กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เอมไพร์ทาวเวอร์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผุ้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำทีมรองผู้อำนวยการทั้ง 4 คน เปิดเวทีทอล์คโชว์ เป็นครั้งแรกในงาน ""DEPA: Digital Transformation Thailand"" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดวิสัยทัศน์และประกาศตัวเพื่อเป็นองค์กรยุคใหม่ ในการใช้ดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยภายในงานได้มีการเชิญหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สมาคม กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี รวมไปถึงเครือข่ายพันธมิตร และองค์กรผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมกันฟังแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานฯ ในปี 2561 รวมถึงโครงการสำคัญ (Mega Project) ที่ได้ร่วมส่งเสริมและสนับสนุน การเดินหน้าของประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า ดีป้าเกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างด้านเศรษฐกิจและ สังคม ตามแนวคิดทำน้อยได้มากในการส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน รวมไปถึงเวลาที่ใช้ในการทำงานน้อยกว่าเดิมแต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบกงล้อของเศรษฐกิจดิจิทัลสามารถรุดหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
""ดีป้าพร้อมแล้วกับการเป็นองค์กรภาครัฐยุคใหม่ หรือ e-government ที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างคุณค่าสู่สังคมไทย เพื่อขับเคลื่อนกงล้อที่เรียกว่า Digital Ecosystem ให้มีความแข็งแกร่ง และสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง มาลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีองค์ความรู้สมัยใหม่เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ในชุมชน จากความเชี่ยวชาญของดีป้าเองในอุตสาหกรรมทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและกำลังคนดิจิทัล ด้านโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม รวมไปถึงด้านยุทธศาสตร์และบริหาร ผนวกเข้ากับกับความเป็นอิสระในการค้นหาโซลูชั่นที่จะมาแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มสตาร์ทอัพ หรือเอสเอ็มอี รุ่นใหม่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่เข้ามาจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เราพร้อมแล้วที่จะส่งมอบคุณค่าเหล่านี้ในทุกมิติของสังคมไทย"" ดร.ณัฐพล กล่าว
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า จากคำถามที่ว่าทำไมประเทศไทยยังเป็น Digital Innovation Hub ไม่ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยซึ่งเป็นความท้าทายที่ต้องก้าวผ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกฎระเบียบ หรือข้อจำกัดทางด้านเงินทุน และเป็นโจทย์ที่ดีป้ามุ่งมั่นที่จะแก้ไข ทั้งการสร้างการจับคู่ธุรกิจ ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการดิจิทัลและกลุ่มผู้ใช้งานที่เข้าข่าย การส่งเสริมด้านเงินทุนให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาไอเดียผลงานออกสู่ตลาดได้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนตัวเลขเศรษฐกิจให้สามารถหมุนพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการสร้าง
Digital Ecosystem ที่แข็งแกร่งให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อีกด้วย
ดร. รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล กล่าวว่า ปัญหาที่หลายองค์กรเจอคล้ายๆ กัน คือเรื่องการสร้างคน ซึ่งดีป้าในฐานะหน่วยงานหนึ่งของภาครัฐ ที่มีพันธกิจหลายประการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และหนึ่งในนั้น ก็คือการสร้างบุคลากรในประเทศให้พร้อมสำหรับการพลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัลหรือ Digital Transformation โดยมองว่าการสร้างความเข้าใจให้กับธุรกิจดิจิทัลในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และบุคคลทั่วไปให้เข้าใจในบริบทดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และพร้อมให้การสนับสนุน พัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเพื่อสร้างขุมกำลังคนพันธุ์ดิจิทัลสายเลือดใหม่ ป้อนสู่อุตสาหกรรม และการใช้ ""ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำ"" คือการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม32ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโอกาสทางการศึกษา โอกาสในการทำงาน โดยให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนให้สูงขึ้นกว่าเดิม32
ด้าน ดร. ภาสภร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มงานศูนย์ดิจิทัลและนวัตกรรม กล่าวว่า คงไม่เกินเลยไปนัก หากดีป้าจะบอกว่าเมืองไหน ๆ ก็สามารถสมาร์ทดได้ภายใต้แนวคิด ""Smart City คู่หลักธรรมแบบพอเพียง สู่ความยั่งยืน"" โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 77 พื้นที่ใน 77 จังหวัดเป็น Smart City ภายใน 5 ปี แก้ปัญหาจากรากฐาน จากความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของของภาคประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการของเมือง ร่วมกันสร้างแบบประชารัฐ บูรณาการทั้งคนและข้อมูล สู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม แก้ไขปัญหาได้ตรงตามเป้าอย่างคุ้มค่า
ขณะที่ ดร. กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และบริหาร มองว่า โครงการและนโยบายแผนงานต่าง ๆ ในแต่ละด้านจะไม่สามารถบรรลุผลได้เลย หากปราศจากกลยุทธ์ ที่ดีมาเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้แผนงานเหล่านั้นสามารถดำเนินไปในแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งดีป้าเองมีแนวทางที่เป็นแนวทางปฏิบัติ และมีการกำหนดเป้าหมายในแผนงานให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงานได้จริง ตลอดจนการขยายกรอบความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด""ดีป้า"" ออกตัวแรง ประกาศพร้อมเป็นองค์กรยุคใหม่ นำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ลดเหลื่อมล้ำทางสังคม ตั้งเป้าปั้นคนพันธุ์ดิจิทัลป้อนอุตสาหกรรม ปูพรมสร้างสมาร์ทซิตี้ 77 จังหวัด ภายใน 5 ปี
