กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
ปัจจุบันนอกจากเราจะพบสินค้าเกษตรประเภทพืช ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ภายใต้สัญลักษณ์"Q"แล้ว เราจะเริ่มเห็นข้าวสารภายใต้แบรนด์ "Q" วางจำหน่ายในตลาดหลากหลายขึ้น การผลักดันข้าวสารภายใต้แบรนด์ "Q" เกิดจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเกษตรระบบแปลงใหญ่ โดยมุ่งลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของสินค้าเกษตร โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญคือ การผลักดันโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าข้าวสาร Q ทั้งระบบครบวงจรโดยนำร่องขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดแรกและเป็นต้นแบบสำหรับการขยายไปในพื้นที่อื่นๆที่เป็นแหล่งผลิตข้าวของประเทศ
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช.ได้บูรณาการร่วมกับกรมการข้าวกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดศรีสะเกษดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบการผลิตข้าว Q นำร่องในพื้นที่อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ มุ่งพัฒนายกระดับการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยส่งเสริมและผลักดันแหล่งปลูกข้าวให้ได้รับรองมาตรฐานจีเอพี(GAP)โรงสีข้าวได้รับมาตรฐานจีเอ็มพี(GMP) และผลิตภัณฑ์ข้าวสารต้องผ่านการตรวจสอบรับรองคุณภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ร้อยเอ็ดและจังหวัดพัทลุง เป็นต้น
เบื้องต้นได้พัฒนาต้นแบบการผลิตข้าว Q ให้กับสหกรณ์การเกษตรกันทรลักษณ์ จำกัด สมาชิก จำนวน 36 ราย รวมพื้นที่ 507 ไร่ ดำเนินการผลิตข้าวเปลือกภายใต้ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรบ้านโนนแสนสุข แปลงใหญ่กลุ่มปรือคัน1 ปรือคัน2 กันทรารมย์ บ้านค้อปอ1 และบ้านค้อปอ2 ซึ่งได้ยกระดับการผลิตข้าวหอมมะลิเข้าสู่มาตรฐาน GAP (มกษ.4400-2552) ขณะเดียวกันยังได้ผลักดันโรงสีของสหกรณ์ฯให้ได้รับรองมาตรฐาน GMP ของโคเด็กซ์ (Codex) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวสาร Q ทั้งระบบครบวงจร รวมถึงการบริหารจัดการเชื่อมโยงข้าวเปลือกอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
"มกอช.ได้เติมเต็มองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่โรงสีของสหกรณ์ฯและสมาชิก ให้มีความเข้าใจในหลักการและแนวทางผลิตข้าวสาร Q ตามหลักเกณฑ์การรับรองผลิตภัณฑ์ (product certification) ของสินค้าข้าว รวมถึงระบบการผลิต GMP สำหรับโรงสีเพื่อการผลิตข้าวสาร Q และคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิ ทั้งยังฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพข้าวทางเคมีและกายภาพ และระบบการผลิตข้าวเปลือก GAP
นอกจากนั้น ยังได้บูรณาการวางแผนการเกี่ยวข้าวและบริหารจัดการรถเกี่ยวข้าวให้กลุ่มเกษตรกรในโครงการฯ พร้อมแนะนำวิธีลดความชื้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ข้าวเปลือกคุณภาพสอดคล้องตามมาตรฐาน และได้ประสานผู้ตรวจประเมินจากกรมการข้าวให้ตรวจประเมินและรับรองข้าวสาร Q ของกลุ่มฯดังกล่าวด้วย ซึ่งในปีแรกนี้ได้ผลผลิตข้าวสาร Q รวมกว่า 12 ตัน" เลขาธิการ มกอช. กล่าว
นางสาวเสริมสุข กล่าวอีกว่า เพื่อให้สินค้าข้าวสาร Q มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค มกอช.ได้ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสาร Q ให้กับโรงสีต้นแบบฯเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า มีทั้งขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม 500 กรัม และ 250 กรัม ภายใต้แบรนด์ (brand) เฉพาะว่า"ข้าวสาร Q" ถือเป็นข้าวสารคุณภาพระดับพรีเมี่ยม ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ นอกจากนี้ มกอช.ยังได้ส่งเสริมให้จัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าข้าวสาร Q ด้วยคิวอาร์เทรซ (QR Trace) พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดโดยประสานโมเดิร์นเทรด(Modern Trade) ให้นำข้าวสาร Q ไปวางจำหน่าย
นอกจากนี้ มกอช.จะผสานกับธุรกิจขายปลีกยุคใหม่(โมเดิร์นเทรด) ห้องอาหาร โรงหมอ ให้นำข้าวสาร Q ไปวางขาย หรือเอาไปใช้ทำกับข้าว และก็สนับสนุนการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ เช่น ทางเว็บไซต์ดีจีทีฟาร์มดอทคอม (www.dgtfarm.com) ด้วย เพื่อลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ข้าวสาร Q เพื่อขยายฐานการตลาด และผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันมีสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวสาร และผู้ประกอบธุรกิจโรงสี 57 ราย ร่วมโครงการฯ ซึ่งการผลิตข้าวสาร Q ผู้ประกอบธุรกิจหรือสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวสาร ควรจะมีโรงสีที่ได้รับการยืนยันมาตรฐาน GMP รวมทั้งรับซื้อข้าวเปลือกจากแปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานGAP ซึ่งผ่านการตรวจรับรองคุณภาพ และความปลอดภัย จึงจะสามารถได้รับสัญลักษณ์ยืนยันข้าวสาร "Q
อีกทั้ง ยังส่งเสริมการออกบูธแสดงสินค้าในงานโรดโชว์ต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวสาร Q ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าข้าวสาร Q เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากผู้บริโภคจะได้รับข้าวสารคุณภาพเกรดพรีเมี่ยมและมีความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรได้กำไรเพิ่มขึ้นจากการขายข้าวเปลือกตันละ 200-500 บาทและโรงสีสหกรณ์ฯสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาสูงขึ้นจาก 28 บาท เป็น 40 บาทสำหรับบรรจุภัณฑ์ขนาด 5 กิโลกรัม และขายได้ราคา 50, 35 และ 30 บาท สำหรับขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม 500 กรัม และ 250 กรัมตามลำดับ
ทั้งนี้ ในปี 2561 นี้ มกอช.ได้มีแผนเร่งพัฒนาต่อยอดโครงการฯดังกล่าวตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงนาข้าวแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP พร้อมส่งเสริมให้โรงสีข้าว GMP ที่มีกว่า 100 แห่ง เข้าร่วมผลิตข้าวสาร Q เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวสารให้ตรงตามความต้องการของตลาด และเป็นที่ยอมรับของผู้ค้าและผู้ส่งออก อนาคตเชื่อมั่นว่า ข้าวสาร Q จะได้รับการตอบรับดีและเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น