SCB ประกาศผลประกอบการ ปี 2547

ข่าวทั่วไป Wednesday January 19, 2005 15:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--ธ.ไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการและฐานะการเงินประจำปี 2547
ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ
ธนาคารไทยพาณิชย์แจ้งผลประกอบการประจำปี 2547 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ
มีกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์จำนวน 18,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.4 จากจำนวน 12,460 ล้าน
บาทในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยซึ่งรวมถึง รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ
ส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทย่อย/ร่วม และกำไรจากเงินลงทุน
สำหรับกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2547 มีจำนวน 3,125 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากจำนวน
3,637 ล้านบาทในไตรมาสก่อน ใน ไตรมาสนี้ ธนาคารมีรายได้จากเงินลงทุนจำนวน 2,396 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ธนาคารตั้งสำรองเผื่อการเกษียณของพนักงานและสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า
"ผลประกอบการของธนาคารในปี 2547 ถือเป็นกำไรสุทธิที่สูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมา โดย
กำไรจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากตามนโยบายของธนาคารที่มีการขายหุ้นในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ซึ่งบางส่วน
มาจากการปรับโครงสร้างหนี้ ขณะเดียวกัน ผลการดำเนินงานในธุรกิจหลักดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินเชื่อมีการ
ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.4 โดยเป็นการเติบโตในทุกๆกลุ่มธุรกิจ ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net
Interest Margin) ปรับตัวดีขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมและส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทในเครือก็ยังคงเติบโต
อย่างต่อเนื่อง"
สำหรับการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ คุณหญิงชฎากล่าวว่า
"ในไตรมาสนี้ ธนาคารได้มีการตั้งสำรองเพิ่มซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศ
ไทยสำหรับหนี้ที่ค้างชำระเกิน 24 เดือนบางรายที่ธนาคารไม่ฟ้องคดีเนื่องจากธนาคารเห็นว่าเป็นทางเลือก
ที่ดีกว่าในการรักษามูลค่าของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ธนาคารยังได้มีการตั้งสำรองเป็นการทั่วไปในงวดนี้เพิ่มเพื่อ
เร่งการตั้งสำรองทั่วไปให้เร็วขึ้น จนมีสำรองส่วนนี้ครบตามเป้าหมายร้อยละ 2 ของสินเชื่อที่ไม่ใช่ NPLs
ทำให้ธนาคารมีสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ สิ้นปี 2547 สูงถึง 69,866 ล้านบาทหรือร้อยละ 87.0 ของ
NPLs จำนวน 80,340 ล้านบาทหรือร้อยละ 14.0 ของสินเชื่อรวม ซึ่งเป็นระดับสำรองที่เพียงพอสำหรับการ
รองรับความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงภัยพิบัติในภาคใต้"
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ได้กล่าวเสริมว่า
"จากนโยบายของธนาคารในการเป็นสถาบันการเงินที่ครบวงจรที่แท้จริงรวมถึงการสร้างราก
ฐานในการดำเนินธุรกิจในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ธนาคารมีผลประกอบการที่โดดเด่นพร้อมกับความแข็งแกร่ง
ด้านการเงิน ขณะนี้ธนาคารมีความพร้อมที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2548 โดยจะเน้นความร่วมมืออย่าง
ใกล้ชิดของบริษัทในกลุ่มไทยพาณิชย์ และการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งผ่านเครือข่ายที่กว้างขวาง บริการ
และผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครบถ้วนเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าของธนาคาร"
รายละเอียดผลประกอบการที่สำคัญสำหรับปี 2547 มีดังต่อไปนี้
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิมีจำนวน 20,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากปีก่อน
เป็นผลจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงมากกว่ารายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ลดลง โดยในไตรมาส 4/2547
ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 5,914 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 740 ล้านบาท และ 769 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส 4/2546 ตามลำดับ
