กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--กองประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล ซึ่ง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จัดขึ้น โดยมี ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต รองผู้ว่าการกลุ่มบริหาร พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร และบุคลากร วว. ร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งและปลูกต้นดาวเรือง จำนวน 250 ต้น ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2560 ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
ทั้งนี้ ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 ... เป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 2- 4 ปี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L. อยู่ในวงศ์ : Compositae ชื่ออื่น : คำปูจู้หลวง (เหนือ) ดาวเรืองใหญ่ (กลาง) พอทู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : ดาวเรื่อง (Marigold) มีถิ่นกำเนินในประเทศเม็กซิโก ในประเทศไทยภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือเรียก "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ : ปัจจุบันจากผลการค้นคว้าและวิจัยพืชที่ให้สารจากธรรมชาติพบว่า ดาวเรือง เป็นพืชที่มีประโยชน์ นอกเหนือจากการใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ ทำสารไล่แมลงแล้วยังพบว่าเป็นพืชที่ให้สารเบตาแคโรทีนจากธรรมชาติโดยตรงของดอกดาวเรือง ซึ่งคุณ สมบัติของสารเบตาแคโรทีนนี้จะทำหน้าที่เป็นโปรวิตามินเอ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นแอนติออกซิแดนต์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งในตับและปอดของร่างกาย เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่มีความผั นแปรทางพันธุกรรมสูงจึงทำให้มีความแตกต่างทั้งในด้านสายพันธุ์ ปริมาณสารแคโรทีน สารแซนโทฟีลล์และชนิดพันธุ์ โดยเฉพาะในสายพัน ธุ์ดาวเรืองที่ให้สารแคโรทีนสูงจะมีค่าของสารแซนโทฟีลล์ไม่ต่ำกว่า 18 กรัมต่อกิโลกรัมของกลีบแห้งจึงจะมีผลต่อการให้วิตามินเอ ลักษณะของพันธุ์ดาวเรืองโดยเฉพาะ คือ ดอกสีส้มเข้ม กลีบใหญ่ หนา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2.5 นิ้ว จึงจะให้สารเบตาแคโร ทีนและสารแซนโทฟีลล์สูงซึ่งจะแตกต่างจากดอกดาวเรืองพื้นบ้าน และพันธุ์การค้าให้ดอกสีเหลืองที่ให้ประมาณสารต่ำ (ที่มาข้อมูลดอกดาวเรือง https://www.rspg.or.th และ https://lifestyle.campus-star.com)