SME BANK หวั่นเศรษฐกิจโลก ฉุด SMEs ไทย จัดสัมมนา 26 ก.ย. นี้ ชี้ช่องเตรียมรับมือ

ข่าวทั่วไป Tuesday September 11, 2007 12:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
SME BANK จัดสัมมนาหัวข้อ “เศรษฐกิจโลกสั่นไหว...SMEs ไทยรับมืออย่างไร” เพื่อแนะแนวทางให้ลูกค้าธนาคาร ผู้ประกอบการ SMEs เตรียมรับมือวิกฤติเศรษฐกิจโลกถดถอยอันเนื่องมาจาก “ซับไพรม์” ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย รวมทั้งภาวะอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันโลกที่ถีบตัวสูงขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 กันยายน 2550 ธนาคารจะจัดสัมมนาหัวข้อ “เศรษฐกิจไทยสั่นไหว....SMEs ไทยรับมืออย่างไร” เพื่อให้ลูกค้าธนาคาร และผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจ เตรียมรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เริ่มถดถอยจากปัจจัยลบหลาย ๆ ด้าน อาทิ ภาวะอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันโลกที่ถีบตัวสูงขึ้น และปัญหา “ซับไพรม์” ซึ่งเป็นตัวแปรใหม่ ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย และจะก่อให้เกิดปัญหาต่อ SMEs ไทยได้ในอนาคต
“สำหรับจากจัดสัมมนาในวัน 26 ก.ย. นี้ จะเป็นการระดมสมองจากนักวิชาการด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อแนะแนวทางให้ผู้ประกอบการฝ่าฟันกับภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจถดถอย และเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ประกอบการเร่งรีบปรับตัว และรู้ทันสถานการณ์โลก โดยแบ่งหัวข้อสัมมนาออกเป็น 3 หัวข้อย่อย ซึ่งมีความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก ตั้งแต่หัวข้อ “ผลกระทบของเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทย” โดย ดร.ไสว บุญมา อดีตนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารโลก (Word Bank) ซึ่งเป็นการมองภาพรวมเศรษฐกิจและเศรษฐกิจโลก หัวข้อ “ฟันธงส่งออกไทย ใครรุ่ง...ใครร่วง” โดยนายคชาภูมิ ศิริชนะชัย นายกสมาคมผู้ค้าไทยระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการโฟกัสธุรกิจที่มีอนาคตและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ และหัวข้อ “เตรียมการรับมือของผู้ประกอบการ SMEs ไทย โดยนายสมพงษ์ ตันเจริญผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเน้นการรับมือกับภาวะ “ซับไพรม์” ซึ่งเป็นตัวแปรตัวใหม่ของเศรษฐกิจโลก โดยงานสัมมนาจัด ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ ลูกค้าธนาคาร หรือผู้ประกอบการที่สนใจสำรองที่นั่งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ SME BANK Call Center 1357” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวในที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ 02-201-3700 ต่อ 6001-6004

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