กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
สรุปประเด็นข่าว
- รุ่งอรุณใหม่แห่งความเป็นไปได้อันมหาศาลเกิดขึ้นไปทั่วขอบฟ้า โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำในภูมิภาคต่างคาดหวังว่าคนทำงานและเครื่องจักรกลจะทำงานประสานเสมือนเป็นทีมเดียวกันภายใน 5 ปีข้างหน้า
- ผู้นำมีการแบ่งขั้วความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของอนาคต แม้ 58 เปอร์เซ็นต์คิดว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยให้มีเวลาว่างมากขึ้น แต่ราว 4 ใน 10 กลับไม่เห็นด้วย
- องค์กรมีจุดยืนร่วมคือ ต้องการปฏิรูปเหมือนกัน แม้จะรู้ว่าต้องทำอย่างไร แต่กลับทำได้ไม่เร็วพอ มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่เชื่อว่าตัวเองกำลังก้าวไปบนเส้นทางการปฏิรูป โดยการใส่ดิจิทัลเข้าไปในทุกสิ่งที่ทำ
เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล โดยมีการแบ่งขั้ววิสัยทัศน์ สอดคล้องตาม ผลการวิจัยทั่วโลก จากเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่ว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำองค์กรธุรกิจจำนวน 3,800 รายทั่วโลกจากภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมการสำรวจ ต่างคาดการณ์ว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยให้มีเวลาว่างมากขึ้น ในขณะที่อีก 42 เปอร์เซ็นต์มีความเชื่อที่แตกต่างไป เช่นเดียวกับที่ 48 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าตนน่าจะรู้สึกพึงพอใจกับงานมากขึ้นในอนาคตจากการที่เครื่องจักรกลเข้ามาช่วยลดภาระงาน ในขณะที่อีก 52 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้บรรดาผู้นำในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ต่างคาดการณ์กันมากยิ่งขึ้นว่าเรื่องนี้จะสร้างผลกระทบทั้งในประเด็นของการทำงานและในมุมธุรกิจ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นในทั่วโลกที่มีลักษณะคล้ายกัน นอกจากนี้ ผลวิจัยยังบอกเป็นนัยว่าองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีการเตรียมพร้อมน้อยกว่าและมีความกังวลมากกว่าในเรื่องที่ว่าจะแข่งขันได้อย่างไร
การวิจัยเชิงปริมาณ จัดทำขึ้นโดย Vanson Bourne โดยเป็นการตามรอยจากการศึกษาของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ในหัวข้อ "Realizing 2030: The Next Era of Human-Machine Partnerships" การตระหนักถึงปี 2030 ยุคถัดไปของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นการศึกษาที่คาดการณ์ว่าในปี 2030 เทคโนโลยีเกิดใหม่จะผลักดันความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และร่วมมือกันอย่างลึกซึ้งมากกว่าที่เคยมีมา ซึ่งช่วยให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ ได้ ทั้งนี้บรรดาผู้นำธุรกิจในภูมิภาคฯ ต่างเห็นร่วมในเรื่องนี้ ทั้งนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจคาดหวังว่าทั้งมนุษย์และเครื่องจักรกลจะทำงานร่วมกันในองค์กรเหมือนเป็นทีมเดียวกันภายในระยะเวลา 5 ปี
แต่ผู้นำเหล่านี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันถึงเรื่องที่ว่าอนาคตจะนำโอกาสหรือภัยคุกคามมาให้กันแน่ และมีความเห็นแตกแยกในเรื่องของความจำเป็นในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น
- 52 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่ายิ่งเราพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งสูญเสียมากขึ้นเท่านั้น เวลาที่เกิดเหตุโจมตีบนไซเบอร์ ในขณะที่อีก 48 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้สึกกังวลเรื่องนี้
- 53 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจ กำลังเรียกร้องข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสารที่ชัดเจนในกรณีที่เครื่องจักรกลที่ทำงานได้ด้วยตัวเองเกิดล้มเหลว ในขณะที่เกือบครึ่งไม่ออกเสียงในเรื่องนี้
- 49 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องทำการแปลรหัสเพื่อแยกแยะระหว่างคำสั่งที่ดีและคำสั่งที่ไม่ดี ซึ่ง 51 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นความจำเป็นเรื่องดังกล่าว
"คุณจะเข้าใจว่าทำไมชุมชนธุรกิจถึงแบ่งขั้วกันขนาดนั้น" เจเรมี เบอร์ตัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้แสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว "มุมมองเกี่ยวกับอนาคตดูเหมือนจะแตกไปคนละทาง ทั้งความวิตกกังวลจากความล้าหลังของมนุษย์ หรือการมองบวกว่าเทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาสังคมที่ใหญ่ที่สุดได้ มุมมองที่แตกต่างเหล่านี้อาจทำให้องค์กรเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้ยาก และอาจเป็นอุปสรรคกีดความความมุ่งมั่นของผู้นำในการผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น"
