กรุงเทพฯ--6 ต.ค.--ซีเคร็ท คอมมูนิเคชั่นส์
แพทย์นานาชาติ จาก 8 ประเทศทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ จีน เวียดนาม บังคลาเทศ พม่า อินเดีย และไทย จำนวนกว่า 50 คน ตบเท้าเข้างานประชุมวิชาการทางการแพทย์ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดโดย ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน ภายใต้หัวข้อ "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการฝังตัวอ่อน เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จการตั้งครรภ์ให้แก่คนไข้" โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก เปิดเผยว่า ปัจจุบันคู่สมรสยุคใหม่ประสบปัญหามีบุตรยาก ส่งผลต่อจำนวนประชากรโลก และเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด และโรคทางพันธุกรรม กลายเป็นปัญหาที่รัฐบาลแต่ละประเทศต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน
รศ. มาร์ค โบว์แมน ผู้อำนวยการแพทย์ ประธานชมรมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์จากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ในประเทศออสเตรเลียได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยากมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันพบว่าประชากรออสเตรเลียประมาณ 1 ใน 6 หรือประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ประสบปัญหาการมี บุตรยาก ซึ่งถือเป็นปัญหาระดับประเทศ และแนวโน้มในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็เป็นเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ ความเครียด และโรคทางพันธุกรรม แต่ด้วยความล้ำสมัยของเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มีการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคต่างๆ มาช่วยในกระบวนการรักษาผู้มีบุตรยาก โดยจากสถิติอัตราความสำเร็จล่าสุดพบว่า คู่แต่งงานที่อายุ 20-25 ปี จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมมีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งในอนาคตคาดหวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปช่วยรักษาคนไข้ทั่วโลก ให้ได้รับมาตรฐานการรักษาที่ดีเพื่อจะได้มีอัตราความสำเร็จที่ดีขึ้นในระยะเวลาอันใกล้
ด้าน นายศรายุธ อัสสมกร กรรมการผู้จัดการ ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. กล่าวว่า สำหรับในประเทศไทยตลาดผู้มีบุตรยากมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น แม้จะไม่ได้โตมากนัก ถ้าเทียบกับตลาดประเทศเพื่อนบ้าน แต่ตลาดกลุ่มที่มีอัตราเพิ่มมากขึ้น ที่ทุกคนคาดไม่ถึงกันคือกลุ่มของคนไข้ที่มาด้วยปัญหาโรคพันธุกรรม ทุกวันนี้เราสามารถป้องกันโรคต่างๆ ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่อยากมีบุตรก็จะมีความกังวลกับความ
เสี่ยงต่างๆ ของบุตรที่กำลังจะเกิดมา ซึ่งตลาดส่วนนี้ถือว่าเป็นตลาดกลุ่มใหญ่มากและนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และด้วยศูนย์ฯ เราเองถือเป็น HUB ของเอเชีย ที่ป้องกันคู่สมรสที่มีความเสี่ยงที่จะถ่ายทอดพันธุกรรมไปสู่ลูก ด้วยเทคนิคที่มีเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย ที่สามารถนำเทคโนโลยีระหว่างการตรวจ PCR ซึ่งก็คือการตรวจยีนและ NGS เป็นการตรวจโครโมโซม มาใช้ร่วมกันได้ จึงทำให้แพทย์จากหลายๆ ประเทศให้ความสนใจและเข้ามาศึกษา ผนวกกับอัตราความสำเร็จของเรา ช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเป็นอัตราความสำเร็จระดับสากล ที่มีอัตราความสำเร็จสูงถึง 70% ซึ่งถือเป็นตัวเลขระดับสากล จึงยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่แพทย์นานาชาติในการให้ความร่วมมือและร่วมพัฒนาปัญหาการมีบุตรและปัญหาด้านโรคทางพันธุกรรมโดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง