ฮิตาชิประกาศความสำเร็จการพัฒนาหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาดเล็กที่สุดในโลก เพื่อผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 4 เทราไบท์

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday October 24, 2007 11:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
การย่อส่วนของเทคโนโลยีการบันทึกลง 2 เท่า ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับโน้ตบุ๊คมีความจุ 1 เทราไบท์ และ 4 เทราไบท์สำหรับเดสก์ทอป เป็นความจริงได้ในปี 2545
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ฮิตาชิ จีเอสที) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในวันนี้ว่า บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถความจุในการบันทึกข้อมูลได้ถึง 4 เท่าตัว จากเดิมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของเดสก์ทอปมีความจุ 1 เทราไบท์ให้สูงขึ้นเป็น 4 เทราไบท์ และเพิ่มความจุเป็น 1 เทราไบท์สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของโน้ตบุ๊ค
นักวิจัยของฮิตาชิประสบความสำเร็จในการลดขนาดหัวอ่านให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมกว่าครึ่ง จนได้หัวอ่านที่มีขนาดระหว่าง 30 — 50 นาโนมิเตอร์ (หนึ่งส่วนล้านของหนึ่งมิลลิเมตร) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมมนุษย์โดยเฉลี่ยกว่า 2,000 พันเท่า (ความกว้างของเส้นผมมนุษย์มีขนาด 70-100 ไมครอน โดยประมาณ) ซึ่งเรียกหัวอ่านรุ่นใหม่นี้ว่า ซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR = current perpendicular-to-the-plane giant magneto-resistive1) โดยคาดว่าเทคโนโลยีหัวอ่านใหม่จะเริ่มนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ภายในปี พ.ศ. 2552 และสามารถพัฒนาจนเต็มศักยภาพได้ในปี 2554
บริษัทฮิตาชิจะแถลงความสำเร็จครั้งนี้ในงานประชุมการบันทึกข้อมูลแถบแม่เหล็กในแนวดิ่งครั้งที่ 8 (Perpendicular Magnetic Recording Conference -- PMRC 2007) ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2550 ณ โตเกียว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟอรั่ม ประเทศญี่ปุ่น
มร. ฮิโรอากิ โอดะวาระ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีความจุ ซึ่งเป็นห้องวิจัยกลางของฮิตาชิ กล่าวว่า “บริษัทฯ ลงทุนอย่างต่อเนื่องในงานวิจัยเชิงลึกเพื่อพัฒนาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เพราะเราเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ คงไม่มีเทคโนโลยีอื่นที่จะสามารถเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้มากขึ้นและราคาลดลงได้ ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่นี้ ก็เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อฮิตาชิเองและผู้บริโภคอีกด้วย โดยจะช่วยเร่งการเติบโตของการจัดเก็บข้อมูล “ยุคเทราไบท์” ที่ฮิตาชิได้เป็นผู้ริเริ่ม และหยิบยื่นโอกาสในการจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลอย่างไร้ขีดจำกัดแก่ผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง”
ฮิตาชิเชื่อว่าหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์นี้ จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สามารถเพิ่มความจุในการบันทึกข้อมูลต่อพื้นที่ได้ถึง 500 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว ถึง 1 เทราบิทต่อตารางนิ้ว ซึ่งมากกว่าความจุต่อพื้นที่ในปัจจุบันถึง 4 เท่า โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาฮิตาชิ จีเอสทีได้เปิดตัวฮาร์ดไดรฟ์ 1 เทราไบท์ตัวแรกของวงการ ด้วยความจุ 148 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว ในขณะนี้ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทฮิตาชิ จีเอสที มีค่าความจุต่อพื้นที่สูงสุดอยู่ที่ราว 200 กิกะบิทต่อตารางนิ้ว และใช้เทคโนโลยีหัวอ่านที่เรียกว่า หัวอ่านทีเอ็มอาร์ 2 (tunnel-magneto-resistive) ซึ่งทั้งเทคโนโลยีหัวอ่านและสื่อบันทึกนับเป็นสองปัจจัยหลักที่ควบคุมวิวัฒนาการลดขนาดหัวอ่านและเพิ่มขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
การตัดเสียงรบกวน — เทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวน (SNR)
