กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
การแข่งขันรายการการจัดรายการนำเที่ยว "สุดยอดมัคคุเทศก์ Creative Tourism" รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.ปาลิตา ตั้งใจปอง,น.ส.อัญมณี คุมาอิและน.ส.พิชญากานต์ พันโนลิด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ สาขาการท่องเที่ยว รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีทุนการศึกษาและเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่วิทยาลัยดุสิตธานี ,รองชนะเลิศอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ
น.ส.ปาลิตา ตั้งใจปอง นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ สาขาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4 ทีมชนะเลิศรายการนำเที่ยวสุดยอดมัคคุเทศก์ Creative Tourism เล่าว่า แนวทางการแข่งขันครั้งนี้เป็น Creative tourism คือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยทีมของพวกเราได้จัด Concept เป็นการจัดทัวร์เหนือ จังหวัดเชียงใหม่ 3 วัน 2 คืน ที่เน้นให้ลูกค้าสัมผัสถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ลงมือทำกิจกร่วมกับชาวบ้านในท้องถิ่น เช่น ปลูกข้าว การเกษตร ทอผ้า รวมถึงการทานอาหารแบบพื้นบ้านร่วมกันชาวบ้าน ดังนั้น การแข่งขันครั้งนี้ จึงเป็นการท้าทายตัวเอง ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ได้มิตรภาพ และการช่วยเหลือของอาจารย์ ชาวบ้าน ทำให้เห็นหลายๆ สิ่งที่นอกเหนือจากชั้นเรียน และได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้ประโยชน์ได้จริง
น.ส.อัญมณี คุมาอิ นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ สาขาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4 ทีมชนะเลิศรายการนำเที่ยวสุดยอดมัคคุเทศก์ Creative Tourism กล่าวว่าหัวข้อที่ไปแข่งคือสุดยอดมัคคุเทศก์ Creative Tourism ซึ่งเป็นเหมือนการจัดการท่องเที่ยวที่ต้องมีความสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ต่างจากการท่องเที่ยวทั่วไป ทำให้การท่องเที่ยวมีความน่าสนใจ อีกทั้งต้องมีการเชื่อมโยงการแบ่งปัน ทำงานร่วมกันชุมชน ต้องจัดการท่องเที่ยวไม่เบียดเบียนหรือว่าสร้างผลกระทบให้แก่การท่องเที่ยว ซึ่งการดำเนินงานของพวกเราได้ อาจารย์ประจำสาขาที่ม.หอการค้าไทยช่วยเรื่องรายละเอียดที่เจาะลึก และเป็นเรื่องกำลังใจในการทำงาน
น.ส.พิชญากานต์ ทีมชนะเลิศรายการนำเที่ยวสุดยอดมัคคุเทศก์ Creative Tourism เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้กลุ่มจัดทัวร์ไปที่จังหวัดเชียงใหม่ ในโปรแกรมเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จัดเส้นทางไปสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เพื่อเผยแพร่สถานที่ท่องเที่ยวดังกล่าว ซึ่งหลักต้องจัดการท่องเที่ยวเพื่อต่อยอด เพิ่มมูลค่าและแบ่งบันให้ทางชุมชนมีส่วนร่วมกับรายได้
อ.จันทร์จิต ฐนะศิริ คณะการท่องเที่ยวและอุสาหกรรมบริหาร สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าสำหรับการแข่งขันครั้งนี้จริงๆ คือใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนหลังจากทราบข่าว ซึ่งตอนแรกทำการคัดเลือกนักศึกษาก่อนว่าใครเหมาะกับการแข่งขัน และได้เห็นความสามารถของเด็กทั้ง 3 คน เลยรวมตัวประมาณเดือนธันวาคม เลือก 3 คนที่มีความสามารถในการบรรยาย การพูด และการนำเสนอเกี่ยวกับโปรแกรมการนำเที่ยว และหลังจากคัดเลือกแล้วทุกตอนเย็นจะมีการฝึกซ้อมกัน เพราะเด็กส่วนใหญ่เริ่มฝึกงานกัน และเด็กๆ มีการเขียนโปรแกรมเองด้วย ครั้งนี้คอนเซ็ปงานไว้เป็น Creative Tourism เลยใช้วิธีที่ให้เด็กๆ สรรหา คัดเลือกไปที่ไหน สุดท้ายเลือกจังหวัดทางภาคเหนือ เขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง โดยใช้คำพูดของตัวเองในการนำเสนอออกมา โดยมีอาจารย์คอยช่วยขัดเกลา
"จริงๆแล้วเทคนิคมันสะสมมาตั้งแต่ปีหนึ่งที่เข้าเรียนมาอยู่แล้ว เพราะว่าในรายวิชาที่สอนในสาขาวิชาการท่องเที่ยวมันจะมีทุกวิชาเลย เด็กๆ ต้องได้แสดงออก ได้พูด เกือบทุกวิชา เพราะมันต้องมีการนำเสนอการบรรยายต่างๆ แล้วมีวิชาการจัดนำเที่ยว วิชามัคคุเทศก์ ซึ่งมันมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่แล้วในส่วนของการแข่งขันในครั้งนี้ แล้วเด็กๆ ทุกคนที่มาเรียนที่นี้ คือ สร้างให้เขามีความมั่นใจในตัวเอง แล้วก็กล้าที่จะพูด เพราะฉะนั้นเทคนิคง่ายๆ คือเด็กๆ ต้องเชื่อว่าสามารถทำได้โดยที่ต้องคอยให้กำลังใจและสนับสนุน" อาจารย์จันทร์จิต กล่าวเพิ่มเติม