(ล้านบาท)
2547 2546 % yoy
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 26,718 27,439 -2.60%
- เงินให้สินเชื่อ 21,631 21,400 1.10%
- รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 965 1,014 -4.80%
- เงินลงทุน 4,122 5,025 -18.00%
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 5,972 8,364 -28.60%
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 20,746 19,075 8.80%
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ 2.79% 2.67%
ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อจำนวน 21,631 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 230 ล้าน
บาทจากปีก่อนเนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อ ส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับจากเงินลงทุนมีจำนวน
4,122 ล้านบาทลดลง 903 ล้านบาทจากปีก่อน จากการลดลงของเงินลงทุนในตราสารหนี้
ดอกเบี้ยจ่ายของธนาคารในปีนี้มีจำนวน 5,972 ล้านบาท ลดลง 2,392 ล้านบาทหรือร้อยละ
28.6จากปีที่ผ่านมา โดยดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินฝากลดลง 2,079 ล้านบาท จากการลดลงของอัตราดอก
เบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนและการเปลี่ยนสัดส่วนของเงินฝากประจำเป็นเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่ง
เป็นผลจากการขยายธุรกิจบริการบริหารเงินสด ส่วนดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมทั้งระยะสั้นและระยะยาวลดลง 262
ล้านบาทเนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิจำนวน 3,810 ล้านบาทและ 1,851 ล้านบาทได้ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือน
มกราคมและพฤศจิกายน 2547 ตามลำดับ รวมถึงการแปลงหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลบาท (ที่ออกขายให้นักลงทุนใน
ประเทศในปี 2541) เป็นหุ้นทุนในปีนี้จำนวน 2,112 ล้านบาท
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ปรับตัวดีขึ้นขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายลดลงทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย
สุทธิ (Net Interest Margin) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.67 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 2.79 ในปีนี้
สำหรับไตรมาส 4/2547 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.11 จากร้อยละ 2.71 ใน
ไตรมาสก่อนจากทั้งสินเชื่อปกติและดอกเบี้ยรับพิเศษจากการปรับโครงสร้างหนี้ 450 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่
รวมดอกเบี้ยจากการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาสนี้คิดเป็นร้อยละ 2.87
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปีนี้จำนวน 19,077 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,780 ล้านบาทจาก
ปีก่อนโดยมีรายการหลักคือกำไรจากเงินลงทุนซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 205 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 8,054 ล้าน
บาทในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของธนาคารในการลดการลงทุนในกิจการที่ดำเนินธุรกิจไม่เกี่ยวกับธุรกิจ
การเงิน
นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 1,634 ล้านบาทหรือร้อยละ 26.6 เป็น 7,775
ล้านบาทจากการขยายตัวของธุรกิจ Bancassurance ธุรกิจบัตร และธุรกิจบริการบริหารเงินสด
(Business Cash Management) ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 408 ล้านบาทเป็น
1,403 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากบริษัทหลักทรัพย์ที่มีผลประกอบการดีขึ้นตามภาวะตลาดหลักทรัพย์ และ
การที่ธนาคารเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมแห่งหนึ่งในปีนี้
กำไรจากการปริวรรตมีจำนวน 1,487 ล้านบาท ลดลง 419 ล้านบาทจากปีก่อนเนื่องจากใน
ปีนี้มีค่าใช้จ่ายในสัญญาอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รายได้อื่นเพิ่มขึ้น 309 ล้านบาทเป็นผลจากกำไรจากการขาย
สินทรัพย์รวมถึงสินทรัพย์รอการขาย
(ล้านบาท)
1. 2547 2546 % yoy
ค่าธรรมเนียมและบริการ 7,775 6,142 26.60%
- การรับรอง รับอาวัล และค้ำประกัน 708 669 5.90%
- อื่นๆ 7,067 5,473 29.10%
กำไรจากการปริวรรต 1,487 1,906 -22.00%
รายได้อื่น 358 50 623.50%
รวมรายได้จากธุรกิจหลัก 9,621 8,098 18.80%
กำไรจากเงินลงทุน 8,054 205 3821.80%
