กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย (National Gallery of Indonesia)
เจ 1. เมดาน เมอร์เดก้า ทิเมอ เลขที่ 14,
เซ็นทรัล จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต และหอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอนิทรรศการภาพของ "นที อุตฤทธิ์" จิตรกรไทยร่วมสมัย ระหว่างวันที่ 3 – 17 ตุลาคม 2560 ณ หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย (National Gallery of Indonesia) นิทรรศการใช้ชื่อว่า การมองโลกในแง่ดีคือเรื่องน่าขัน: จิตรกรรมบนฉากประดับแท่นบูชา The Altarpieces โดยจะจัดแสดง 7 ชุดภาพ ส่วนหนึ่งของชุดภาพทั้ง 12 ชุด ที่เริ่มทำในปี พ.ศ. 2555 และได้ถูกจัดแสดงที่หลายแกลลอรีในเอเชีย โดยจะมีงานเลี้ยงเปิดงานนิทรรศการดังกล่าว ในวันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2560 เวลา 15:00 น.
The Altarpieces หรือจิตรกรรมบนฉากประดับแท่นบูชา เป็นการวิจารณ์เชิงศิลปะของ นที อุตกฤทธิ์ ที่มีต่อตะวันตกสมัยใหม่ เป็นงานสีเสียดสังคมสมัยใหม่และทุนนิยม และบอกเล่าความเย้ายวนของสังคมและประเพณีในท้องถิ่น งานแสดงประกอบไปด้วยภาพทั้งหมด 12 ผลงาน ผลงานเหล่านี้จะประกอบด้วยหลายแผงไม้ จัดวางเรียงแบบสองภาพต่อกัน (Diptych) สามภาพต่อกันหรือแบบมีบานพับ (Triptych หรือ Polyptych) ตามรูปแบบดั้งเดิมของศิลปะการวาดภาพเกี่ยวกับศาสนาแบบคลาสสิกที่มีกรอบภาพและการจัดวางด้วยความประณีต
นที อุตฤทธิ์ มีความสนใจภาพวาดเกี่ยวกับศาสนาของทางตะวันตกที่เกิดขึ้นจากแนวทางเฉพาะตัวของเขาในการเข้าถึงศิลปะแบบคลาสสิก "ภาพวาดของผมที่จัดแสดงในครั้งนี้ ผมนำเสนอการตีความของโลกและความเชื่อต่างๆ ที่ปรากฏในโลกตะวันตกจากมุมมองของชาวเอเชียอย่างผม" เขากล่าว
นิทรรศการ การมองโลกในแง่ดีคือเรื่องน่าขัน: จิตรกรรมบนฉากประดับแท่นบูชา The Altarpieces ได้นำมาจัดแสดงเป็นครั้งที่ 2 ณ หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย (National Gallery of Indonesia) หลังจากการแสดงครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ณ อายาล่า มิวเซียม กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และจะเดินทางไปแสดงครั้งต่อไปที่ประเทศสิงคโปร์
นที มีกำหนดเข้าร่วมพบปะพูดคุยในงานนิทรรศการ ณ ห้อง Seminar Room หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย (National Gallery of Indonesia) ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 เวลา 17ซ00 น. เป็นต้นไป
นที อุตฤทธิ์ (เกิดที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2513) ศึกษาที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ปี พ.ศ.2531 และจบการศึกษาจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ.2534 ซึ่งสถาบันทั้งสองตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผลงานของเขาเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นที่มีชื่อเสียง เช่น ผลงานที่จัดแสดงที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพฯ ควีนส์แลนด์ อาร์ต แกลลอรี และหอศิลปะสมัยใหม่ ที่บริสเบน สิงคโปร์ อาร์ต มิวเซียม ที่สิงคโปร์ รวมถึงคอลเลคชั่นของเขาเองที่ยุโรป และเอเชีย ชิ้นงานที่หลากหลายของ นที อุตฤทธิ์ นั้นมุ่งเน้นไปที่การทดลองเชื่อมต่อตรงกลางระหว่างการวาดภาพกับรูปถ่ายและประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก แสง และทัศนมิติบางอย่างที่ศิลปินเลือกที่จะใช้สร้างผลงาน มุ่งเน้นไปที่การวาดภาพที่เป็นการค้นคว้าการทำผลงานภาพใหม่ๆ ภาพที่ซับซ้อนของเขา ที่ซ่อนอุปมาที่หลากหลาย มักจะอยู่ในรูปแบบของการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม และมีการพาดพิงถึงความเป็นไปอย่างกว้างๆ ของสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ทั้งทางสังคมและการเมือง
หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย คือ สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปะและศูนย์ศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องพัฒนา พัฒนา และใช้ประโยชน์จากงานศิลปะให้เป็นสถานที่ทางวัฒนธรรมการศึกษา และการพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนเป็นตัวลางการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการชื่นชมศิลปะ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2542 ปัจจุบันอยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เยี่ยมชมที่ www.galeri-nasional.or.id
ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการแนะนำศิลปะร่วมสมัยตะวันออกเฉียงใต้สู่ประเทศมาเลเซียและในภูมิภาค ทำหน้าที่ส่งเสริมศิลปินเกิดใหม่ที่มากด้วยความสามารถและให้เป็นที่ยอมรับ แกลลอรี่นำผลงานศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มุ่งมั่นในแนวทางที่เกิดขึ้นใหม่ และสื่อที่ท้าทายความสามารถ ออกจัดแสดงโดยเป็นประจำ