เดวิด เว็บสเตอร์ ประธาน APJ Enterprise เดลล์ อีเอ็มซี ให้ความเห็นว่า "การตระหนักถึงความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลจะนำโอกาสในอนาคตมาให้กับผู้คนได้มากพอกับเรื่องของเทคโนโลยี แม้ว่าหลายองค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นกำลังปฏิรูประบบไอทีเพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมในอนาคต และสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ผู้นำธุรกิจก็จะต้องรับมือกับอุปสรรคในเรื่องของวัฒนธรรมเช่นกัน องค์กรจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมในการประสานความร่วมมือ น้อมรับการเปลี่ยนแปลง และดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมให้ดีที่สุดและบรรลุผลสำเร็จ"
อมิต มิธา ประธาน APJ Commercial เดลล์ อีเอ็มซี กล่าวเสริม "เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เป็นจุดศูนย์กลางของนวัตกรรมด้าน AI และ IoT และผลจากเรื่องนี้ก็คือ ความคาดหวังที่ว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่จะนำผลกระทบเชิงบวกมาให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อเมืองต่างๆ ในภูมิภาคฯ แม้ว่าบรรดาผู้นำในภูมิภาคฯ ต่างรับรู้กันดีถึงความไม่พร้อม แต่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ก้าวข้ามความท้าทายในการปฏิรูปที่รออยู่ข้างหน้าได้ โดยความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล จะเข้ามาปฏิวัติวิถีการดำเนินชีวิต การทำงาน และกิจกรรมส่วนตัวในสังคมเมือง"
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ดูจะเป็นเรื่องจริงจัง เพราะถูกขับเคลื่อนด้วยปริมาณข้อมูลและแอปพลิเคชันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล รวมถึงพลังประมวลผลและความสามารถในการเชื่อมต่อที่ควบคุมทั้งหมด ทั้งนี้ 61 เปอร์เซ็นต์ มองว่าบรรดาโรงเรียนควรจะสอนวิธีการเรียนรู้ มากกว่าเน้นเรื่องที่จะสอน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนสำหรับงานที่อาจจะยังไม่มีตำแหน่งเกิดขึ้นจริง ความคิดเรื่องนี้ นับเป็นการยืนยันถึงการคาดการณ์ของ IFTF ที่ว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 ยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้
อุปสรรคที่อยู่รายล้อม
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ธุรกิจมากมายยังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ไม่เร็วพอ และลงลึกไม่มากพอที่จะก้าวข้ามอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเป็นธุรกิจดิจิทัล มีเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรธุรกิจที่เชื่อว่ากำลังไปได้ดี พร้อมกับใส่ดิจิทัลไว้ในทุกสิ่งที่ทำ อีก 44 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้ว่าจะยังสามารถแข่งขันต่อในทศวรรษถัดไปได้หรือไม่ และองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ (63 เปอร์เซ็นต์) กำลังพยายามอย่างมากที่จะก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางต่อการเปลี่ยนองค์กรในภูมิภาคฯ เป็นธุรกิจดิจิทัลได้สำเร็จภายในปี 2030 และต่อๆ ไป ได้แก่
1. การขาดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านดิจิทัล 66 เปอร์เซ็นต์
2. การขาดความพร้อมเรื่องคนทำงาน 63 เปอร์เซ็นต์
3. ข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยี 50 เปอร์เซ็นต์
4. ข้อจำกัดเรื่องเงินและเวลา 37 เปอร์เซ็นต์
5. กฏหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ 20 เปอร์เซ็นต์
จุดร่วมคือต้องการปฏิรูปเหมือนกัน
ผู้นำอาจมีมุมมองต่างขั้วเกี่ยวกับอนาคตและต้องเผชิญกับอุปสรรคที่กีดขวางการเปลี่ยนแปลงต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือต่างต้องการปฏิรูป ในความเป็นจริง องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อว่ากำลังไปได้ดีในการดำเนินการปฏิรูปให้ได้ภายใน 5 ปี แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่ก็ตาม
สิ่งที่น่าจะช่วยให้ปฏิรูปได้สำเร็จภายใน 5 ปี ก็คือ
- มีการป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 93 เปอร์เซ็นต์
- นำเสนอผลิตภัณฑ์ในลักษณะการบริการ 90 เปอร์เซ็นต์
- เปลี่ยนสู่ธุรกิจที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ได้สำเร็จ 89 เปอร์เซ็นต์
- มีการวิจัยและพัฒนาที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า 83 เปอร์เซ็นต์
- มอบประสบการณ์การเชื่อมต่อแบบไฮเปอร์-คอนเน็กท์ให้กับลูกค้าด้วย VR 82 เปอร์เซ็นต์
- ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อรับรู้ความต้องการลูกค้าได้ล่วงหน้า 82 เปอร์เซ็นต์
เบอร์ตัน กล่าวเสริมว่า "เรากำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แม้ว่าผู้นำธุรกิจจะมีความคิดที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับมุมมองของอนาคต แต่บรรดาผู้นำเหล่านี้ต่างมีจุดร่วมเหมือนกัน นั่นคือความต้องการที่จะปฏิรูป จากบทสนทนามากมายที่เราได้พูดคุยกับลูกค้า ผมเชื่อว่าเรากำลังก้าวสู่บทบาทที่สำคัญได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถยึดช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไว้ให้มั่น ปฏิรูประบบไอที รวมถึงคนทำงานและระบบรักษาความปลอดภัย พร้อมโลดแล่นไปสู่บทบาทที่กำหนดอนาคตได้ หรือไม่ก็ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง"
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานการวิจัยเชิงปริมาณ บทสรุปสำหรับผู้บริหารและอินโฟกราฟฟิกต่างๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.delltechnologies.com/realizing2030
- Additional information on Dell Technologies Realizing 2030 initiative can be found, www.delltechnologies.com/realizing2030
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การตระหนักถึงความริเริ่มในปี 2030 ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.delltechnologies.com/realizing2030
- อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ ร่วมมือในการช่วยลูกค้าแก้ปัญหาท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเข้าไปดูรายงานประจำปีสำหรับลูกค้าของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้ที่ Annual Report to Customers
- เชื่อมต่อกับเดลล์ เทคโนโลยีส์ บน Twitter, Facebook, YouTube และ LinkedIn
เกี่ยวกับการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก เดลล์ เทคโนโลยีส์ และจัดทำโดย Vanson Bourne บริษัทวิจัยอิสระ การวิจัยเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน ถึง กรกฏาคม 2017 โดยมีการสำรวจผู้นำธุรกิจ 3,800 รายจากองค์กรขนาดใหญ่ถึงขนาดกลางครอบคลุม 17 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น นิวซีแลนด์ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ผู้ตอบสำรวจมาจาก 12 อุตสาหกรรมและล้วนเป็นผู้ที่มีหน้าที่หลักซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ลูกค้า (ตั้งแต่ระดับเจ้าของบริษัท ไปจนผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายวิจัยและพัฒนา รวมถึงฝ่ายการเงิน ฯลฯ) โดยการวิจัยดังกล่าวจะสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพระหว่างเทคโนโลยี และคน และผลกระทบของเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีต่อธุรกิจและวิถีการทำงาน รวมถึงการวางแผนของบรรดาผู้นำธุรกิจและซีไอโอ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า
เกี่ยวกับ Vanson Bourne
Vanson Bourne เป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระ ด้านการวิจัยตลาดสำหรับภาคเทคโนโลยี ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการวิเคราะห์บนพื้นฐานงานวิจัยที่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยหลักการด้านการวิจัยที่แม่นยำ พร้อมความสามารถในการได้มาซึ่งความคิดเห็นของผู้มีอำนาจตัดสินใจครอบคลุมทุกฟังก์ชันธุรกิจและด้านเทคนิค ในทุกภาคธุรกิจและตลาดสำคัญทั้งหมด รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.vansonbourne.com
เดลล์ เทคโนโลยีส์
เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่มอบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการสร้างอนาคตดิจิทัลให้แก่องค์กรธุรกิจ ทั้งเปลี่ยนรูปแบบของไอที และให้การปกป้องข้อมูลที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ เดลล์ เทคโนโลยีส์ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าทุกขนาดองค์กรใน 180 ประเทศ - เริ่มตั้งแต่ 98 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่จัดอันดับใน Fortune 500 ไปจนถึงลูกค้ารายย่อย – ด้วยสายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดตั้งแต่ปลายทางสู่ส่วนกลางตลอดจนคลาวด์ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ เดลล์ เดลล์ อีเอ็มซี พิโวทอล อาร์เอสเอ ซิเคียวเวิร์คส์ เวอร์ทุสสตรีม และวีเอ็มแวร์