NIDA Poll การปรับ ครม. ประยุทธ์ 5

ข่าวทั่วไป Tuesday November 14, 2017 16:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ""นิด้าโพล"" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ""การปรับ ครม. ประยุทธ์ 5"" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 พฤศจิกายน 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปรับ ครม. ประยุทธ์ 5 การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ""นิด้าโพล"" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ปลายปี 2561 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.11 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันยังทำงานและแก้ไขปัญหาได้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ประชาชนอยากเห็นคนใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งเข้ามาทำงาน มีวิสัยทัศน์หรือนโยบายใหม่ ๆ มาใช้ในการบริหารประเทศ ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 16.71 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไข ปัญหาของประเทศ หากมีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้งจะทำให้หลาย ๆ นโยบายหรือโครงการต่าง ๆ ไม่ต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดความวุ่นวาย และความขัดแย้งในบ้านเมือง บางส่วนระบุว่า คณะรัฐมนตรีชุดนี้ทำงานได้ดีอยู่แล้ว และร้อยละ 15.19 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกระทรวงที่ต้องการให้มีการสลับสับเปลี่ยนการทำงานของคณะรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 20.38 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองลงมา ร้อยละ 16.07 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 7.27 ระบุว่า กระทรวงการคลัง ร้อยละ 6.08 ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 5.60 ระบุว่า ไม่ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 5.20 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 4.40 ระบุว่า กระทรวงแรงงาน ร้อยละ 3.44 ระบุว่า กระทรวงกลาโหม ร้อยละ 2.32 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.08 ระบุว่า กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 2.00 ระบุว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 1.84 ระบุว่า กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.20 ระบุว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 0.96 ระบุว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 0.08 ระบุว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 2.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการให้สลับสับเปลี่ยนการทำงาน ของคณะรัฐมนตรีทั้งหมด และร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงเรื่องที่ประชาชนอยากพัฒนาหรือแก้ไขในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ปลายปี 2561 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.28 ระบุว่า ด้านเศรษฐกิจ รองลงมา ร้อยละ 31.12 ระบุว่า สวัสดิการของประชาชน ความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 30.24 ระบุว่า ด้านการเกษตร ร้อยละ 15.28 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 13.76 ระบุว่า ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ร้อยละ 12.08 ระบุว่า ด้านระบบการศึกษา ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 7.68 ระบุว่า การปฏิรูปประเทศ การแก้ไขกฎหมาย ร้อยละ 3.20 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ด้านการคมนาคม การจราจร การท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข การแพทย์ ด้านศาสนา และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 2.64 ระบุว่า ไม่มีปัญหาใดที่ต้องแก้ไข เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.07 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 27.34 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและ ภาคกลาง ร้อยละ 17.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.21 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 14.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 55.72 เป็นเพศชาย และร้อยละ 44.28 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.92 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 15.91 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.10 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.61 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.50 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.96 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.65 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 2.64 นับถือศาสนาอิสลาม ตัวอย่างร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 4.00 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 22.14 ระบุว่า สถานภาพโสด ร้อยละ 69.86 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.92 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.08 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 28.46 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.42 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.35 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.62 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.55 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.60 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.51 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.91 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.86ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.47 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.67 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.00 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 11.91ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.02 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.26 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.52 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.47 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 14.87 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