กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กทม.
นอกจากนี้ผู้ร่วมอภิปรายได้แสดงความคิดเห็นและชี้แนะแนวทางอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพน้ำเจ้าพระยา โดยประสานความร่วมมือกับจังหวัดต่างๆ ในลุ่มเจ้าพระยาทั้งสาย การกำจัดวัชพืชหรือผักตบชวาซึ่งเป็นการเริ่มต้นอย่างง่ายและใกล้ตัว การติดตั้งบ่อดักไขมันในครัวเรือน การตรวจเข้มโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการประเภทต่างๆ ไปจนถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการจัดกิจกรรมต่อเนื่องและการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และแรงจูงใจให้เกิดแก่ประชาชนให้เกิดสำนึกร่วมดูแลรักษา ลดการถ่ายเทของเสียลงในแม่น้ำ คูคลอง รวมไปจนถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า ประชาชนคุ้นเคยกับสภาพแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน และมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากย้อนกลับไปประมาณ 30 ปี สายน้ำแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำอุปโภค บริโภคที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำนานาชนิด เป็นแหล่งอาหารของประชาชนด้วย ดั้งนั้นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้และเข้ามาช่วยกันดูแลเจ้าพระยาให้สะอาด สดใสอย่างเป็นรูปธรรมแท้จริง