กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
จากผลสำรวจขององค์กรอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลกโดยในปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 17.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของการเสียชีวิตทั้งหมด สำหรับประเทศไทย โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ถือได้ว่าโรคหัวใจเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญมากทั้งระดับโลกและระดับประเทศ
เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลก (World Heart Day) วันที่ 29 กันยายนของทุกปี สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation : WHF) และฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมดูแลสุขภาพและพันธมิตรหลักของสมาพันธ์ฯ ร่วมรณรงค์ให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคหัวใจและวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
ปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจไม่ได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะจากผลสำรวจพบว่า 1 ใน 10 ของคนอายุระหว่าง 30 – 70 ปี มีสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และจากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัจจุบันร้อยละ 39 ของผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกิน และร้อยละ 13 ของคนเหล่านั้นเป็นโรคเบาหวาน ในขณะที่ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังพบว่าเด็กไทยวัยประถมร้อยละ 66 มีภาวะไขมันในเลือดสูง และร้อยละ 20 มีภาวะอ้วน ซึ่งภาวะดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้คาดการณ์ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจจะเพิ่มมากขึ้นและมีอายุน้อยลง โดยสาเหตุหลักเกิดจากพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันที่นิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูป อาหาร Junk Food อาหารรสหวาน มัน เค็ม จัด หรืออาหารที่มีปริมาณแคลอรี่ ไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง จึงก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันสูง น้ำตาลในเลือดสูง และเบาหวาน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ศาสตราจารย์ เดวิด วู้ด ประธานสมาพันธ์หัวใจโลก กล่าวว่า "ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก เกิดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนในยุคปัจจุบัน ที่มีการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น การนิยมรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายที่น้อยลง ไลฟ์สไตล์เหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพ และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมอง ดังนั้น แนวทางง่ายๆ สำหรับลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ คือ งดการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารหวานมันเค็ม อาหาร แปรูป และอาหารสำเร็จรูป และหมั่นออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพที่ดี และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้"
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคนั้น ส่งผลต่อสุขภาพเราอย่างมาก แต่เป็นธรรมดาที่เรามักจะอยากรับประทานอาหารที่ไม่เพียงแต่สุขภาพดี แต่ยังได้รสชาติอร่อยด้วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบรับประทานอาหารทอด ลองปรับเปลี่ยนเมนูอาหารเดิมๆ ด้วยการใช้หม้อทอดอากาศ Philips Airfryer ที่ทอดอาหารได้ด้วยอากาศและสามารถลดไขมันสูงสุดถึงร้อยละ 80 ดีต่อสุขภาพกว่าทางเลือกเดิมๆ แต่ยังคงให้อาหารได้รสชาติที่อร่อย เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว เพื่อที่เราจะได้มีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงไปด้วยกัน