กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
เกษตรกรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพยุคไทยแลนด์ 4.0 ของเด็กไทยในอนาคต การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การสร้างตราสินค้า(แบรนด์)ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจึงเข้ามามีบทบาทสาคัญต่อ การสื่อสารถึงผู้บริโภค
อาจารย์นคร เผือกนาผล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย รักษาราชการแทนคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะราชาผลไม้อย่างทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวจันท์ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ "Value–Based Economy" หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรม" ฐานคิดหลักคือ เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี เกษตรกรต้องร่ารวยขึ้นและเป็นเกษตรกร แบบผู้ประกอบการ ดังนั้น การสร้างตราสินค้า (แบรนด์) จึงเป็นสิ่งสาคัญต่อกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด ที่จะต้องสร้างคุณค่าสร้างความแตกต่างของตราสินค้าให้เหนือคู่แข่ง กระบวนการนี้จะเป็นการพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของเกษตรไทย ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตร สมัยใหม่
โดยประมาณการผลผลิตการส่งออกทุเรียนของจังหวัดจันทบุรีในปี 2560 อยู่ที่ 281,393 ตัน พันธุ์ที่มีประมาณการผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากที่สุดคือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุม ตามลาดับ
นั่นคือที่มาของการจัดกิจกรรม "Brand Building ทุเรียนจันท์ 4.0" โดยนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน กลุ่มวิชาการประชาสัมพันธ์ ชั้นปีที่ 4 ซึ่งได้ตระหนักและเห็นถึงคุณค่าความสาคัญใน การสร้างตราสินค้าผลผลิตทางการเกษตรไทย ซึ่งจะเป็นโอกาสและแนวทางในการพัฒนาตราสินค้าแบรนด์ ธุรกิจที่สามารถนามาใช้ได้จริงยุคไทยแลนด์ 4.0