กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--Med Agency
ทีมข่าวเว็บไซต์ Medhub news.com รายงานว่า ภายหลังได้นำเสนอสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับระบบ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" ไปแล้วนั้น ปรากฏว่าข่าวสารประชาสัมพันธ์จาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ตามออกมามากมาย
ถึงกระนั้น ข่าวสารเหล่านี้ ออกมาในช่วงหลังจากเกิดเคสสะเทือนขวัญ สร้างความหวั่นไหวให้กับประชาชน และ เมื่อถึงเวลานี้สังคมย่อมไม่มั่นใจกับ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" ไปแล้ว
เฉพาะภาพลบ ในข่าวเคสของ น้องลูกชิด สันติสุข พรรณไวย อายุ 20 ปี ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เสียชีวิตกลางดึกจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แจ้งเจ้าหน้าที่ 1669 สายด่วนของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และประสานมาทางศูนย์วิทยุโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ว่ามีอาการปวดศีรษะ
แต่ทางเจ้าหน้าที่กลับไม่ส่งรถมารับ แถมยังทำหน้าที่แทนแพทย์ บอกให้ "กินยาพาราเซตามอล" ตอนเช้าค่อยไปรับอีกที ! ก็ทำให้สังคมออนไลน์เดือดกันแล้ว
คำพูดเหล่านี้ มันฝังใจต่อญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต และ สังคมกับ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" ที่เราจะสามารถฝากความหวังไว้ได้หรือไม่ ?
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์แบบนี้ ต้องขอชื่นชมในการทำงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานที่ยังขาดความพร้อมอีกหลายๆ ประการ ตรงนี้เราเข้าใจในระบบสุขภาพไทย ที่เป็นสโลแกนของ ทีมข่าว เว็บไซต์ MedHubNews.com ( เมด ฮับ นิวส์ดอทคอม ) ได้มีจุดหมายเรื่อง "เจาะลึกระบบสุขภาพ" ซึ่งเป็นการนำเสนอข่าวสารเพื่อสังคม โฟกัสที่ระบบ ไม่เน้นบุคคล หรือ โจมตีใคร
เราทำงานเป็น "สื่อสายสุขภาพ" มานานตั้งแต่ปลัดฯ สธ. คนปัจจุบันเป็นนายแพทย์ สสจ.อยู่เลย ผ่านรมต.และ ผู้บริหารมาหลายชุด แต่ละคนผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
ข่าวสารล่าสุด ทาง สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. จัดโครงการเพื่อฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ขั้นพื้นฐานในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างถูกขั้นตอน และการใช้งานสายด่วน 1669 ให้เกิดประสิทธิภาพ
พื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี นับว่ามีความเข้มแข็งด้านการให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉิน เนื่องมีระบบเครือข่าย ที่สอดประสานทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างลงตัว
ขณะที่พื้นที่ จังหวัดอุดรธานี ก็มีความเข้มแข็งด้านการให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉินมานานมาก โดยทาง ทีมข่าวเว็บไซต์ Medhub news.com ได้ลงพื้นที่เกาะติดการทำงานของ "ภูผา วันเฉลิม" กู้ภัยสว่างเมธาธรรม ของจังหวัดอุดรธานี ซึ่ง "ภูผา วันเฉลิม" มีชื่อเสียงมาจากการเป็นนักร้องจึงทำให้เราตามตัวได้อย่างไม่ลำบากมากนัก
จากการติดตามการทำงานของ "ภูผา วันเฉลิม" กู้ภัยสว่างเมธาธรรม ของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นเอกชนที่ต้องทำงานสอดประสานกับ สพฉ.ซึ่งหนุ่มภูผา ก็ทำตามกฎระเบียบอย่างเต็มที่ เพื่อให้ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" มีความเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
โดยเขาตั้งใจทำงานอย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหน โดยใช้ทักษะที่ได้อบรมมาอย่างยาวนาน รวมทั้งการสื่อสารกับคนป่วย ญาติผู้บาดเจ็บ ญาติผู้เสียชีวิต จึงทำให้เขาได้รับคำชื่นชมกลับมาทุกครั้งในการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ การสื่อสาร นับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการที่คนไข้ ญาติคนไข้ หรือ ญาติผู้เสียชีวิต รวมทั้งสังคมที่ติดตามข่าวสาร จะเข้าใจการทำงานของเราได้ดีนั้น เราต้องอธิบายให้เข้าใจ อย่าปล่อยให้เคสหลุด หากเคสไหนสุดวิสัยเราต้องชี้แจงให้ชัดเจน ต้องเคลียร์อย่างไม่มีอะไรค้างคาใจ ทางคนไข้ ผู้บาดเจ็บ หรือ ญาติๆ ก็มักจะเข้าใจอยู่แล้ว
ในทางตรงกันข้าม หากเราหนีปัญหา ไม่สื่อสาร ไม่อธิบายใดๆ ก็ยิ่งจะทำให้ถูกการร้องเรียนผ่านสื่อ โดยเฉพาะในยุคสังคมมีเดีย ทำให้เราเสียหายกันทั้งประเทศ
นอกจากนี้ ภูผา บอกอีกว่า ช่วงเวลาที่ต้องให้ความสำคัญ คือ ช่วงเปลี่ยนกะ ตอนตี 4-5 ช่วงนั้นจะต้องหากู้ภัยไว้รอเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่มักจะเป็นช่วงโหว่ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
ซึ่งวิชาชีพเรา เป็นอาสาสมัครที่เข้ามาทำงานตรงนี้ เราตั้งใจมาทำงานเอง รถก็รถของเราที่ทำมาอย่างดีจนได้มาตรฐานเทียบเท่ารถพยาบาล ดังนั้นอยากให้มองปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากตัวบุคคลมากกว่า ไม่ใช่เหมาะรวมทั้งระบบ
หากการสื่อสารที่ดีแบบนี้ จะทำให้ประชาชนพึงพอใจ อุ่นใจ ในฐานะวิชาชีพกู้ภัย และ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" ในนามของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ.อีกด้วย !!