัวกันที่ห้องประชุมโดยวันแรกพวกเขาถกเถียงและเสนอปัญหาในการสร้างเว็ปไซต์ ได้ข้อสรุปคือเว็ปไซต์ต้องสอดคล้องกับความอบอุ่นและเป็นมิตรของร้านกาแฟให้ความรู้สึกเหมือนเราใส่ใจตลอดเวลา วันถัดมาก็เสนอไอเดียร้านค้าต่างๆซึ่งเมื่อเข้าวันพุธที่ต้องตัดสินเลือกไอเดียการแก้ปัญหาทางบลูบอทเทิลมีไอเดียให้เลือก 15 แบบ และมี 3 แบบที่ผ่านการเลือกทั้งหน้าเว็ปที่คล้ายบรรยากาศในร้าน หน้าเว็ปที่เหมือนพูดคุยกับบาริสตา และหน้าเว็ปที่ตั้งคำถามว่าปกติคุณชงกาแฟแบบไหน เพื่อนำไปสร้างแบบทดสอบในวันพฤหัส โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเว็ปขึ้นจริงแต่ใช้สไลด์หรือโปรแกรมง่ายๆ ที่ทำให้เหมือนเว็ปไซต์เท่านั้น เมื่อถึงวันศุกร์ก็เฝ้าดูการสัมภาษณ์ลูกค้าที่เข้ามาทดสอบร่วมกัน
สปรินท์ทำให้บลูบอทเทิลเข้าใกล้คำตอบที่ว่าพวกเขาจะทำร้านค้าออนไลน์อย่างไร และยังไม่ลงมือหาคำตอบด้วยวิธีที่สอดคล้องกับหลักการบริการของร้านอีกด้วย
การทำสปรินท์ช่วยบ่มเพาะนิสัยการตั้งคำถาม การสร้างต้นแบบและการทำแบบทดสอบในบริษัทพอทำครั้งแรกสำเร็จ วิธีการทำงานของทีมงานก็จะเปลี่ยนไปเวลาหารือเรื่องอะไรก็ตาม จะหาทางเปลี่ยนแปลงคำถามเหล่านั้นให้เป็นข้อทดสอบได้ จะค้นหาคำตอบให้ได้ภายในสัปดาห์นั้นไม่ใช่เมื่อไหร่ก็ได้ และจะเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองและทำให้คนอื่นเชื่อความสามารถที่เขามีอยู่ด้วย
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าสปรินท์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายถ้าทีมงานทำตามกระบวนการที่กำหนดไว้ย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ การเริ่มทำสปรินท์เริ่มได้ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน องค์กรอาสา โรงเรียนหรือแม้แต่ทดลองสร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตตัวเอง เริ่มทำได้เมื่อเวลาที่ไม่แน่ใจว่าควรจะทำอะไร ติดขัดในตอนเริ่มต้นหรือต้องทำการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูงการทำสปรินท์จะช่วยให้ตอบคำถามที่สำคัญได้ก่อนการตัดสินใจ
มีวางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ www.nstore.net
หนังสือ SPRINT สร้างไอเดียไหนก็ได้ใจลูกค้าใน 5 วัน
เจค แนปป์, จอห์น เซรัทสกี, บราเดน โควิทส์ เขียน
ปฎิพล ตั้งจักรวรานนท์ แปล
ราคา 295 บาท
สามารถติดตามข่าวสารหนังสือใหม่ของสนพ. เนชั่นบุ๊คส์ได้ที่ https://www.facebook.com/NationBooksFanPage/