กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
แพทริก เกลซิงเกอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มดิจิตอลเอ็นเตอร์ไพรซ์ของอินเทล กล่าวที่งาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม ซึ่งจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโกว่า อินเทลได้มีการทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมไอทีเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับโปรเซสเซอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แนวทางการออกแบบของอินเทลที่เรียกว่า “ติ๊ก-ต๊อก” โมเดล รวมถึง รายละเอียดของโปรเซสเซอร์แบบ 45 นาโนเมตร (nm) รุ่นใหม่ของอินเทลที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้ ตลอดจนแนวโน้มล่าสุดของอุตสาหกรรมที่เน้นเรื่องการประมวลผลแบบประหยัดพลังงาน การประมวลผลแบบเสมือนจริง (virtualization) และการพัฒนาสถาปัตยกรรมของระบบรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่การเชื่อมต่อยูเอสบีข้ามระบบ จนถึงผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารตะกั่วที่อินเทลเตรียมแนะนำในเร็วๆ นี้ เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปที่มีเทคโนโลยีอินเทล? วีโปร? (Intel(R) vProTM Technology)
เกลซิงเกอร์ กล่าวว่า "โมเดลการพัฒนาเทคโนโลยีของอินเทลเป็นวิถีทางที่คาดเดาได้ มีประสิทธิภาพ และนำเสนอออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์ตามแนวทางแห่ง “กฎของมัวร์” (Moore’s Law) นอกจากโปรเซสเซอร์แล้ว อินเทลยังเน้นไปที่เรื่องของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการออกแบบทรานซิสเตอร์ที่ดีกว่าเดิมด้วย Halfnium-based High-k transistors รวมทั้งการปรับปรุงสถาปัตยกรรมโดยรวมของระบบ เพื่อลดการใช้พลังงานให้ได้มากที่สุดอีกด้วย”
นอกจากนั้น เกลซิงเกอร์ยังนำดูอัลโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ใช้สถาปัตยกรรมไมโครอาร์คิเทคเจอร์รุ่นใหม่ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Nehalem ที่ใช้ High-k metal gate แบบ 45 nm ออกแสดงเป็นครั้งแรกในงานไอดีเอฟนี้
อีกด้วย โดยโปรเซสเซอร์นี้ใช้ Hafnium เป็นองค์ประกอบแทนการใช้ซิลิกอนสำหรับตัวทรานซิสเตอร์ในสัดส่วนที่สูงกว่า 700 ล้านตัวภายในดายของโปรเซสเซอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับแสตมป์เท่านั้น อินเทลจะเริ่มเปิดตัวสถาปัตยกรรมไมโครอาร์คิเทคเจอร์ Nehalem ในราวปี 2551 ซึ่งจะมีแบนด์วิธสูงสุดของเมมโมรี่สูงกว่าของคู่แข่งถึง 3 เท่า นอกจากนี้ เกลซิงเกอร์ยังได้แจ้งอีกว่า อุตสาหกรรมได้ให้การสนับสนุนสถาปัตยกรรม Intel(R) QuickPath อย่างกว้างขวาง โดยที่อินเตอร์คอนเน็คของ QuickPath สามารถทำให้การส่งผ่านข้อมูลไปยังคอร์ของโปรเซสเซอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Nahalem มีความเร็วสูง
นอกเหนือจากประสิทธิภาพในการประมวลผลและแบนด์วิธของเมมโมรี่แล้ว อินเทลยังได้แสดงถึงความเป็นผู้นำในเรื่องของ I/O ด้วยการประกาศรวมกลุ่มผู้สนับสนุน USB 3.0 ขึ้นโดยใช้ชื่อกลุ่มว่า USB 3.0 Promoter Group โดยสถาปัตยกรรมดังกล่าวจะสามารถใช้คอนเน็กเตอร์และเคเบิลเพียงชนิดเดียว แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า USB 2.0 ถึง 10 เท่า และยังสามารถใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ USB ปัจจุบันกว่า 2 ล้านชนิดได้อีกด้วย
นอกเหนือจากอินเทลแล้ว กลุ่ม USB 3.0 Promoter Group ยังประกอบด้วยบริษัทไอทีรายใหญ่อื่นๆ อีก เช่น HP, NEC Corporation, NXP Semiconductors, Microsoft, และ Texas Instruments Incorporated เป็นต้น
โดยที่ USB 3.0 จะเป็นอินเทอร์เฟซชนิดแรกที่ใช้กับ I/O ได้เพื่อรองรับอินเตอร์คอนเน็คได้ทั้งแบบออพติคและทองแดง รองรับโปรโตคอลที่สามารถปรับขยายได้ การใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสำหรับพีซี อุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โมบายล์
เกลซิงเกอร์ ยังได้พูดถึงการเทคโนโลยี solid state disk ว่าสามารถพัฒนามาใช้กับเซิร์ฟเวอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ และเทคโนโลยีสตอเรจสำหรับแพลตฟอร์ม I/A โดยกล่าวว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ประสิทธิภาพที่แน่นอนในการอ่านและการประหยัดพลังงานมากขึ้นจากการที่ อินเทลใช้เทคโนโลยีเมมโมรี่แบบ non-volatile ที่จะมีการเปิดตัวในปีหน้า
ในงานนี้ เกลซิงเกอร์ ยังได้เล่าให้ฟังถึงวิสัยทัศน์ในการรวม I/O บนอีเธอร์เน็ตและขั้นตอนในการรวมเครือข่ายที่สนับสนุนได้ทั้งเครือข่าย FCoE (Fibre Channel over Ethernet) และเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ดังกล่าว เกลซิงเกอร์ได้ประกาศเปิดตัวอีเธอร์เน็ตคอนโทรลเลอร์ Intel(R) 82598 ขนาด 10 GB ซึ่งจะใช้กับโซลูชั่นแบบแสต็กสำหรับเครือข่าย FCoE ได้เต็มที่ในปี 2551
เกลซิงเกอร์ ยังได้พูดถึงเทคโนโลยี QucikAssist ของอินเทลกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เทคโนโลยี QuickAssist ซึ่งอินเทลได้เปิดตัวในงานไอดีเอฟที่กรุงปักกิ่งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นชุดเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของอินเทลที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านสำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ โดยได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์อินเทลชนิดแรกที่มีชื่อรหัสว่า Tolapai โดยอุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบด้วย QuickAssist Integrated Accelelator เพื่อใช้ในการเข้ารหัส
สำหรับ Tolapai ซึ่งเป็นระบบที่ฝังอยู่บนชิปเพียงตัวเดียว และคาดว่าจะมีจำหน่ายในปี 2551 จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในแง่ของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และการออกแบบฟอร์มแฟ็คเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง พร้อมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลที่ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 8 เท่า ส่งผลให้การใช้พลังงานลดลงร้อยละ 20 และมีขนาดเล็กลงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับโซลูชั่นต่างๆ ด้านความปลอดภัยที่ใช้องค์ประกอบหลายชนิดทำงานร่วมกัน สำหรับตลาดในส่วนของอุปกรณ์เพื่อการติดต่อสื่อสารและอุปกรณ์ชนิดฝังตัว
หลังจากที่มีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี อินเทล วีโปร ไปแล้วนั้น เกลซิงเกอร์ได้พูดถึงแผนการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยและระบบบริหารจัดการในพีซีให้ดีขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อรหัสว่า McCreary ในช่วงปี 2551 ที่จะถึงนี้ โปรเซสเซอร์ McCreary จะประกอบด้วยโปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์และคว๊อดคอร์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 45 nm ที่ปราศจากฮาโลเจนและตะกั่ว ชิปเซ็ตที่มีชื่อรหัสว่า Eaglelake มีโมดูล Trusted Platform Module (TPM) ในตัว และเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลที่มีระบบการจัดการซึ่งมีชื่อรหัสว่า Danbury
