กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
การกีดกันทางเพศสามารถกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าทางธุรกิจของผู้หญิง
ผลสำรวจดัชนีสตรีเจ้าของธุรกิจโดยมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs) ครั้งที่ 2 เปิดเผยเร็วๆ นี้ว่า ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจในระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะมีโอกาสดีกว่ากลุ่มที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่ สาเหตุเพราะสามารถเข้าถึงตัวช่วยและโอกาสต่างๆ ได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น เงินลงทุน บริการทางการเงินและโปรแกรมการศึกษาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม การศึกษาดัชนีสตรีเจ้าของธุรกิจของมาสเตอร์การ์ดสนับสนุนให้ผู้หญิงไทยก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะเป็นลู่ทางที่ให้โอกาสที่ดีกว่า โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 15 (65.8) ของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยประเทศในกลุ่มนี้ อาทิ ฟิลิปปินส์ (68.0 อันดับที่ 9) บอสวาน่า (66.5อันดับที่ 14) ไทย โปแลนด์ (65.4 อันดับที่ 19) และคอสตาริก้า (65.0 อันดับที่ 20) อาจจะไม่มีเงื่อนไขที่สนับสนุนเจ้าของธุรกิจที่ดีพอ แต่กลับมีสตรีที่มีบทบาทโดดเด่นในฐานะเจ้าของธุรกิจ กลุ่มวิชาชีพและกลุ่มช่างฝีมือ
รายงานยังระบุว่าเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงทั้งกลุ่มที่เพิ่งเริ่มธุรกิจและกลุ่มที่ธุรกิจอยู่ตัวแล้ว ยังคงพัฒนาธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องถึงแม้จะเผชิญความไม่เท่าเทียมกันเพราะการกีดกันทางเพศ ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันนี้สามารถกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าทางธุรกิจของผู้หญิงเหล่านี้ได้
การวิจัยของมาสเตอร์การ์ดติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของนักธุรกิจหญิงและเจ้าของธุรกิจหญิงใน 57 ประเทศเป้าหมายคลอบคลุมทั้งห้าทวีป ได้แก่ เอเซียแปซิฟิก ยุโรป ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกาและอเมริกาเหนือ ทั้งนี้ มาร์ติน่า ฮุนด์-มิฌอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า "ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจทั่วโลกล้วนน่าทึ่งที่ทำงานอย่างเต็มที่ เราเชื่อว่า เราสามารถสนับสนุนพวกเธอให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจและดำเนินชีวิตที่มีฐานะมั่นคงและมีคุณค่ายิ่งขึ้นโดยไม่เพิกเฉยในการต่อสู้และความพยายามของพวกเธอ"
ทั้งนี้ ผลสำรวจดัชนีเจ้าของธุรกิจหญิงของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs) ระบุว่า ประเทศที่มีเงื่อนไขและให้โอกาสแก่ผู้หญิงในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด 10 อันดับแรกคือ
1. นิวซีแลนด์ - 74.2 คะแนน 6. โปรตุเกส – 69.1 คะแนน
2. สวีเดน – 71.3 คะแนน 7. ออสเตรเลีย – 68.9 คะแนน
3. แคนาดา – 70.9 คะแนน 8. เบลเยียยม – 68.7 คะแนน
4. สหรัฐอเมริกา – 70.8 คะแนน 9. ฟิลิปปินส์ – 68.0 คะแนน
5. สิงคโปร์ – 69.2 คะแนน 10. สหราชอาณาจักร – 67.9 คะแนน
การศึกษายังพบอีกด้วยว่า ในประเทศที่ระบบเศรษฐกิจพัฒนาแล้วและมีเงื่อนไขชัดเจนในการสนับสนุนผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจก็ไม่ได้ปลอดจากการความลำเอียงทางเพศ ในประเทศนิวซีแลนด์ การสำรวจพบว่า คนในประเทศไม่ใส่ใจต่อประเด็นการทำธุรกิจของผู้หญิง ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจในนิวซีแลนด์ก้าวพ้นความท้าทายต่างๆ จนมาอยู่อันดับที่หนึ่ง สองปีติดต่อกัน
ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาของมาสเตอร์การ์ดเสนอว่าโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจของผู้หญิงไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเสมอไป ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเช่นกานา (46.4%) หนึ่งในสามประเทศที่เพิ่งเพิ่มเข้าในการศึกษาครั้งนี้ (กานา มาลาวีและไนจีเรีย) อูกานดา (33.8%) และเวียดนาม (31.3%) มีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว เพราะผู้หญิงในประเทศเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของธุรกิจ เพื่อการอยู่รอด ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนและบริการต่างๆ
10 ประเทศที่มีจำนวนสตรีเจ้าของธุรกิจมากที่สุดเมื่อเทียบกับเจ้าของธุรกิจทั้งหมด
1. กานา – 46.4% 6. เวียตนาม – 31.3%
2. รัสเซีย - 34.6% 7. โปแลนด์ – 30.3%
3. อูกานดา – 33.8% 8. สเปน – 29.4%
4. นิวซีแลนด์ – 33.0% 9. โรมาเนีย – 28.9%
5. ออสเตรเลีย – 32.1% 10. โปรตุเกส – 28.7%
นางแอนน์ คาร์นส์ ประธานกลุ่มตลาดนานาชาติ มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า "ในโอกาสวันสตรีสากลในเดือนมีนาคมนี้ เราหวังว่าข้อมูลจากการศึกษาของเราจะช่วยย้ำเตือนให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ให้เพิ่มการสนับสนุนแก่นักธุรกิจหญิงและผู้หญิงที่กำลังเติบโตในอนาคตในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการเงินและโอกาสทางการศึกษาที่กว้างขึ้น"
วิธีการศึกษา
ดัชนีสตรีเจ้าของธุรกิจของมาสเตอร์การ์ดติดตามศึกษาความสามารถของเจ้าของธุรกิจหญิงที่จะใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขสนับสนุนต่างๆ ที่ได้รับภายในสภาพแวดล้อมในประเทศของตน โดยพิจารณาควบคู่ไปกับองค์ประกอบอีก 3 ประการคือ 1) ผลด้านความก้าวหน้าของผู้หญิง (ระดับความอคติที่มีต่อผู้หญิงในฐานะบุคลากรในสถานที่ทำงาน นักการเมืองและผู้นำทางธุรกิจ รวมทั้งความมั่นคงทางการเงินและแนวโน้มของสตรีที่จะก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ) 2) สินทรัพย์ทางความรู้และทางการเงิน (ระดับของผู้หญิงในการเข้าถึงการบริการทางการเงินพื้นฐาน สินทรัพย์ทางความรู้ที่ทันสมัยและการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง) 3) เงื่อนไขที่สนับสนุนธุรกิจ (ภาพรวมในการทำธุรกิจท้องถิ่น ประสิทธิภาพของการปกครองท้องถิ่น ความคิดของผู้หญิงเกี่ยวกับระดับความปลอดภัยและความคิดทางวัฒนธรรมที่มีต่อการเงินในครัวเรือนของผู้หญิง)
ดัชนีของมาสเตอร์การ์ดใช้ตัวบ่งชี้ 12 ตัวและตัวบ่งชี้ย่อย 25 ตัวเพื่อจับตาดูตลาดเศรษฐกิจ 57 ตลาดทั่วทวีปเอเซียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกาและยุโรป แสดงถึง 78.6% กำลังแรงงานของผู้หญิงในโลก แตกต่างกันไปในระดับของ 3 ปัจจัยข้างต้น
เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด
MasterCard (NYSE: MA เว็บไซต์ www.Mastercard.com ) เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับสากล บริษัทฯ ดำเนินงานผ่านเครือข่ายกระบวนการชำระเงินที่รวดเร็วที่สุดในโลก เชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ค้า หน่วยงานรัฐบาล และ ธุรกิจในกว่า 210 ประเทศ ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ได้ทาง ทวิตเตอร์ที่ @MastercardNews ร่วมสนทนากับบริษัทฯ ผ่านทาง Beyond the Transaction Blog และ สมัครที่นี่ เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau