กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2560 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกินร้อยละ 1.4
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ทำแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้มากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.70 ระบุว่า การแก้ปัญหาตามแนวทางเศรษกิจพอเพียง / ศาสตร์พระราชา ร้อยละ 18.31 ระบุว่า การลดค่าครองชีพ (เช่น ค่าไฟฟ้าฟรี, รถเมล์ฟรี, ตรึงราคาก๊าซ ราคาน้ำมัน) ร้อยละ 16.95 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาการว่างงาน และพื้นที่ทำกิน ร้อยละ 12.79 ระบุว่า การจัดการเลือกตั้ง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และความมั่นใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ร้อยละ 9.67 ระบุว่า การกระจายงานและรายได้ไม่ให้กระจุกอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ ร้อยละ 5.52 ระบุว่า การออกนโยบายสนับสนุนให้คนในประเทศใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.84 ระบุว่า การสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนจากต่างชาติ และร้อยละ 4.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน การแก้ไขปัญหาด้านพืชผลทางการเกษตร
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาได้ค่อนข้างดี ได้แก่ การแก้ปัญหาตามแนวทางเศรษกิจพอเพียง/ศาสตร์พระราชา สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาได้ยังไม่ค่อยดี ได้แก่ การออกนโยบายสนับสนุนให้คนในประเทศใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ การลดค่าครองชีพ (ค่าไฟฟ้าฟรี, รถเมล์ฟรี, ตรึงราคาก๊าซ ราคาน้ำมัน) การแก้ไขปัญหาการว่างงาน และพื้นที่ทำกิน การกระจายงานและรายได้ไม่ให้กระจุกอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ และการสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนจากต่างชาติ และวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาได้ไม่ดีเลย ได้แก่ การจัดการเลือกตั้ง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และความมั่นใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน และอื่นๆ ได้แก่ การแก้ปัญหาคอรัปชัน การแก้ไขปัญหาด้านพืชผลทางการเกษตร
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.39 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.78 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 19.18 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 31.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.23 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.53 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.39 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.75 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 14.63 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.86 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.01 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.10 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 90.81 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 4.32 นับถือศาสนาอิสลาม ตัวอย่างร้อยละ 0.96 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.92 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.58 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 66.67 สมรสแล้ว ร้อยละ 5.60 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.16 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 28.14 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.62 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.00 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.14 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.63 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.48 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.75 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.31 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.22 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.31 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.51 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.07 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 12.71 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.98 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.58 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 9.03 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.55 ไม่ระบุรายได้