กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--โปร มีเดีย พีอาร์
"ภาครัฐและเอกชนแถลงความพร้อมงาน BioAsia 2007 " และการเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติ The 6th Asian Crop Science Association Conference และ The 2nd International Conference on Rice for the Future ส่วนแสดงพิเศษ พระมหากษัตริย์กับข้าวไทย การประชุมเจรจาธุรกิจตอบรับ 8 ประเทศในเอเชีย และการประกาศรางวัลเคียวทอง
ท่านศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ "ภาครัฐและเอกชนแถลงความพร้อมงานไบโอเอเชีย 2007 หรือ BioAsia 2007 " และการเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติ นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช หรือ The 6th Asian Crop Science Association Conference และ การประชุมนานาชาติข้าวเพื่ออนาคต หรือ The 2nd International Conference on Rice for the Future โดยนักวิจัยชั้นนำของโลก พร้อมการจัดแสดง "พระมหากษัตริย์กับข้าวไทย" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับข้าวไทย การประชุมเจรจาทางธุรกิจประเทศในเอเชีย 8 ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย และการประกาศรางวัลเคียวทอง (The Golden Sickle Award) โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
และผู้ร่วมแถลงข่าวในวันนี้ อาทิ
นางหิรัญญา สุจินัย รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) TCEB และ
นางนงลักษณ์ จิตต์เจนการ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส.แอล.เอ็ม แมเนจเม้นท์ จำกัด
ศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า "งานไบโอเอเชีย 2007 ในปีนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนงานและเข้าร่วมงานโดยบริษัท/ธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากทั้งในและต่างประเทศประมาณ 200 บริษัทจากประเทศ ญี่ปุ่น จีน, ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมนี เบลเยี่ยม เป็นต้น เพื่อพร้อมเปิดเวทีสู่ภูมิภาคเอเชียและยกระดับงานเป็นงานแสดงนานาชาติ และถือเป็นโอกาสสำคัญเพื่อเปิดเวทีความร่วมมือและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยพร้อมแสดงศักยภาพเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งการเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติ นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช หรือ The 6th Asian Crop Science Association Conference และ การประชุมนานาชาติข้าวเพื่ออนาคต หรือ The 2nd International Conference on Rice for the Future โดยนักวิจัยชั้นนำของโลก และมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน" และคาวว่ามีผู้เข้าชมงาน 15,000 คน พร้อมจัดกิจกรรมสำคัญในงาน
โดยการจัดการประชุมนานาชาติ และการจัดกิจกรรมสำคัญในงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 และส่วนงานแสดงสินค้าไบโอเอเชีย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ศ.ดร. ยงยุทธ กล่าวเสริมว่า "การประชุมนานาชาติ เป็นเรื่องของเทคโนโลยีการเกษตร โดยได้จัดการประชุมนานาชาติในปีนี้ขึ้น 2 งานสำคัญ คือ The 6th Asian Crop Science Association Conference และ The 2nd International Conference on Rice for the Future และ The 2nd International Conference on Rice for the Future"
"การประชุมนานาชาติ The 6th Asian Crop Science Association Conference จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยครั้งที่แล้วจัดให้มีขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย และในปีนี้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 6 การประชุมประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช และเป้าหมายสำคัญของการประชุม คือ สร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาการเกษตรทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป และสร้างเครือข่ายนักวิจัยให้ขยายตัวมากขึ้น"
"The 2nd International Conference on Rice for the Future เป็นเวทีที่จัดขึ้นจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานซึ่งได้เห็นร่วมกันว่า ข้าวไทยเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และมีงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ หน่วยงานที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีนี้ ได้แก่ ศูนย์ไบโอเทค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร และ Generation Challenge Program"
