กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2550 ด้วยปริมาณการขาย 54,163 คัน เพิ่มขึ้น 1.0 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 14,954 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,209 คัน ลดลง 0.4% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 34,659 คัน ลดลง 4.2%
ทางด้านสถิติการขายสะสม 8 เดือนของปี 2550 มีปริมาณทั้งสิ้น 397,835 คัน ลดลง 9.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 113,469 คัน ลดลง 7.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 284,366 คัน ลดลง 10.0% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 249,556 คัน ลดลง 13.8%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์ 8 เดือนแรก มีแนวโน้มการหดตัวน้อยลง ด้วยยอดขายรวม 397,835 คัน ลดลง 9.4% สืบเนื่องมาจากความคลี่คลายของสถานการณ์ทางการเมือง ที่คลุมเครือมาตั้งแต่ต้นปี มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผล ทำให้ผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ และปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลต่อตลาดรถยนต์ โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 7.7% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 10.0% ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตลดลง 13.8% อย่างไรก็ตามประมาณการขายในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 ไตรมาสที่ผ่านมา
2. ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ปริมาณการขาย 54,163 คัน เพิ่มขึ้น 1.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากกิจกรรมต่างๆที่ค่ายรถยนต์จัดขึ้นเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงเงื่อนไขการเช่าซื้อที่น่าสนใจ สำหรับปัจจัยลบ เช่น ราคาน้ำมันนั้นอยู่ในระดับทรงตัว ทั้งหมดนี้ได้ส่งแรงขับเคลื่อนต่อตลาดรถยนต์ทำให้ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 4.7% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปรับตัวลดลงน้อยที่สุดในรอบปี 0.4% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ลดลง 4.2 %
3. ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามสถิติการขายแล้ว เดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่มียอดขายดีที่สุดในไตรมาส 3 ประกอบกับเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณที่จะมีการเร่งเบิกจ่ายอันจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของเศรษฐกิจ รวมถึงความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เจาะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงของค่ายรถยนต์ต่างๆ พร้อมข้อเสนอเช่าซื้อที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้บริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญทำให้ตลาดรถยนต์สามารถรักษาระดับการขายไว้ สำหรับราคาน้ำมันและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือน สิงหาคม 2550
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 54,163 คัน เพิ่มขึ้น 1.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 24,524 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,209 คัน ลดลง 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 4,525 คัน ลดลง 12.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 14,954 คัน เพิ่มขึ้น 4.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,661 คัน เพิ่มขึ้น 28.40% ส่วนแบ่งตลาด 57.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,025 คัน ลดลง 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 26.9%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 627 คัน เพิ่มขึ้น 105.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 34,659 คัน ลดลง 4.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,429 คัน เพิ่มขึ้น 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,369 คัน ลดลง 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,162 คัน เพิ่มขึ้น 42.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 1,876 คัน
โตโยต้า 1,138 คัน — อีซูซุ 654 คัน — ฟอร์ด 84 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 32,783 คัน ลดลง 5.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,291 คัน เพิ่มขึ้น 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,715 คัน ลดลง 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,162 คัน เพิ่มขึ้น 42.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,209 คัน ลดลง 0.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,863 คัน เพิ่มขึ้น 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,209 คัน ลดลง 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,312 คัน เพิ่มขึ้น 40.5% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — สิงหาคม 2550
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 397,835 คัน ลดลง 9.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 176,057 คัน ลดลง 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 44.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,953 คัน ลดลง 18.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 41,811 คัน ลดลง 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 113,469 คัน ลดลง 7.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 60,463 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 53.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 35,322 คัน ลดลง 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 4,941 คัน เพิ่มขึ้น 79.5% ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 249,556 คัน ลดลง 13.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 105,643 คัน ลดลง 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 85,359 คัน ลดลง 19.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 20,530 คัน เพิ่มขึ้น 32.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 14,380 คัน
โตโยต้า 9,710 คัน — อีซูซุ 4,089 คัน — ฟอร์ด 581 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 235,176 คัน ลดลง 13.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 95,933 คัน ลดลง 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 81,270 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 20,530 คัน เพิ่มขึ้น 32.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 284,366 คัน ลดลง10.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 115,594 คัน ลดลง 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,953 คัน ลดลง 18.7% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 21,861คัน เพิ่มขึ้น 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%