เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ทรงเสด็จเปิดงาน BioAsia 2007 Thailand;

ข่าวทั่วไป Friday November 9, 2007 09:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--โปร มีเดีย พีอาร์
พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ BioAsia 2007 Thailand; The 6th Asian Crop Science Association Conference and The 2nd International Conference on Rice for the Future และเนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ทรงเสด็จเปิดงานในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และทรงมอบรางวัลเคียวทอง (The Golden Sickle Award) ซึ่งในปีนี้มีนักวิชาการที่ได้รับรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ Dr. Gurdev Singh Khush, University of California, USA เป็นผู้พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆมากกว่า 300 สายพันธุ์ และ Prof. Susan McCouch, Cornell University, USA เป็นนักวิจัยคนแรกๆที่วางแผนที่ยีน ซึ่งต่อมาหาลำดับเบสจีโนมข้าวได้เรียบร้อยแล้ว
Dr. Gurdev Singh Khush University of California, USA เป็นผู้พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ มากกว่า 300 สายพันธุ์ เช่น IR8, IR36, IR64 และ IR72 ตัวอย่างพันธุ์ IR36 รู้จักกันในชื่อ Miracle Rice ซึ่งพัฒนาจากพื้นฐานของพันธุ์ IR8 (เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี) ลักษณะต้นเตี้ย ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ เก็บเกี่ยวได้ภายใน 105 วัน ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ พันธุ์ IR36 เป็นพันธุ์ที่ปลูกได้ผลผลิตมากถึง 5 ล้านตันต่อปีในเอเชีย ทำให้มีเงินรายได้เข้ามาถึง 1 ล้านล้านเหรียญต่อปี ในปี 2537 ได้พัฒนาพันธุ์ใหม่ Super rice ที่ให้ผลผลิตสูงเพิ่มขึ้น 25% และงานล่าสุดคือลักษณะ New Plant Type (NPT) สำหรับพื้นที่นาชลประทานและให้ผลผลิตสูง เป็นต้น
Prof. Susan McCouch Cornell University, USA เป็นนักวิจัยคนแรกๆ ที่วางแผนที่ยีน ซึ่งต่อมาได้มีการหาลำดับเบสจีโนมข้าวกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานวิจัยเน้นการศึกษาหน้าที่ของยีน วิวัฒนาการของยีน และการหายีนที่ควบคุมลักษณะทางปริมาณ QTL ของลักษณะที่สำคัญเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ได้โคลนยีนที่เกี่ยวข้องกับ domestication และได้มีความร่วมมือในการทำงานวิจัยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์และนักปรับปรุงพันธุ์ในทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือและใต้ แอฟริกา และได้อบรมให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ในการใช้แผนที่ยีนและโมเลกุลเครื่องหมายในการหายีน ศึกษาวิวัฒนาการในข้าว เป็นต้น
โดยทั้งสองท่านมาร่วมบรรยายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ด้วย ในหัวข้อ How to Feed Five Billion Rice Consumers in 2030 และ Through the Genetic Bottleneck: Discovery and Utilization of Wild Alleles for Crop Improvement
ในงานประชุม จะมีนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก เช่น ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เป็นต้น มาบรรยาย อาทิเช่น
กลุ่มนักวิจัยจากโปรแกรม HarvestPlus จะมาบรรยายเกี่ยวกับงานวิจัยที่เน้นการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของประชาคมโลก โดยใช้เทคโนโลยีภาพช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอ ในพืชอาหารหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ขาดสารอาหารแทนการกินยา โดยมี Prof. Peter Beyer จาก University of Freiburg ประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิจัยที่พัฒนาพันธุ์ข้าวสีทองที่มีวิตามินเอเพิ่มขึ้น (Golden Rice) และผู้อำนวยการ Dr. Howarth Bouis มาบรรยายในการประชุมดังกล่าวด้วย
Dr. Robert S. Zeigler เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute, IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ จะมาบรรยายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในแถบทวีปเอเชีย เช่น น้ำท่วม แล้ง โรค และแมลงโดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วย
Dr. Jean-Marcel Ribaut ผู้อำนวยการโปรแกรม Generation Challenge ซึ่งเป็นเครือข่ายวิจัยพืชที่ประกอบไปด้วยสถาบันวิจัยระดับโลก เช่น Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา, Wagenigen University ประเทศเนเธอร์แลนด์ จะมาบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยเพื่อเข้าใจการทำงานของยีนและการระบุยีนที่มีความซับซ้อน เช่นยีนที่เกี่ยวข้องกับการทนแล้ง โดยการศึกษาหน้าที่ของยีน การหายีนที่ควบคุมลักษณะปริมาณ (QTLs) การศึกษา metabolomics เป็นต้น
Prof. Barbara A. Schaal นักวิจัยจาก Washington University และรองผู้อำนวยการของ US National Academy of Sciences ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษาวิวัฒนาการของพืช เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาวิวัฒนาการของข้าว โดยได้ศึกษาพันธุกรรมของข้าวมากกว่า 300 พันธุ์ (ทั้งข้าวป่าและข้าวในท้องถิ่น และพบโมเลกุลเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าข้าวที่ปลูกในปัจจุบัน เชื่อว่ามีการปลูกครั้งแรกในประเทศไทย อินเดีย พม่าและจีนตอนใต้ โดยในครั้งนี้จะบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาประวัติของพันธุ์ข้าวปลูกว่ามีบรรพบุรุษอย่างไร โดยการศึกษาความผันแปรของพันธุกรรม
Prof. Mike Gale จาก John Innes Centre ประเทศอังกฤษ จะบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยใช้หลักการของการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างยีนของพืชที่มีวิวัฒนาการร่วมกันมา (syntheny) อาทิ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ซึ่งสามารถทำนายเปรียบเทียบหน้าที่ของยีนจากพืชที่มีการหาดับเบสของจีโนม เช่น ข้าว (ตัวแทนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว) และ Arabidopsis (ตัวแทนพืชใบเลี้ยงคู่) กับพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งยังใช้เปรียบเทียบหาเครื่องหมายโมเลกุลเฉพาะที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติ นอกจากนั้น syntheny ยังใช้ประโยชน์ในการตัดต่อยีนจากพืชชนิดหนึ่งเข้าสู่พืชนิดหนึ่งเพื่อดูการเข้ากันได้ของอัลลีลของยีนจากพืชต่างชนิดกัน
BioAsia 2007 Thailand : ความสำคัญของงานในเวทีนานาชาติของการจัดการประชุมและงานนิทรรศการในปีนี้ และการตอบรับความร่วมมือในระดับภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมสำคัญในระหว่างงาน
งานไบโอเอเชีย 2007 หรือ BioAsia 2007 " The 1st International Trade Exhibition and Conference for Biotechnology และการเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติ นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช หรือ The 6th Asian Crop Science Association Conference และ การประชุมนานาชาติข้าวเพื่ออนาคต หรือ The 2nd International Conference on Rice for the Future โดยนักวิจัยชั้นนำของโลก พร้อมการจัดแสดง "พระมหากษัตริย์กับข้าวไทย" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระราช กรณียกิจเกี่ยวกับข้าวไทย การประชุมเจรจาทางธุรกิจประเทศในเอเชีย 8 ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย และการประกาศรางวัลเคียวทอง (The Golden Sickle Award) โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
การประชุมนานาชาติ The 6th Asian Crop Science Association Conference จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยครั้งที่แล้วจัดให้มีขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย และในปีนี้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 6 การประชุมประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช และเป้าหมายสำคัญของการประชุม คือ สร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาการเกษตรทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป และสร้างเครือข่ายนักวิจัยให้ขยายตัวมากขึ้น
The 2nd International Conference on Rice for the Future เป็นเวทีที่จัดขึ้นจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานซึ่งได้เห็นร่วมกันว่า ข้าวไทยเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และมีงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ หน่วยงานที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีนี้ ได้แก่ ศูนย์ไบโอเทค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร และ Generation Challenge Program"
Asia Bio Business Partnering 2007 โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ไบโอเทค และ BOI ได้จัดขึ้นในงานนี้เพื่อเป็นการจัดประชุมหารือทางธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสทางการเจรจาทางธุรกิจระหว่างบริษัทเอกชน/หน่วยงานรัฐที่สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมประมาณ 40 บริษัท จาก 8 ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย"
นิทรรศการ Biotech Pavilion ได้จัดขึ้นให้สอดคล้องกับการจัดการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติในเรื่อง Crop Science และ Rice for the future โดยมีการนำเสนอแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. Seed and Germplasm เป็นการจัดแสดงผลงานการรวบรวมแหล่งพันธุกรรมของพืช
เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ต่างๆที่มีอยู่หลากหลายในประเทศ ให้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย เพื่อการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน และเพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ที่ดีในรูปแบบดั้งเดิมโดยไม่มีการกลายพันธุ์ โดยเก็บรักษาไว้ในหลากรูปแบบ ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บรักษาต้นกล้าเพื่อการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ โดยจะมีการแจกเมล็ดพันธุ์เพื่อการนำไปเพาะปลูกภายในงานนี้ด้วย