ศ.ดร. ยงยุทธ กล่าวเสริมว่า โดยในงานประชุมนี้ จะมีนักวิจัยชั้นนำของโลก เช่น นักวิจัยจากประเทศ อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เป็นต้น มาบรรยาย อาทิเช่น
"กลุ่มนักวิจัยจากโปรแกรม HarvestPlus จะมาบรรยายเกี่ยวกับงานวิจัยที่เน้นการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของประชาคมโลก โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอ ในพืชอาหารหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ขาดสารอาหารแทนการกินยา โดยมี Prof. Peter Beyer จาก University of Freiburg ประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิจัยที่พัฒนาพันธุ์ข้าวสีทองที่มีวิตามินเอเพิ่มมากขึ้น (Golden Rice) และผู้อำนวยการ Dr. Howarth Bouis มาบรรยาย"
"Dr. Robert S. Zeigler เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institue, IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ มาบรรยายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในแถบทวีปเอเชีย เช่น น้ำท่วม แล้ง โรค และแมลงโดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วย" และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำอีกหลายท่านที่มาร่วมบรรยาย
รางวัลเคียวทอง (The Golden Sickle Award)
เป็นการประกาศรางวัลแก่นักวิชาการผู้มีคุณณูปการต่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าวระดับโลก ซึ่งในปีนี้มีนักวิชาการที่ได้รับรางวัล 2 ท่าน ได้แก่
1. Dr. Gurdev Singh Khush, University of California, USA
เป็นผู้พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆมากกว่า 300 สายพันธุ์
2. Prof. Susan McCouch, Cornell University, USA
เป็นนักวิจัยคนแรกๆที่วางแผนที่ยีน ซึ่งต่อมาหาลำดับเบสจีโนมข้าวได้เรียบร้อยแล้ว
โดยทั้งสองท่านจะรับรางวัลและมาบรรยายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ด้วย ในหัวข้อ How to Feed Five Billion Rice Consumers in 2030 และ Through the Genetic Bottleneck: Discovery and Utilization of Wild Alleles for Crop Improvement
ศ.ดร. ยงยุทธ กล่าวเสริมว่า "นิทรรศการ Biotech Pavilion ได้จัดขึ้นให้สอดคล้องกับการจัดการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติในเรื่อง Crop Science และ Rice for the future โดยมีการนำเสนอแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. Seed and Germplasm เป็นการจัดแสดงผลงานการรวบรวมแหล่งพันธุกรรมของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ต่างๆที่มีอยู่หลากหลายในประเทศ ให้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย เพื่อการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน และเพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ที่ดีในรูปแบบดั้งเดิมโดยไม่มีการกลายพันธุ์ โดยเก็บรักษาไว้ในหลากรูปแบบ ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บรักษาต้นกล้าเพื่อการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ โดยจะมีการแจกเมล็ดพันธุ์เพื่อการนำไปเพาะปลูกภายในงานนี้ด้วย
Germplasm ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 5 ชนิด จะได้ถูกนำมาจัดแสดงในงาน
นิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ ข้าวโพด, พริก, แตงกวา, มะเขือเทศ และ กระเจี๊ยบเขียว
2. Rice for the future เป็นการจัดแสดงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่ความต้องการของประเทศ อาทิ ข้าวทนน้ำท่วม ข้าวทนเค็ม และข้าวทนต่อศัตรูพืชต่างๆ รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณค่าทางอาหารที่สูงขึ้น โดยภายในงานนี้ จะได้มีการนำเสนอพันธุ์ข้าวที่ได้ผ่านการประกวดสุดยอดข้าวไทยในด้านต่างๆ อาทิ สุดยอดข้าวทนทาน สุดยอดโภชนาการ และสุดยอดความหอม
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาพันธุ์พืช อาทิ ข้าวหลากสี และข้าวที่มีการพัฒนาทางโภชนาการ ข้าวที่ให้ธาตุเหล็กในปริมาณสูง ข้าวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้นำมาหุงให้ชิมภายในบริเวณงาน
