กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--เจเอ็ม คาตาลิสท์
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย หรือ "Aging Society" โดยประชากรกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขี้น32 ด้วยหลายๆ ปัจจัย ทั้งอัตราการเกิดของประชากรที่น้อยลง ครอบครัวมีขนาดเล็กลง คนหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น วิวัฒนาการทางการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้นทำให้คนอายุยืนขึ้น ดังนั้นการที่จะคิดค้นสินค้า หรือบริการขึ้นเพื่อตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้กลุ่มผู้สูงวัยนี้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เป็นเทรนด์ที่มีการพูดถึงมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
32 จากสถิติประชากรโลก องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2643 เป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โดยจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้านประเทศไทยเองก็เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2560 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ประเมินว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้วยการสร้างความเข้าใจกับคนกลุ่มดังกล่าว
จากสถิติที่เกิดขึ้น ทำให้พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยผู้บริโภคยุค 4.0 ที่เป็นกลุ่มผู้สูงวัย ถือเป็นกลุ่มที่สนใจและใช้เทคโนโลยีจากสื่อ Social media เป็นประจำ ผลวิจัยของ Kantar TNS ระบุว่าผู้บริโภคอายุ 55-64 ปี ครอบครองอุปกรณ์ Digital Device เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1.8 เครื่องต่อคน โดย 85% เป็นมือถือ 9% เป็นแทบเล็ต32 และ 7% เป็นพีซี โดยใช้เวลาถึง 41% ในการรับสื่อดิจิทัล โดยใช้เวลากับสื่อออนไลน์เฉลี่ย 2-3 ชั่วโมง ต่อวัน32
สำหรับกิจกรรมที่ได้รับความนิยมของกลุ่มนี้คือการส่งข้อความ หรือแชร์คอนเทนท์ผ่านไลน์ สาเหตุที่กลุ่มผู้สูงวัยสนใจและให้ความสำคัญกับกิจกรรมดิจิทัล อาจสรุปได้คือ มีเวลาและกำลังซื้อ, สนุกกับการเรียนรู้ และได้ยินได้ฟังสิ่งใหม่ๆ ทำให้รู้สึกว่า ตัวเองมีความร่วมสมัย ทันเหตุการณ์ อยู่ตลอดเวลารวมถึงภาคภูมิใจ หากเป็นคนแรกๆ ที่รู้ และได้แชร์ให้กับกลุ่มเพื่อนๆ, ต้องการลดช่องว่างกับลูกหลาน โดยใช้สื่อเดียวกัน พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน ทำให้ไม่รู้สึกห่างเหิน, เป็นสื่อกลางที่ใช้เชื่อมโยงกับกลุ่มเพื่อนๆ การเริ่มใช้สมาร์ทโฟนหรือการใช้โซเชียล มีเดีย มักมีอิทธิพลมาจากกลุ่มเพื่อนโดยจะมี Opinion leader ที่เริ่มใช้ก่อน และนำมาเผยแพร่ จนกลายเป็น วัฒนธรรมกลุ่มในที่สุด32โดยสรุป กลุ่มผู้สูงอายุนี้ ต้องการเทคโนโลยีมาช่วยให้รู้สึกว่า ยังไม่แก่ และมีความทันสมัย สำหรับ "แพลตฟอร์ม" ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้สูงอายุ ถ้าเป็น วีดิโอ ก็ต้อง "ยูทูบ" หากเป็น Chat ก็คือ "ไลน์" ถ้าจะ Update และ share ก็คือ "เฟซบุ๊ค"
นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท เจเอ็ม คาตาลิสท์ จำกัด
องค์กรให้คำปรึกษาด้านการสื่อสารและภาพลักษณ์แก่องค์กรชั้นนำ ผู้คิดค้นและพัฒนา "อาวุโส โซไซตี้" บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุค และไลน์แอด ให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า "การแชร์คอนเทนต์ของกลุ่มผู้สูงอายุมีปริมาณมาก และรวดเร็ว ในขณะที่การคัดกรองความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีจำกัด32
สิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้สูงอายุอาจตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จ หรือข่าวลวงต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะหากเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพ หรือการชวนเชื่อให้ทำกิจกรรมต่างๆ และผู้สูงอายุอาจทำตามโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทางบริษ้ท เล็งเห็นถึงช่องว่างทางสังคมตรงจุดนี้ และตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลเสียมหาศาลในอนาคต จึงคิดหาโซลูชั่นที่จะมาอุดช่องโหว่ พร้อมๆ กับการตอบโจทย์ของกลุ่มผู้สูงอายุนี้ จึงได้พัฒนา คิดค้น 'อาวุโส โซไซตี้' ขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าวในสังคม
การเริ่มต้นในการทำ 'อาวุโส โซไซตี้' นับเป็นความท้าทายตนเอง และทีมงาน เนื่องจากเราต้องศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรม ต้องปรับตัว ลงลึกไปถึงกระบวนการทางความคิด เนื่องจากผู้สูงอายุมีวิธีคิดไม่เหมือนกลุ่มอื่น เราจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูล, สินค้าหรือบริการที่ช่วยเหลือ หรือ "คลายความกังวล" ให้คนกลุ่มนี้ รวมถึงเรื่องที่ผู้สูงอายุอยากรู้ แต่ไม่กล้าถามลูกหลาน หรือไม่รู้จะหาข้อมูลจากที่ไหน ซึ่งหลักๆ แล้วผู้สูงอายุมีความกังวลในเรื่องไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หรือสูญเสียความสามารถ รวมถึงเรื่องความสัมพันธ์กับคนในบ้าน รวมถึงเรื่องเซ็กส์ ดังนั้น เราเข้ามาเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในด้านต่างๆ เช่น ด้านไลฟ์สไตล์ ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และด้านความสัมพันธ์32
'อาวุโส โซไซตี้' เป็นแพลตฟอร์มที่นำเสนอข้อมูลสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ นับเป็น "One Stop Contents Provider สำหรับผู้สูงอายุ" ถูกคิดค้นมาเพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน อีกทั้งเป็นสื่อกลางการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นการสร้างคุณค่า เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ สื่อสาร แสดงความรู้สึก และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสูงอายุในสังคมอย่างเป็นอิสระผ่านทาง Platform ต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุค และไลน์
'อาวุโส โซไซตี้' มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านข่าวสาร อาทิ ประเด็นร้อนต่างๆในสังคม: ที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ด้านสุขภาพ: คัดสรรข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เท่านั้น และเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในยุคปัจจุบัน,32ด้านไลฟ์สไตล์: นำเสนอคอนเทนต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุในยุคปัจจุบัน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกแห่งสังคมออนไลน์ และ Thailand 4.0 ได้อย่างมีความสุข ด้านการเงิน: แนะนำวิธีบริหารจัดการด้านการเงินและเคล็ดลับต่างๆ เพื่อให้สามารถจัดสรรด้านการเงินได้อย่างลงตัว ด้านครอบครัว: นำเสนอบทความที่แนะนำ และช่วยแก้ไขความท้าทายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจกันของคนภายในครอบครัว หรือจากความแตกต่างระหว่างวัย เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างแฮปปี้ที่สุด32
กลุ่มเป้าหมายของอาวุโส โซไซตี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้สูงวัยที่ต้องการหาข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ รวมทั้งข้อมูลที่ไม่กล้าถามผู้อื่น 2) กลุ่มลูกหลาน ที่ต้องการศึกษาเรื่องราวต่างๆ เพื่อนำไปดูแล และเทคแคร์ผู้สูงอายุใกล้ตัวได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการจะส่งผ่านข้อมูลให้ทั้งสองกลุ่มนี้ จำเป็นต้องใช้การสื่อสารทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ ควบคู่กัน พร้อมกับการเล่าเรื่องราวผ่าน Infographic เพื่อการสร้างเข้าใจที่ชัดเจน
ศศิกานต์ กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการจัดทำ 'อาวุโส โซไซตี้' ว่า เกิดจากการที่คนใกล้ตัวได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องผ่านการแชร์ทางไลน์ ทำให้เกิดการเข้าใจผิด และก่อให้เกิดการทะเลาะกันโดยมีข่าวสารลวงเป็นต้นเหตุ ดังนั้น ตนเองซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจสื่อสารมวลชนและสื่อออนไลน์ จึงได้จัดทำแพลตฟอร์มต่างๆ ของ 'อาวุโส โซไซตี้' ขึ้นเพื่อเป็นคลังความรู้ในหลายๆ ด้านซึ่งคัดกรองความน่าเชื่อถือมาแล้ว เพื่อยังประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุอันเป็นที่รักของลูกหลานทุกคน32
"เรามีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ในการเป็นสื่อน้ำดี ที่เชื่อถือได้ในยุคที่ข่าวสารออนไลน์มีมากมายเหลือเกิน และการกลั่นกรองข้อมูลที่มีจำกัด และเราแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไปมอบให้แก่กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาสในสังคมไทย"
"เราต้องการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่า มีความสุข มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งกาย – ใจ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาสังคมผู้สูงอายุในประเทศให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและสะดวกสบายขึ้น เปรียบเสมือนเว็บไซต์จากลูกกตัญญูสำหรับผู้สูงอายุสมัยใหม่ทั่วประเทศที่ปกป้องผู้สูงอายุจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่บิดเบือน อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวอีกด้วย
"มาช่วยกันดูแลผู้สูงอายุกันให้ดีๆ เหมือนที่ท่านดูแลเราตั้งแต่เด็กกันเถอะค่ะ" ศศิกานต์ สรุป