กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
สะท้อนคนไทยเชื่อมั่นสภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน และคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะผู้บริโภค กลุ่มมิลเลนเนียลเชื่อเศรษฐกิจไทยเติบโต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Consumer Confidence) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 เผยว่าผู้บริโภคประเทศไทยมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศไทยโดยภาพรวมอยู่ที่ 65.1 จุด สะท้อนความเชื่อมั่นต่อสภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน และคุณภาพชีวิต ซึ่งประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นำหน้า ออสเตรเลีย (54.0 จุด) มาเลเซีย (45.9 จุด) ญี่ปุ่น (51.0 จุด) และไต้หวัน (44.2 จุด) และเมื่อเทียบในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในห้าอันดับแรก พบว่าฟิลิปปินส์มีความเชื่อมั่นสูงสุด (94.5 จุด) โดยจีนเท่ากับกัมพูชา (92.2 จุด) เมียนมาร์ (91.7 จุด) และเวียดนาม (89.5 จุด) และผลสำรวจยังพบว่าผู้บริโภคไทยในกลุ่มมิลเลนเนียล (อายุระหว่าง 18 - 29 ปี) มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยในอีกหกเดือนข้างหน้าอยู่ที่ 69.5 จุด มากกว่าผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 63.5 จุด
จากสภาวะเศรษฐกิจขยายตัว สืบเนื่องมาจากการเติบโตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการค้าขายระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งภูมิภาคอยู่ที่ 68.5 จุด โดยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2560 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น ในกลุ่มผู้บริโภคมิลเลนเนียลส์ (อายุระหว่าง 18 - 29 ปี) เพิ่มขึ้น 6.3 จุด และผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้น 5.0 จุด จากรายงานพบว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์ และการจ้างงาน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อภาวะตลาดหุ้น พบว่าเพิ่มมาขึ้นถึง 10.2 จุด ในกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อยกว่า 30 ปี
ช่วงระหว่างเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนและธันวาคม 2560 ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 9,141 ราย อายุระหว่าง 18 ถึง 64 ปีจาก 18 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกได้รับการสอบถามให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจห้าประการในอีกหกเดือนข้างหน้า อันได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน รายได้ ภาวะตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต โดยดัชนีนี้ได้มาจากการคำนวนระดับคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยที่ 0 หมายถึง รู้สึกแย่ที่สุด และ 100 หมายถึงรู้สึกดีที่สุด ส่วนคะแนนระหว่าง 40 ถึง 60 จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง อนึ่ง ดัชนีและรายงานอ้างอิงที่เกี่ยวข้องนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดได้
ประเด็นเด่นจากผลการสำรวจในแถบเอเชียแปซิฟิก
ความเชื่อมั่นโดยรวมของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีระดับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ (94.5 จุด) สูงที่สุดในภูมิภาค โดยในช่วงครึ่งปีหลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อภาวะตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น (+11.3 จุด) โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคงเพิ่มขึ้น (+5.3 จุด) และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น (+4.4 จุด)
ตรงกันข้าม ศรีลังกา (39.5 จุด) ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับแย่ลง โดยพบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพชีวิต (-4 จุด) และสภาพเศรษฐกิจ (-3.2 จุด)
การใช้จ่ายในภาคธุรกิจค้าปลีกที่เพิ่มมากขึ้น ผนวกกับการท่องเที่ยวภายในฮ่องกง ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 21.8 จุด จากเดิมความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในระดับย่ำแย่ กลับมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้นทั้งโอกาสการจ้างงาน (+32.5 จุด) สภาพเศรษฐกิจ (+23.3 จุด) ภาวะตลาดหุ้น (+19.3 จุด) ความเชื่อมั่นด้านรายได้ (+18.9 จุด) และคุณภาพชีวิต (+15.2 จุด)
จากความตึงเครียดบริเวณชายแดนเกาหลีใต้ ส่งผลให้ในความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงโดยกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี (-28.3 จุด) และกลุ่มผู้บริโภคอายุมากกว่า 30 ปี (-18.4 จุด) เกาหลีใตมีระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงสองระดับ จากความเชื่อมั่นที่เป็นบวก ลงมาอยู่ที่ระดับกลาง อีกหนึ่งตลาดที่ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีความเชื่อมั่นลดลงได้แก่ บังคลาเทศ โดยผู้บริโภคในกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี มีความเชื่อมั่นลดลง (-8.1 จุด) และกลุ่มผู้บริโภคอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความเชื่อมั่นลดลง (-9.5 จุด)
ผู้บริโภคกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี ใน 11 ตลาดมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้แก่ ออสเตรเลีย (+4.8 จุด) เมียนมาร์ (+4.4 จุด) และไทย (+2.1 จุด) และตลาดที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (+6.9 จุด) ไต้หวัน (+8.6 จุด) มาเลเซีย (+6.2 จุด) สิงคโปร์ (+5.3 จุด) ตลาดที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นดีขึ้นมากได้แก่นิวซีแลนด์ (+15.1 จุด)
ผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 30 ปี ขึ้นไป) จาก 4 ใน 18 แห่งของตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีคะแนนลดต่ำลง ได้แก่ อินโดนีเชีย (-3.1) และกัมพูชา (-1.9) ตลาดที่คะแนนลดลงได้แก่ บังคลาเทศ (-9.5) และ เกาหลีใต้ (-18.4)
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศไทย ครึ่งหลังปี 2560