กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--เวิรฟ
หัวเว่ย ผนึก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พัฒนาการศึกษาในเอเชียแปซิฟิกสู่ยุคใหม่ด้วยการจัดสุดยอดการประชุมด้านการศึกษาระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ""Huawei Asia Pacific Education Summit 2017"" ครั้งแรกในไทย ภายใต้แนวคิด ""Leading New ICT, The Road to Smart Education"" ประกาศวิสัยทัศน์ในการสร้าง ""ระบบการศึกษาอัจฉริยะ (Smart Education)"" ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศล่าสุด ไม่ว่าจะเป็น SDN Converged Campus Network Solution, Campus Cloud Data Center Solution, HPC Solution และ Smart Classroom for Equal Education พร้อมยกเคส ""SDN & Cloud Computing Center"" ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังให้เป็นระบบเครือข่ายไอซีทีสำหรับสถานศึกษาที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งแรกในโลก และเป็นกรณีตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่หัวเว่ยต้องการนำเสนอสู่ระดับสากล
มร. เอิร์นเนส จาง ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ""เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อการศึกษาแบบเดิมๆ การศึกษาในปัจจุบันนี้ไร้พรมแดนในด้านของเวลาและสถานที่ และมีโอกาสมากมายในการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่และเป็นหัวข้อย่อย เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Cloud, Big Data และ Internet of Things ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในภาคการศึกษา ทำให้เกิดความหลากหลายในการศึกษา การจัดการ และคุณภาพของการศึกษาที่ดีขึ้น ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโลก หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในแนวคิด ""การศึกษาที่เชื่อมโยงเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา แบ่งปันทรัพยากรด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ"" แนวคิดนี้เป็นพันธกิจของหัวเว่ยในด้านการศึกษา ซึ่งก็คือการ ""ทำลายกำแพงด้านการศึกษา เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษา เพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน และพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษา""
หัวเว่ย ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก ต้องการจะเปลี่ยนโลกแห่งการศึกษาและอุตสาหกรรมการศึกษา ก้าวสู่ Smart Education ผ่านกลยุทธ์ ""Platform + Ecosystem"" หัวเว่ยเน้นในด้านโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ และร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อสร้างบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร และส่งเสริมการพัฒนาผู้มีศักยภาพด้านนวัตกรรม โดยหัวเว่ยได้เปิดตัวโอเพ่นแล็บ (OpenLab) อย่างเป็นทางการในกรุงเทพฯ ปัจจุบันนี้ สจล. เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่มีส่วนร่วมในศูนย์นวัตกรรมร่วม ณ โอเพ่นแล็บ แห่งนี้ในการพัฒนาโครงการ Smart City Startup ในแต่ละปี โอเพ่นแล็บที่กรุงเทพสามารถฝึกอบรมคนได้กว่า 800 คนต่อครั้ง และมอบประกาศนียบัตรวิชาชีพให้แก่บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ 500 คน ในปี 2018 หัวเว่ยจะสร้างโอเพ่นแล็บอีกแห่งในประเทศอินเดีย
ปัจจุบันหัวเว่ยได้ให้บริการโซลูชั่นแก่มหาวิทยาลัย 600 แห่งจาก 70 ประเทศทั่วโลก และยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบทุนการศึกษาและโครงการฝึกงานให้กับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาบุคลากร โครงการ ""Seeds for the future"" ของหัวเว่ยเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยกว่า 200 แห่งใน 78 ประเทศ มีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 20,000 คน ในประเทศไทย บุคลากรนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการก้าวสู่ Thailand 4.0 และในฐานะบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หัวเว่ยได้สร้างงานกว่า 10,000 ตำแหน่งในประเทศไทยในปี 2016 ซึ่งมากกว่าในปี 2015 เกือบเท่าตัว และใน 10 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ฝึกอบรมคนไปกว่า 35,000 คนในประเทศไทย
""Huawei Asia Pacific Education Summit 2017"" เป็นเวทีแสดงศักยภาพและนวัตกรรมไฮไลท์ ได้แก่ SDN Converged Campus Network Solution, Campus Cloud Data Center Solution, HPC Solution และ Smart Classroom for Equal Education โดยเป็นสุดยอดการประชุมด้านการศึกษาระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่เชิญผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการศึกษาระดับโลกมาร่วมกันอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีด้านการศึกษา และแลกเปลี่ยนกันถึงอนาคตของ Digital Transformation ในอุตสาหกรรมการศึกษาของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยปีนี้จัดขึ้นในเมืองไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งไฮไลท์ของงานประชุมในปีนี้คือการเปิดตัว SDN-based 100G Converged Campus Network แห่งแรกในโลกที่ตั้งอยู่ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดเกล้าลาดกระบัง นับว่าเป็นก้าวสำคัญของหัวเว่ยและเป็นไซต์ที่ล้ำสมัยที่สุดที่หัวเว่ยเคยสร้าง ซึ่งได้เปิดตัวผ่านการถ่ายทอดสดส่งตรงมาจากสจล. เข้าสู่เวทีงานประชุม
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)กล่าวว่า ""SDN & Cloud Computing Center ของสจล. เป็นก้าวแรกของวงการการศึกษาไทยที่ยกเครื่องระบบโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในรั้วมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนและการทำงานของมหาวิทยาลัยในอนาคต ประกอบไปด้วย 100G Based Campus Core Network ระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลที่ความเร็ว 100 กิกะบิตต่อวินาที SDN (Software-defined network) for Campus and Data Center Convergence คือระบบเครือข่ายที่รวมความเป็น Data Center เข้ากับ Campus Network เพื่อผู้ดูแลเครือข่ายสามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น Educational Cloud Data Center in Container ศูนย์ข้อมูลจัดเก็บแบบบูรณาการในตู้คอนเทนเนอร์ที่เคลื่อนที่ได้ การทำงานมีเสถียรภาพและปลอดภัยสูง เริ่มใช้งานได้รวดเร็ว ย้ายตำแหน่งได้ง่าย ประหยัดพลังงานและมีค่าใช้จ่ายต่ำ WiFi coverage with whole campus Free Mobility เครือข่าย WiFi ที่เชื่อมต่อได้ถึงระดับกิกะบิตต่อวินาทีครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัยถึง 3,000 จุด ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจของสจล. ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนของไทยไปสู่ยุค Education 4.0 ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมแบบดิจิทัลที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการทำงานของคณาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล""
""SDN & Cloud Computing Center ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูกค้าของเราในเอเชียแปซิฟิกที่อยากเห็นศักยภาพของหัวเว่ยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับแวดวงการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เราเจาะตลาดเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยอื่นๆ สามารถใช้สถาบันแห่งนี้เป็นตัวอย่างเพื่อปรับใช้กับสถาบันของตนเองได้เพื่อพัฒนาสู่ยุคดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ เรายังเสริมสร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรด้านการศึกษาเพื่อเผชิญหน้าความท้าทายในยุคดิจิทัล และช่วยผลักดันการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของการศึกษา"" มร.เอิร์นเนส กล่าว