Germplasm ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 5 ชนิด จะได้ถูกนำมาจัดแสดงในงาน
นิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ ข้าวโพด, พริก, แตงกวา, มะเขือเทศ และ กระเจี๊ยบเขียว
2. Rice for the future เป็นการจัดแสดงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่ความต้องการของประเทศ อาทิ ข้าวทนน้ำท่วม ข้าวทนเค็ม และข้าวทนต่อ
ศัตรูพืชต่างๆ รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณค่าทางอาหารที่สูงขึ้น โดยภายในงานนี้
จะได้มีการนำเสนอพันธุ์ข้าวที่ได้ผ่านการประกวดสุดยอดข้าวไทยในด้านต่างๆ อาทิ
สุดยอดข้าวทนทาน สุดยอดโภชนาการ และสุดยอดความหอม
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาพันธุ์พืช อาทิ ข้าวหลากสี
และข้าวที่มีการพัฒนาทางโภชนาการ ข้าวที่ให้ธาตุเหล็กในปริมาณสูง ข้าวสำหรับผู้ป่วย
เบาหวาน ที่ได้นำมาหุงให้ชิมภายในบริเวณงาน
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ Snack Slim ซึ่งเป็นมะเขือเทศผลสด ที่ใช้รับประทานเป็น
ของว่างเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี ข้าวโพดข้าวเหนียว พริกสด พริกป่น แตงกวาดอง
มาจัดแสดงให้แก่ผู้สนใจ
"นิทรรศการพระมหากษัตริย์กับข้าวไทย"
นิทรรศการพระมหากษัตริย์กับข้าวไทยในงาน BIO Asia นี้ นอกจากจะนำเสนอ
พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัยแล้ว ยังจัดแสดงควบคู่กับการ
นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นถึงความสนพระทัยและความเข้าใจ
ในกระบวนการทางธรรมชาติของแต่ละพระองค์ จากยุคสมัยกรุงสุโขทัย มาจนถึงพระปรีชา
สามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช ที่ทรงวางรากฐานที่สำคัญแก่
เกษตรกรชาวไทยแบบครบวงจร ทั้งในด้านการชลประธาน การจัดตั้งธนาคารข้าว การ
แก้ปัญหาดินเค็ม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาข้าว จนเป็นที่ประจักษ์ไม่เพียงแต่ผสกนิกร
ชาวไทย แต่ยังได้แผ่ขยายสู่นักวิชาการและนานาประเทศทั่วโลก
ส่วนของงานแสดงเทคโนโลยีชีวภาพ "ไบโอเอเชีย 2007" ในปีนี้ : BioAsia Exhibition 2007
ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนงานและเข้าร่วมงานโดยบริษัท/ธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากทั้งในและต่างประเทศประมาณ 150 บริษัทจากประเทศ ญี่ปุ่น จีน, ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมนี เบลเยี่ยม
โดยจะมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน" และคาวว่ามีผู้เข้าชมงาน 8,000-10,000 คน
โดยการจัดการประชุมนานาชาติ และการจัดกิจกรรมสำคัญในงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 และส่วนงานแสดงสินค้าไบโอเอเชีย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
งาน ไบโอเอเชีย (ฺBioAsia 2007) และการประชุมนานาชาติ พร้อมการจัดกิจกรรมสำคัญในงาน โดยการจัดการประชุมนานาชาติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 และส่วนงานนิทรรศการ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
BioAsia 2007 และการประชุมนานาชาติ ได้จัดขึ้นโดย บริษัท เอส.แอล.เอ็ม. แมเนจเม้นท์ จำกัด และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสนับสนุนการจัดงานโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ สำนักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
นอกจากนี้งาน BioAsia 2007 และการประชุมนานาชาติ ยังได้ประชาสัมพันธ์งานในรูปแบบของ Digital Streaming & Broadcasting System และประชาสัมพันธ์ในรูปของ E-Book, E-Newsletter สามารถเข้าชมเว็บไซด์ www.bioasia-2007.com
หมายกำหนดการที่จัดขึ้นในงานสำหรับสื่อมวลชน และขอเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วม มีดังนี้
BioAsia 2007 "Hi Tea" session: Media Interview the winner of the Golden Sickle Award 2007, on Monday, 5 November 2007, at 16:00 — 17:30 hrs., at Ballroom (Hall A), Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok
พิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และศููนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยTCELS จัดแถลงข่าว งาน BioAsia 2008 ในวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน นี้ เวลา 15:00-17:30 น. ณ ห้องประชุม 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โดยมีหน่วยงานและองค์กรภาครัฐต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน อาทิ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
จึงเรียนมาเพื่อเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและร่วมใน Media/Press Function ในครั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ คุณภัทรพร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โปร มีเดีย พีอาร์ จำกัด โทร 02-632-6728-9 แฟกซ์ 02-632-6729 หรือ มือถือ (Amy) 081-843-0868 อีเมล์: amy@promedia-pr.com, amytan67@yahoo.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