บริษัทสยามดนตรียามาฮ่า แนะนำยามาฮ่าโฮมเธียร์เตอร์

ข่าวทั่วไป Monday July 10, 2000 15:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.ค.--สยามดนตรียามาฮ่า
สาระน่ารู้เกี่ยวกับยามาฮ่าโฮมเธียเตอร์
ยามาฮ่าโฮมเธียเตอร์
ก่อนอื่นมารู้จักศัพท์คำว่า ซาวด์ฟิลด์ (Sound Field) คือ ลักษณะแอคคูสติก หรือการสะท้อนของเสียงในแต่ละสถานที่ ซึ่งการสะท้อนของเสียงที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานที่จะประกอบไปด้วย
เสียงตรง (Direct Sound) คือ เสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิด ซึ่งจะมีความดังที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด ก่อนเข้าหูผู้ฟัง
เออร์ลี่รีเฟลกชั่น (Early Reflection) คือ เสียงที่ผ่านการสะท้อนจากกำแพงหรือเพดาน 1 ครั้ง จะมีความดังรองจากเสียงตรง และใช้เวลารองลงมา
เลทรีเวอเบอเรชั่น (Late Reverberations) คือ เสียงที่ผ่านการสะท้อนหลายครั้ง หรือเสียงก้อง (Echo) จะเป็นเสียงเบาที่สุด และใช้เวลานานที่สุด
ดังนั้นซาวด์ฟิลด์ ก็คือลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานที่ ซึ่งขนาดและลักษณะของแต่ละสถานที่ก็มีผลให้ซาวด์ฟิลด์แตกต่างกันไป ยามาฮ่าได้ค้นคว้าหาวิธีการคำนวณซาวด์ฟิลด์ และได้ส่งทีมวิศวกรไปทำการคำนวณค่าซาวด์ฟิลด์ที่แน่นอนของแต่ละสถานที่ โดยใช้วิธีทางคอมพิวเตอร์ และนี้คือต้นกำเนิดระบบโฮมเธียเตอร์ของยามาฮ่า
สีแดง: Direct Sound สีฟ้า: Early Reflection
ดิจิตอลซาวด์ฟิลด์โปรเซสซิ่ง (Digital Sound Field Processing : DSP)
เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยยามาฮ่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 โดยการเก็บข้อมูลลักษณะทางแอคคูสติก หรือการสะท้อนของเสียงของสถานที่มีชื่อเสียงทางดนตรีทั่วโลก เช่น Bottom Line แจ๊สคลับที่นิวยอร์ค, Roxy Theater โรงละครที่แอลเอ, Concert Hall ในยุโรป, Royaumont Cathedral ในกรุงปารีส เป็นต้น โดยใช้เครื่องมือพิเศษ เรียกว่า ซิงเกิ้ลพ้อยท์ควอตไมค์กิ้ง (Single Point Quad Miking) ประกอบด้วยไมโครโฟน 4 ตัววางเรียงใกล้กัน และทำงานเหมือนหูของมนุษย์ ทำการวัดลักษณะแอคคูสติกของแต่ละสถานที่ต่าง ๆ อย่างแม่นยำ และเก็บข้อมูลซาวด์ฟิลด์ดังกล่าวลงในคอมพิวเตอร์ชิพ หรือ แอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit :LSI) ซึ่งชิพดังกล่าว จะมีอยู่ในแอมป์และรีซีฟเวอร์โฮมเธียเตอร์ของยามาฮ่าทุกรุ่น
Single Point Quad Miking LSI (Large Scale Intergrated Circuit)
โรงภาพยนตร์จริงและโรงภาพยนตร์ในบ้าน
ข้อแตกต่างที่เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ โรงภาพยนตร์จริงมีขนาดของห้องใหญ่กว่า แต่เสียงสะท้อน และเสียงก้องมีความกังวานต่ำที่สุด ที่ทำให้พื้นที่ทุก ๆ แห่งได้รับคุณภาพเสียงที่เท่าเทียมกัน และจำนวนลำโพงขนาดใหญ่ที่วางล้อมรอบผู้ชม งานของระบบโฮมเธียเตอร์ คือ การเอาชนะ ความแตกต่างขององค์ประกอบทางกายภาพและทางแอคคูสติกของห้องในบ้าน ทำให้ผู้ชมสามารถ ได้รับมิติเสียงของโรงภาพยนตร์คุณภาพในบ้าน
จากโรงภาพยนตร์ สู่บ้านของท่าน
ยามาฮ่าซีนีมาดีเอสพี
ระบบโฮมเธียเตอร์ในบ้านที่จริงเริ่มมาจากระบบ Dolby Pro-Logic ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ระบบนี้ ออกแบบมาเพื่อความบันเทิงภายในบ้านประกอบด้วยช่องสัญญาณเสียง เมนซ้าย/ขวา, กลาง, และเอฟเฟคคู่หลัง ลักษณะมิติเสียงของระบบนี้ซาวด์ฟิลด์ด้านหน้ามีการแยกสัญญาณเสียงที่ชัดเจนแต่มิติเสียงของซาวด์ฟิลด์หลังค่อนข้างแคบ
ระบบซีนีมาดีเอสพีของยามาฮ่า เป็นเทคโนโลยีที่ได้คิดค้นพัฒนา เพื่อให้การชมภาพยนตร์ในบ้าน ได้มิติเสียงสมจริงสมจังในระดับเดียวกับที่ผู้กำกับและวิศวกรเสียงต้องการ โดยการนำวงจรดอลบี้โปรโลจิกรวมเข้ากับระบบดีเอสพีของยามาฮ่าผลที่ได้ คือ เสียงพูดของบทสนทนาจะออกมาจากจอและสัมพันธ์กับภาพ, เสียงเอฟเฟคและดนตรีจะโอบล้อมเสียงพูดตามลำดับ, ซาวด์ฟิลด์ ด้านหลังใหญ่ขึ้น, และมีการโอบล้อมของเสียงมากขึ้น ทำให้รู้สึกเสมือนมีลำโพงเอฟเฟคหลังจำนวนมากล้อมรอบผู้ฟัง ผลที่ได้คือ มิติเสียงของโรงภาพยนตร์ในคุณภาพระดับเดียวกับที่ผู้กำกับตั้งใจไว้
ไตรฟิลด์ซีนีมาดีเอสพี
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ได้เกิดระบบเสียงดิจิตอลใหม่สำหรับโรงภาพยนตร์ขึ้น 2 แบบ คือ ดอลบี้ดิจิตอล และระบบ ดีทีเอส ซึ่งให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าระบบดอลบี้โปรโลจิก โดยเฉพาะความสมจริงของระบบ การแยกสัญญาณเสียงแต่ละช่องอย่างอิสระและไดนามิกเรนจ์ที่ใหญ่กว่ามาก เสียงที่ดีขึ้นนี้เป็นการ เน้นให้เห็นจุดอ่อนของระบบชมภาพยนตร์ภายในบ้าน ซึ่งมีซาวด์ฟิลด์ที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับโรงภาพยนตร์จริง วิศวกรของยามาฮ่าได้พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยใช้ระบบซีนีมาดีเอสพีแบบใหม่ เรียกว่า “ไตรฟิลด์ซีนีมาดีเอสพี (Tri-Field Cinema DSP)” คือ การนำระบบดอลบี้ดิจิตอล หรือระบบดีทีเอสรวมเข้ากับระบบซีนีมาดีเอสพีของยามาฮ่า ระบบมหัศจรรย์นี้สามารถทดแทนความแตกต่างทางแอคคูสติกของมิติเสียงและจำนวนของลำโพง เอฟเฟคหลังที่แตกต่างกันระหว่างโรงภาพยนตร์จริงกับห้องชมภาพยนตร์ในบ้าน โดยระบบนี้จะให้มิติเสียงซาวด์ฟิลด์ 3 ส่วนเข้าสู่ห้องชมภาพยนตร์ในบ้านประกอบด้วย
ซาวด์ฟิลด์ด้านหน้า ซึ่งจะโอบล้อมเสียงพูด, เอฟเฟค, และดนตรีตามลำดับ,
ซาวด์ฟิลด์ด้านหลังซ้ายและขวา เป็นแบบสเตอริโอแยกอิสระสร้างสภาวะแวดล้อม ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดมิติเสียงแบบ 3 มิติที่มีพลัง และสมจริง
ข้อดีของระบบซีนีมาดีเอสพีซึ่งมีอยู่ในแอมป์และรีซีฟเวอร์โฮมเธียเตอร์ของยามาฮ่าทุกรุ่น คือ สามารถใช้ได้กับห้องภายในบ้านทุกรูปแบบ เสียงที่เกิดขึ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางแอคคูสติกของห้องนั้นๆ เพราะกระบวนการทั้งหมดได้ถูกจัดการอย่างหมดจดด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ที่เยี่ยมยอดโดยไม่ได้ใช้ผนังทั้งด้านข้างหรือด้านหลังมาสะท้อนเสียงแต่อย่างใด
ส่วนระบบอื่น ๆ นั้น แม้จะให้เสียงที่ดีก็จริง แต่ผู้ชมก็ยังมีความรู้สึกว่ากำลังชมภาพยนตร์จากจอโทรทัศน์อยู่ แต่ด้วยระบบไตรฟิลด์ซีนีมาดีเอสพี ผู้ชมจะมีความรู้สึกเสมือนอยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นจริงๆ
หากท่านมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับชุดโฮมเธียร์เตอร์ โปรดสอบถามได้ที่ somboon@yamaha.co.th หรือผู้แทนจำหน่ายเครื่องเสียงยามาฮ่า ทั่วประเทศ--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