ในการพัฒนาฮาร์ดไดรฟ์ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องนี้ จำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพในการบีบอัดข้อมูล เพื่อทำให้ข้อมูลมีขนาดเล็กลงและสามารถบันทึกลงสื่อบันทึกได้ในปริมาณที่มากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาหัวอ่านให้มีขนาดเล็กลงเพื่ออ่านข้อมูลขนาดเล็กที่ถูกบีบอัดเหล่านั้นด้วย เมื่อหัวอ่านมีขนาดเล็กลง ความต้านทานไฟฟ้าก็จะมีมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดเสียงดังมากขึ้นขณะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทำงาน และความแม่นยำในการอ่านสัญญานข้อมูลของหัวอ่านลดลง
ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทำงานอยู่นั้น การส่งสัญญาณขาออกควรอยู่ในระดับที่สูง และไม่ส่งเสียงดังในขณะทำงาน ดังนั้นเหล่านักวิจัยจึงมุ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวน (SNR) ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้เหล่านักวิจัยต่างเกรงว่า การใช้หัวอ่านแบบทีเอ็มอาร์ (TMR) จะให้ความแม่นยำในการอ่านข้อมูลลดลง โดยเฉพาะกรณีที่ข้อมูลถูกบีบอัดจนมีความหนาแน่นเกินกว่า 500 กิกะบิทต่อตารางนิ้วขึ้นไป
หากเปรียบกับหัวอ่านทีเอ็มอาร์ (TMR) แล้วหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) มีแรงต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า เป็นผลทำให้เกิดเสียงระหว่างทำงานเบากว่า แต่ข้อเสียก็คือการส่งสัญญาณขาออกต่ำกว่า ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับการส่งสัญญาณขาออกที่ต่ำเกินไปจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะมีการนำเทคโนโลยีซีพีพี-จีเอ็มอาร์ มาใช้จริง
จากปัญหาดังกล่าว บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และฮิตาชิ จีเอสที ได้ร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีการส่งสัญญานขาออกสูงและเทคโนโลยีการลดเสียงเพื่อใช้กับหัวอ่านแบบ ซีพีพี-จีเอ็มอาร์ ซึ่งฟิล์มแม่เหล็กที่มีการหมุนของอิเล็กตรอนแบบกระจาย ได้ถูกใช้ในเลเยอร์ของซีพีพี-จีเอ็มอาร์ เพื่อเพิ่มสัญญาณขาออกจากหัวอ่าน โดยเทคโนโลยีใหม่สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีรูปแบบการทำงานแบบไม่ทำลายรายละเอียดบนแผ่น และการกดเสียงให้ดังน้อยลงได้รับการพัฒนาขึ้น ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดผลการปฏิบัติงานของหัวอ่านที่ควรได้รับการปรับปรุงอย่างมาก ซึ่งศูนย์วิจัยฮิตาชิ จีเอสที ที่เมืองซาน โฮเซ่ และศูนย์วิจัยกลางที่บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกันในการพัฒนาหัวอ่านที่มีความกว้างที่ 30 นาโนเมตรและ 50 นาโนเมตร ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีการกรองเสียงรบกวนที่ดีที่สุดโดยมีระดับความดังเพียง 30 และ 40 เดซิเบลตามลำดับ
หัวอ่านแบบทีเอ็มอาร์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบันมีความกว้างที่ 70 นาโนเมตร คาดว่าหัวอ่านที่มีความกว้าง 50 นาโนเมตร จะสามารถวางจำหน่ายในปี 2552 และหัวอ่านที่มีความกว้าง 30 นาโนเมตร จะมีวางจำหน่ายในปี 2554
หัวอ่านที่มีขนาดเล็กอย่างไม่น่าเชื่อ
การค้นพบปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงความต้านทานแม่เหล็กขนาดใหญ่ (GMR - Giant magneto resistive effect) เกิดขึ้นในปี 2531 การค้นพบดังกล่าวกลายเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธาณชนหลังจากที่ผู้คิดค้นได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกซ์เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษหลังการค้นพบ และในปัจจุบันเทคโนโลยี GMR จะกลายเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นจากการเปิดตัวเทคโนโลยีหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) ของฮิตาชิ
ในปี พ.ศ. 2540 เก้าปีหลังการค้นพบเทคโนโลยีจีเอ็มอาร์ บริษัทไอบีเอ็มได้นำหัวอ่าน GMR มาใช้ในอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในฮาร์ดไดรฟ์รุ่น Deskstar 16GXP ซึ่งหัวอ่านจีเอ็มอาร์ช่วยให้ความจุฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ อันเห็นได้จากการที่ความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆปีในช่วงตอนต้นของศตวรรษที่ 21 ถึงแม้ในปัจจุบันนี้การพัฒนาด้านความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลจะชะลอลง การพัฒนาของเทคโนโลยีหัวอ่านและนวัตกรรมของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อื่นๆ ที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ยังผลให้ความจุของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ สองปี
ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา ขนาดของหัวอ่านในอุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์มีขนาดเล็กลงอย่างมาก เนื่องจากความจุต่อพื้นที่และความสามารถในการจัดเก็บพิ่มมากขึ้น ซึ่งหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ตัวแรกถูกเรียกว่า หัวอ่านแบบเหนี่ยวนำ (inductive head) ได้เปิดตัวขึ้นในปี 2499 เพื่อการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รุ่นแรกชื่อ RAMAC โดยมีความกว้าง 1:20 นิ้ว หรือ 1.2 ล้านนาโนเมตร และในปัจจุบันหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) มีความกว้างของหัวอ่านเพียง 1 ในล้านของ 1 นิ้ว หรือ 30 นาโนเมตร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหัวอ่านแบบซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) ในปัจจุบันมีขนาดที่เล็กมาก หรือคิดเป็น 1 ใน 40,000 ส่วนเท่านั้น เมื่อเทียบกับหัวอ่านแบบเหนี่ยวนำในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รุ่น RAMAC ในปี 2499
หมายเหตุ
1. ซีพีพี-จีเอ็มอาร์ (CPP-GMR) เป็นทางเลือกจากหัวอ่านทีเอ็มอาร์เดิม โดยเทคโนโลยีซีพีพี-จีเอ็มอาร์มีระดับแรงต้านทางไฟฟ้าที่ต่ำกว่าเนื่องจากใช้ตัวนำโลหะแทนตัวนำที่เป็นโพรง และเหมาะสำหรับการทำงานความเร็วสูงและแบบขั้นบันได ในมิติที่เล็กลง
2. หัวอ่านทีเอ็มอาร์ (TMR) หรือเรียกว่าเครื่องมือทีเอ็มอาร์ ประกอบด้วย เลเยอร์ 3 ชั้น ซึ่งมีฟิล์มสนามแม่เหล็ก ประกบกับฟิล์มกันความร้อน การเปลี่ยนแปลงในแรงต้านทานเกิดขึ้นเมื่อทิศทางกระแสแม่เหล็กของเลเยอร์สนามแม่เหล็กทั้งบนและล่างเปลี่ยนแปลง (ขนานกันหรือผลักกันออก) ซึ่งเรียกกันว่า ปรากฏการณ์ทีเอ็มอาร์ และอัตราส่วนแรงต้านทานไฟฟ้าระหว่างสองขั้วซึ่งถูกเรียกว่าสัดส่วนแรงต้านทานแม่เหล็ก
เกี่ยวกับ ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ฮิตาชิ จีเอสที(
ฮิตาชิ จีเอสที ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2546 ในฐานะที่เป็นบริษัทร่วมระหว่าง ฮิตาชิ และ ไอบีเอ็ม โดยมีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล จุดมุ่งหมายหลักของบริษัทฯ คือการอำนวยความสะดวกด้านการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลปริมาณมากๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมการใช้งานทั้งในสำนักงาน บนท้องถนนหรือที่บ้านพักอาศัยทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินชีวิตในโลกดิจิตอล ด้วยการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์คุณภาพสูง
จากประวัติอันยาวนานในการประดิษฐ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฮิตาชิ จีเอสที เป็นผู้นำตลาดด้วยการฉลองปีทองของเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล ในปี 2549 ที่ผ่านมา ฮาร์ดไดรฟ์มีอิทธิพลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และคอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิคส์นับตั้งแต่มีการคิดค้นนวัตกรรมนี้เมื่อ50 ปีที่แล้ว และสิ่งนี้คือมรดกของฮิตาชิ จีเอสที ในวันนี้สู่นิยามของ
ฮาร์ดไดรฟ์ขนาดเล็กที่ได้มาตรฐาน ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
ฮิตาชิ จีเอสที บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เพื่อการเก็บข้อมูลหลากหลายประเภท รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอนซูเมอร์ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮิตาชิ จีเอสที สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.hitachigst.com
เกี่ยวกับ Hitachi, Ltd.
Hitachi, Ltd. (NYSE: HIT / TSE: 6501) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ชั้นนำระดับโลก ที่มีพนักงานประมาณ 356,000 คนทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2548 บริษัทมียอดจำหน่ายสินค้าโดยรวมปีงบประมาณสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 จำนวน 9,464 พันล้านเยน (80.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) บริษัทฯนำเสนอผลิตภัณฑ์ ระบบต่างๆ และบริการทางธุรกิจที่ครอบคลุมตลาดมากมาย อาทิ ตลาดระบบสารสนเทศ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์ ตลาดระบบพลังงานและอุตสาหกรรม ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค และตลาดบริการทางการเงินและวัสดุภัณฑ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hitachi สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.hitachi.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
รุ่งนภา ชาญวิเศษ/ ชัญญณัฐ วิทย์วโรปกรณ์
เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
โทร. 0-2343-6000 ต่อ 061 หรือ 062
อีเมล์ rungnapa@webershandwick.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