เอมไพร์ทาวเวอร์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผุ้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำทีมรองผู้อำนวยการทั้ง 4 คน เปิดเวทีทอล์คโชว์ เป็นครั้งแรกในงาน ""DEPA: Digital Transformation Thailand"" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดวิสัยทัศน์และประกาศตัวเพื่อเป็นองค์กรยุคใหม่ ในการใช้ดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยภายในงานได้มีการเชิญหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สมาคม กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี รวมไปถึงเครือข่ายพันธมิตร และองค์กรผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมกันฟังแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานฯ ในปี 2561 รวมถึงโครงการสำคัญ (Mega Project) ที่ได้ร่วมส่งเสริมและสนับสนุน การเดินหน้าของประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า ดีป้าเกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างด้านเศรษฐกิจและ สังคม ตามแนวคิดทำน้อยได้มากในการส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน รวมไปถึงเวลาที่ใช้ในการทำงานน้อยกว่าเดิมแต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบกงล้อของเศรษฐกิจดิจิทัลสามารถรุดหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
""ดีป้าพร้อมแล้วกับการเป็นองค์กรภาครัฐยุคใหม่ หรือ e-government ที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างคุณค่าสู่สังคมไทย เพื่อขับเคลื่อนกงล้อที่เรียกว่า Digital Ecosystem ให้มีความแข็งแกร่ง และสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง มาลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีองค์ความรู้สมัยใหม่เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ในชุมชน จากความเชี่ยวชาญของดีป้าเองในอุตสาหกรรมทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและกำลังคนดิจิทัล ด้านโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม รวมไปถึงด้านยุทธศาสตร์และบริหาร ผนวกเข้ากับกับความเป็นอิสระในการค้นหาโซลูชั่นที่จะมาแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของ กลุ่มสตาร์ทอัพ หรือเอสเอ็มอี รุ่นใหม่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่เข้ามาจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เราพร้อมแล้วที่จะส่งมอบคุณค่าเหล่านี้ในทุกมิติของสังคมไทย"" ดร.ณัฐพล กล่าว
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า จากคำถามที่ว่าทำไมประเทศไทยยังเป็น Digital Innovation Hub ไม่ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยซึ่งเป็นความท้าทายที่ต้องก้าวผ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกฎระเบียบ หรือข้อจำกัดทางด้านเงินทุน และเป็นโจทย์ที่ดีป้ามุ่งมั่นที่จะแก้ไข ทั้งการสร้างการจับคู่ธุรกิจ ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการดิจิทัลและกลุ่มผู้ใช้งานที่เข้าข่าย การส่งเสริมด้านเงินทุนให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาไอเดียผลงานออกสู่ตลาดได้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนตัวเลขเศรษฐกิจให้สามารถหมุนพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการสร้าง
Digital Ecosystem ที่แข็งแกร่งให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อีกด้วย
ดร. รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล กล่าวว่า ปัญหาที่หลายองค์กรเจอคล้ายๆ กัน คือเรื่องการสร้างคน ซึ่งดีป้าในฐานะหน่วยงานหนึ่งของภาครัฐ ที่มีพันธกิจหลายประการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และหนึ่งในนั้น ก็คือการสร้างบุคลากรในประเทศให้พร้อมสำหรับการพลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัลหรือ Digital Transformation โดยมองว่าการสร้างความเข้าใจให้กับธุรกิจดิจิทัลในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และบุคคลทั่วไปให้เข้าใจในบริบทดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และพร้อมให้การสนับสนุน พัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเพื่อสร้างขุมกำลังคนพันธุ์ดิจิทัลสายเลือดใหม่ ป้อนสู่อุตสาหกรรม และการใช้ ""ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำ"" คือการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม32ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโอกาสทางการศึกษา โอกาสในการทำงาน โดยให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนให้สูงขึ้นกว่าเดิม32
ด้าน ดร. ภาสภร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มงานศูนย์ดิจิทัลและนวัตกรรม กล่าวว่า คงไม่เกินเลยไปนัก หากดีป้าจะบอกว่าเมืองไหน ๆ ก็สามารถสมาร์ทดได้ภายใต้แนวคิด ""Smart City คู่หลักธรรมแบบพอเพียง สู่ความยั่งยืน"" โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 77 พื้นที่ใน 77 จังหวัดเป็น Smart City ภายใน 5 ปี แก้ปัญหาจากรากฐาน จากความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของของภาคประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการของเมือง ร่วมกันสร้างแบบประชารัฐ บูรณาการทั้งคนและข้อมูล สู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม แก้ไขปัญหาได้ตรงตามเป้าอย่างคุ้มค่า
ขณะที่ ดร. กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการฯ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และบริหาร มองว่า โครงการและนโยบายแผนงานต่าง ๆ ในแต่ละด้านจะไม่สามารถบรรลุผลได้เลย หากปราศจากกลยุทธ์ ที่ดีมาเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้แผนงานเหล่านั้นสามารถดำเนินไปในแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งดีป้าเองมีแนวทางที่เป็นแนวทางปฏิบัติ และมีการกำหนดเป้าหมายในแผนงานให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงานได้จริง ตลอดจนการขยายกรอบความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด