กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ทีคิวพีอาร์
แอร์บัสจับมือร่วมกับบริษัท โรลส์-รอยซ์ และบริษัท ซีเมนส์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเครื่องบินโดยสารระยะใกล้ ซึ่งการร่วมมือนี้จะเป็นก้าวสำคัญของเครื่องบินพาณิชย์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานผสมผสานหรือไฮบริด
ทั้งสามบริษัทร่วมกันประกาศความร่วมมืออันก้าวล้ำที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยนำผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบการขับเคลื่อนชั้นนำของโลกมารวมกันที่ รอยัล แอโรนอติคอล โซไซตี้ (Royal Aeronautical Society) ในลอนดอน
เครื่องบินเทคโนโลยีพลังงานไฮบริดอย่าง E-Fan X คาดว่าจะสามารถบินได้ในปี พ.ศ.2563 หลังที่ทำการทดสอบภาคพื้นดินโดยละเอียดครอบคลุม การบินอัตโนมัติแบบไร้คนขับชั่วคราวบนเครื่องบิน BAe 146 ด้วยหนึ่งในสี่ของเครื่องยนต์กังหันแก๊สของเครื่องบินแทนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 เมกะวัตต์ โดยจะเตรียมทำการเปลี่ยนกังหันแก๊สตัวที่สองให้เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าเมื่อระบบได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสมบูรณ์
"เครื่องบิน E-Fan X เป็นก้าวต่อไปที่สำคัญต่อเป้าหมายของเราในการทำให้เที่ยวบินแบบไฟฟ้าเป็นจริงในอนาคตอันใกล้ สิ่งที่เราได้เรียนที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า เริ่มต้นด้วยเครื่องบินครี-ครี (Cri-Cri) รวมถึง อี-จีเนียส (e-Genius) อี-สตาร์ (E-Star) และล่าสุดมี E-Fan 1.2 รวมถึงผลงานที่ได้มาจาก อี-แอร์คาร์ฟ ซิสเท็มส์ เฮ้าส์ (E-Aircraft Systems House) ที่ร่วมมือกับซีเมนส์ จะปูทางไปสู่เครื่องบินพาณิชย์แบบเดินเดี่ยวแบบไฮบริดที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า" พอล อีเรเมนโก หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของแอร์บัส กล่าวและเพิ่มเติมว่า "เราเห็นเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานผสมผสานหรือไฮบริดเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับอนาคตของการบิน"
เครื่องบินสาธิต E-Fan X จะค้นพบปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนแรงสูง เช่นผลกระทบด้านความร้อน การจัดการแรงขับไฟฟ้า ระดับความสูงและผลกระทบเชิงพลวัตที่มีต่อระบบไฟฟ้า และปัญหาด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยีประสิทธิภาพการทำงานด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือทำให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมนี้ยังมีจุดมุ่งหมายในการกำหนดข้อกำหนดสำหรับการรับรองเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าในอนาคต ขณะเดียวกันก็ฝึกนักออกแบบและวิศวกรรุ่นใหม่เพื่อนำเครื่องบินพาณิชย์พลังงานไฮบริดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนใกล้เข้าสู่ความเป็นจริงอีกด้วย
ในฐานะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม E-Fan X แอร์บัส โรลส์-รอยซ์ และซีเมนส์ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ความชำนาญที่มีอยู่มากและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของแต่ละสายธุรกิจ
- แอร์บัส รับผิดชอบในการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนมาไว้ด้วยกัน รวมถึงควบคุมโครงสร้างของระบบการขับเคลื่อนบนพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด และแบตเตอรี่ ที่รวมไปถึงการนำไปใช้ในการควบคุมเที่ยวบิน
- โรลส์-รอยซ์ ดูแลในส่วนเครื่องยนต์แบบเทอร์โบชาฟต์ เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้ากำลัง 2 เมกะวัตต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ จากการดำเนินงานร่วมกับแอร์บัส โรลส์-รอยซ์ ได้รับผิดชอบไปถึงพัดลมที่อยู่ในห้องเครื่องและมอเตอร์ไฟฟ้าของซีเมนส์
- ซีเมนส์ จะส่งมอบมอเตอร์กระแสไฟฟ้าแบบ 2 เมกะวัตต์ทั้งสองตัว พร้อมด้วยอินเวอร์เตอร์ วงจรตัวแปลงแรงดัน และระบบกระจายกำลังเครื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาพร้อมกับระบบการทำงานของเครื่องบินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างแอร์บัสและซีเมนส์โดยเปิดตัวไปในปี พ.ศ.2559 เพื่อมุ่งไปที่การพัฒนาและการก้าวล้ำในระดับสูงสุดของส่วนประกอบระบบขับเคลื่อนระบบไฟฟ้าต่างๆและการสาธิตภาคพื้นดินในชั้นพลังงานต่างๆ
พอล สแตนน์ ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของโรลส์-รอยซ์ กล่าวว่า "เครื่องบิน E Fan X ได้เพิ่มความสามารถอันเป็นเลิศของเราในด้านความเชี่ยวชาญทางไฟฟ้าซึ่งจะปฏิวัติเที่ยวบินให้พร้อมกับการก้าวสู่รุ่นที่สามของวงการการบิน นี้คือช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับพวกเรา เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้จะส่งผลให้โรลส์-รอยซ์ สามารถรังสรรค์เครื่องยนต์สำหรับการบินที่ทรงพลังที่สุดของโลก"
"ซีเมนส์ได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างเต็มที่" ดร. โรแลนด์ บุช กรรมการบริหารบริษัท ซีเมนส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวพร้อมเสริมว่า "ในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2559 เราได้เปิดประสบการณ์ใหม่ด้านการขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าผ่านความร่วมมือกับแอร์บัสกับเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า โดยเราได้สร้างแนวคิดใหม่เพื่อพวกเรา ลูกค้า และสังคม ด้วยความร่วมมือผ่าน E-Fan X ก้าวต่อไปของพวกเราก็คือการทดสอบเทคโนโลยีนี้ขึ้นไปบินบนอากาศ"
ท่ามกลางอุปสรรค์อันมากมายในปัจจุบันของภาคการบินที่ต้องการจะก้าวไปสู่การขนส่งที่ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีประสิทธิภาพ และมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง เรามุ่งมั่นที่ทำให้เป้าหมายทางด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปที่เป็นวิถีของการบิน FlightPad ในปี พ.ศ. 2593 ของคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นจริง โดยเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 60 ไนโตรเจนออกไซด์ร้อยละ 90 และเสียงรบกวนร้อยละ 75 ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นเหตุที่ทำให้โรลส์-รอยซ์ แอร์บัส และซีเมนส์ได้ร่วมลงทุนและ มุ่งเน้นงานวิจัยในด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าเพื่อการขับเคลื่อน และพลังงานไฟฟ้าเพื่อการขับเคลื่อนแบบไฮบริด ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้อย่างมากที่สุดที่จะตอบโจทย์อุปสรรค์เหล่านี้