กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--มีเดีย โฟกัส
เนื่องจากวัวนมเป็นยุทธศาสตร์ของโคราช ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะมีการเพิ่มจำนวนวัวนมให้มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรจำนวนมากมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การส่งเสริมการเลี้ยงวัวนมต้องได้ร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะนักวิชาการและมีบุคลากรที่ทรงคุณวุฒิมาเป็นที่ปรึกษาให้คำเสนอแนะ ซึ่งรูปแบบนี้มีการพัฒนาในประเทศใต้หวันมานานแล้ว เกษตรของประเทศใต้หวันจะมีสมาคมกลางเป็นผู้จัดหาเอกชนที่มีความรู้ความสามารถมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่ทันสมัยมาบริหารการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำคือการจัดจำหน่าย ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัยในประเทศใต้หวันเป็นที่ปรึกษาทำวิจัยและส่งผลการวิจัยให้สมาคมกลางนำไปทดสอบจริงในแปลงเกษตร จากนั้นก็ช่วยกันปรับปรุงรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีให้เหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร ในประเทศไทยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะนำผลวิจัยไปร่วมกับบริษัทเอกชนเพราะไม่มีองค์กรที่เข้ามารองรับหรือรวบรวมกลุ่มเกษตรกรให้ดำเนินการไปทิศทางเดียวกัน ครั้งนี้จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยท่านอธิการบดี เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะช่วยภาคการเกษตรของโคราชให้พัฒนาอย่างครบวงจร โดยจะนำวัวนมจากกลุ่มเกษตรกรต่างๆมาเลี้ยงรวมกันโดยใช้เทคโนโลยี่แบบสมาร์ทฟาร์มเพื่อง่ายต่อการจัดการทั้งด้านอาหาร,การรักษา,การควบคุมการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังสามารถนำอาหารส่วนหนึ่งคือหญ้าเนเปียร์มาผสมกับมูลวัวผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง โครงการนี้นอกจากได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา แล้วยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่พร้อมจะให้คำปรึกษาเพื่อให้โครงการสามารถบรรลุเป้าหมายคือปศุสัตว์จังหวัดโคราช และเกษตรจังหวัดโคราช ส่วนภาคเอกชนได้แก่ชมรมพัฒนาสังคมและคุณภาพมนุษย์แห่งประเทศไทย โดยท่านพลโท คุมพล บุญญาภิสันท์ ประธานชมรมฯ,บริษัท แองโกล-ไทย จำกัด,ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.ดี.ไบโอเทค,บริษัท นาคราช กรุ๊ป จำกัด(ประทศไทย) กลุ่มเกษตรกรได้แก่ สหกรณ์เพื่อโคราชสีเขียว จำกัด,วิสาหกิจชุมชนการตลาดสินค้าการเกษตรตำบลลาดบัวขาว และ สหกรณ์บริการวิสาหกิจชุมชนอุบล จำกัด
ซึ่งพิธีลงนาม MOU นี้ ได้จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2560