กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ทีมนักศึกษา อาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนึกกำลังสร้างผลงาน นวัตกรรม กึ่งอัตโนมัติ mobile application โดยใช้ เทคโนโลยี building information modeling (BIM) และ cloud คว้ารางวัลชนะเลิศ โครงการ Young CIA Award ก่อ ร่าง สร้าง นวัตกรรม พร้อมรับเงินรางวัล 1 แสนบาท จัดโดย BUILK ONE GROUP ร่วมมือกับ MILLCON STEEL และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วย นายธกร วสุโภคิน และ นางสาวธัญญารัตน์ วังคะฮาด นักศึกษาชั้นปีที่4 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนึกกำลัง นำทีม AIC Ontime สร้างผลงาน นวัตกรรม กิ่งอัตโนมัติ mobile application โดยใช้ เทคโนโลยี building information modeling (BIM) และ cloud นำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการในงาน รักเหมา Fest 2018 ณ Airport Rail Link Makkasan คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมรับเงินรางวัล 100,000 บาท จากการประกวดแข่งขันในโครงการ "Young CIA Award ก่อ ร่าง สร้าง นวัตกรรม" นวัตกรรมเพื่องานก่อสร้าง จัดโดย BUILK ONE GROUP ร่วมมือกับ MILLCON STEEL และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU กล่าวว่า ผลงาน Semi-Automated BIM using cloud-based mobile application for investigating sanitary systems ที่คว้ารางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ เป็นนวัตกรรม กึ่งอัตโนมัติ mobile application โดยใช้ เทคโนโลยี building information modeling (BIM) และ cloud ใช้ในการตรวจสอบ งานติดตั้งระบบสุขาภิบาล ลดต้นทุนการทำงาน ความผิดพลาดการทำงานที่เกิดขึ้นระหว่าง การติดตั้ง รวมถึงได้ แบบ as-built งานติดตั้งเมื่อติดตั้งเสร็จ ใช้ทีมงานการทำงานที่น้อยแต่ขยายขอบเขตธุรกิจได้มหาศาล
ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU กล่าวเพิ่มเติมว่า การแข่งขันในครั้งนี้เป็นการแข่งขันแบบ Open คือ เปิดรับสมัครผลงาน นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง ระดับนิสิตนักศึกษา (ปริญญาตรี-โท-เอก) จากทุกสถาบันการศึกษา ไม่จำกัดสาขาวิชา หรือบุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 35 ปี นำเสนองานวิจัย หรือสิ่งประดิษฐ์ โดยนวัตกรรมดังกล่าว ต้องมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ และ/หรือ ลดความเสี่ยง ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และมีศักยภาพในการทำเป็นธุรกิจ (Commercialization)
ซึ่งทีมจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นทีมจากสถาบันการศึกษาเอกชนทีมเดียวที่ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยทีมส่วนใหญ่เป็นทีมจาก สถาบันการศึกษาของรัฐ,บริษัทผู้รับเหมาต่างๆ และทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาครองได้ โดยภายในทีมในครั้งนี้ได้มี นายสมเกียรติ โสะหาบ ศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้า นายวสก วิชสัญกุล ศิษย์เก่าวิศวกรรมเครื่องกล เป็นทีมสนับสนุน และมี ดร.เทพฤทธิ์ ทองชุบ และผศ.ดร.ไพจิตร ผาวัน อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU เป็นทีมที่ปรึกษา