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ Snack Slim ซึ่งเป็นมะเขือเทศผลสด ที่ใช้รับประทานเป็นของว่างเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี ข้าวโพดข้าวเหนียว พริกสด พริกป่น แตงกวาดอง มาจัดแสดงให้แก่ผู้สนใจ "นิทรรศการพระมหากษัตริย์กับข้าวไทย"
นิทรรศการพระมหากษัตริย์กับข้าวไทยในงาน BIO Asia นี้ นอกจากจะนำเสนอ พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัยแล้ว ยังจัดแสดงควบคู่กับการ นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นถึงความสนพระทัยและความเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติของแต่ละพระองค์ จากยุคสมัยกรุงสุโขทัย มาจนถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช ที่ทรงวางรากฐานที่สำคัญแก่เกษตรกรชาวไทยแบบครบวงจร ทั้งในด้านการชลประธาน การจัดตั้งธนาคารข้าว การแก้ปัญหาดินเค็ม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาข้าว จนเป็นที่ประจักษ์ไม่เพียงแต่ผสกนิกรชาวไทย แต่ยังได้แผ่ขยายสู่นักวิชาการและนานาประเทศทั่วโลก
ศ.ดร. ยงยุทธ กล่าวสรุปว่า "BioAsia 2007 และการประชุมนานาชาติ ได้จัดขึ้นโดย บริษัท เอส.แอล.เอ็ม. แมเนจเม้นท์ จำกัด และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสนับสนุนการจัดงานโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ สำนักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)"
นางหิรัญญา สุจินัย รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า "Asia Bio Business Partnering 2007 ได้จัดขึ้นในงานนี้เพื่อเป็นการจัดประชุมหารือทางธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสทางการเจรจาทางธุรกิจระหว่างบริษัทเอกชน/หน่วยงานรัฐที่สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมประมาณ 40 บริษัท จาก 8 ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย"
นางนงลักษณ์ จิตต์เจนการ ในฐานะผู้จัดงาน BioAsia 2007 กล่าวว่า งาน BioAsia 2007 นับว่าเป็นงานแสดงนวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ งานเดียวที่ครอบคลุมทั้งในส่วนงานวิจัย การนำเสนอเทคโนโลยี และการแสดงสินค้าจากทั้งในและต่างประเทศ โดยงานในปีนี้ มีจำนวนกว่า 200 บริษัท เข้าร่วมแสดงสินค้า นำเสนองานวิจัย และผลงาน อาทิ ประกอบด้วยภาคส่วนต่าง ๆจากเอกชน และสถาบันการศึกษา เช่น ม. วิทยาลัยมหิดล, ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ ม. เกษตรศาสตร์ เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานได้นำผลงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการมานำเสนอในรูปแบบที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ และนักวิจัยที่ชำนาญการให้คำแนะนำ ตลอดทั้งงาน การเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ การนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อการลงทุนเชิงพาณิชย์ ความร่วมมือทางธุรกิจ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยให้ความสำคัญเพื่อใช้เวทีของงานดังกล่าวและให้มีการขยายตัวของภาคธุรกิจในประเทศและการพัฒนาด้านวิจัยและการแลกเปลี่ยนทางความรู้ และสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาค"
นอกจากนี้งาน BioAsia 2007 และการประชุมนานาชาติ ยังได้ประชาสัมพันธ์งานในรูปแบบของ Digital Streaming & Broadcasting System และประชาสัมพันธ์ในรูปของ E-Book, E-Newsletter และแผนประชาสัมพันธ์ สิ่งพิมพ์และโฆษณา บิลบอร์ด เป็นต้น เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 15,000 คน และผู้เข้าร่วมประชุม 2,000 คน และบริษัทชั้นนำเข้าร่วมแสดงกว่า 200 บริษัท สามารถเข้าชมเว็บไซด์ www.bioasia-2007.com ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางด้านไบโอเทคโนโลยี และการประชุมนานาชาติ เปิดให้เข้าชมงานในระหว่างวันที่ 5 — 9 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องเพลนารี ฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
คุณภัทรพร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โปร มีเดีย พีอาร์ จำกัด
โทร 02-632-6728-9 แฟกซ์ 02-632-6729 หรือ มือถือ 081-843-0868
อีเมล์: amy@promedia-pr.com, amytan67@yahoo.com
Contact: Ms. Amy Tan, PR Director
Pro Media PR Co., Ltd.
Email: amy@promedia-pr.com