เทคโนโลยี Danbury เป็นการเข้าและถอดรหัสข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง ซึ่งทำให้ระบบป้องการการคีย์เข้ารหัสมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การบริหารระบบและการกู้ข้อมูลที่ป้อนไปแล้วให้สามารถกลับมาได้ง่ายขึ้นด้วย นอกจากนั้นเทคโนโลยี Intel Active Management ยังช่วยให้การทำงานเหล่านี้สามารถดำเนินต่อไปได้แม้ในภาวะ "out-of-band" ซึ่งหมายถึงในช่วงเวลาที่ระบบปฏิบัติเกิดเสียหรือไม่ทำงาน บ็อบ เฮิร์ด ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของบริษัท CREDANT Technologies ได้ร่วมสนทนาในงานนี้โดยกล่าวถึงโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ว่าจะสามารถพัฒนาขึ้นได้อีกในอนาคตเมื่อนำเทคโนโลยี Danbury และ วีโปร มาใช้ ในขณะที่มาร์ค บี. เท็มพลีตัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ Citrix Systems ได้สาธิตให้เห็นถึงวิธีการปกป้องข้อมูลและการจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ว่าสามารถทำได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในแง่ของการใช้งานแบบโมบิลิตี้และพีซีที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
จอห์น โฟวเลอร์ รองประธานบริหารของซัน ไมโครซิสเต็มส์ และ ดร.เมนเดล โรเซนบลูม ประธานฝ่ายนักวิทยาศาสตร์และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท VMware ได้ขึ้นกล่าวพร้อมกับเกลซิงเกอร์ เพื่อร่วมกันยืนยันถึง “กระแสความนิยม” ในการใช้ระบบการประมวลผลแบบเสมือนจริงที่อินเทลและบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำรายอื่นๆ กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ พวกเขายังได้สาธิตให้เห็นว่านวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเทคโนโลยี Intel Virtualization และ Intel Trusted Execution จะช่วยปกป้องการทำงานในลักษณะเสมือนจริงสำหรับเวิร์กสเตชั่นและพีซีรุ่นต่อไปในอนาคตได้อย่างไรอีกด้วย
เกลซิงเกอร์ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการนำเสนอเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุดทั้งในแง่ของการประมวลผลและราคา พร้อมกันนี้ เขาได้แสดงให้เห็นว่า ลูกค้าจะใช้เวิร์กสเตชั่นที่ประกอบด้วย Intel Xeon(R) ที่มี FSB ความเร็ว 1600 MHz เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้ ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะการประมวลผลระดับสูงรุ่นต่อไปของอินเทล จะเหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องการสมรรถนะในการประมวลผลระดับสูง อย่างเช่น การสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
อลิสแตร์ โดวนีย์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาในซีกโลกตะวันตกของ Paradigm ได้ใช้โปรแกรมวัดประสิทธิภาพที่ชื่อ “Paradigm Benchmark 1” โดยพบว่าแพลตฟอร์มที่ใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ แบบคว๊อดคอร์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าโปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์ในความเร็วที่เท่ากันได้ถึงสองเท่า
นอกจากนี้ เกลซิงเกอร์ยังได้เล่าให้ฟังถึงระบบ ICE Cube* Modular Data Center on Wheels ของบริษัท Rackable ที่บรรจุเซิร์ฟเวอร์ซึ่งใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ แบบคว๊อดคอร์ มากถึง 1,400 ตัวภายในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตเพียงตู้เดียวอีกด้วย
ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมซิลิกอน อินเทลได้พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และริเริ่มสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการทำงานและการดำรงชีวิตของผู้คน ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
คุณนฑาห์ บุญประสิทธิ์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด) บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: natha.boonprasit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk
(หมายเหตุ: ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดรูปภาพของงานไอดีเอฟได้จากเว็บไซต์ www.intel.com/pressroom )