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วม 1,403 995 41.00%
รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 19,077 9,298 105.20%
สำหรับไตรมาส 4/2547 ธนาคารบันทึกกำไรจากเงินลงทุน 2,396 ล้านบาทจากการขาย
เงินลงทุนที่มิใช่ธุรกิจหลักของธนาคาร เทียบกับขาดทุนจากเงินลงทุน 16 ล้านบาทในไตรมาสก่อน ทำให้
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยรวมมีจำนวน 5,209 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2,260 ล้านบาทในไตรมาสก่อน
ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย
ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2547 มีจำนวน 16,410 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 13,512 ล้าน
บาทในปีก่อน โดยค่าใช้จ่ายพนักงานเพิ่มขึ้น 1,562 ล้านบาทจากการตั้งสำรองเผื่อการเกษียณของพนักงาน
การจ่ายโบนัสพิเศษ ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมพนักงานและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร
สถานที่และอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 708 ล้านบาทส่วนใหญ่จากการปรับปรุงและเพิ่มจำนวนสาขาทั่วประเทศ และ ค่า
ใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จากรายการส่งเสริมการขาย
(ล้านบาท)
2547 2546 % yoy
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 5,890 4,328 36.10%
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ 3,501 2,793 25.40%
ค่าภาษีอากร 1,199 1,246 -3.70%
ค่าธรรมเนียมและบริการ 1,629 1,451 12.30%
ค่าตอบแทนกรรมการ 69 40 74.30%
เงินสบทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2,459 2,343 4.90%
ค่าเผื่อการด้อยค่าและค่าเผื่อค่าใช้จ่ายในการขาย 0 390 -100.00%
สินทรัพย์รอการขาย
ค่าใช้จ่ายอื่น 1,662 923 80.20%
รวมค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 16,410 13,512 21.40%
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน 54.00% 48.30%
สำหรับไตรมาส 4/2547 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 4,882 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1,003
ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 716 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมและบริการ 112 ล้านบาท ค่าใช้
จ่ายอื่น 103 ล้านบาท อาคาร สถานที่และอุปกรณ์ 40 ล้านบาทและค่าภาษีอากร 34 ล้านบาท
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ร้อยละ 48.3 เป็นร้อยละ
54.0ในปีนี้ สำหรับไตรมาส 4/2547 อัตราส่วนดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 57.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.7
ในไตรมาส ก่อนสาเหตุหลักจากการตั้งสำรองเผื่อการเกษียณของพนักงานในไตรมาสนี้
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ในไตรมาส 4/2547 ธนาคารมีการตั้งสำรองจากเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ธนา
คารตั้งสำรองเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 24 เดือนและธนาคารไม่ฟ้องคดี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ
ธนาคารสำหรับลูกหนี้บางรายที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมสำหรับ
สำรองเป็นการทั่วไปเพื่อให้สำรองสำหรับหนี้ที่ไม่ใช่ NPLs เท่ากับร้อยละ 2 ทำให้ธนาคารตั้งสำรองใน
ไตรมาส 4/2547 จำนวน 3,100 ล้านบาท รวมทั้งปีเท่ากับ 4,900 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
ธนาคารมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งสิ้น 69,866 ล้านบาท และมีอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสิน
เชื่อด้อยคุณภาพร้อยละ 87.0
งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
สินเชื่อและเงินฝาก
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 ธนาคารมียอดสินเชื่อจำนวน 563,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57,579
ล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 จากสิ้นปี 2546 และลดลง 1,258 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อน
สินเชื่อทั่วไป (Good Bank) ของธนาคารเพิ่มขึ้นสุทธิจากสิ้นปี 78,267 ล้านบาท หรือร้อยละ
19.9 และเพิ่มขึ้น 4,467 ล้านบาทหรือร้อยละ 1.0 จากไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่สินเชื่อกลุ่มจัดการทรัพย์สิน
(Bad Bank) ลดลง 20,688 ล้านบาทหรือร้อยละ 18.4 โดยเป็นการลดลงในไตรมาส 4/2547 จำนวน
5,724 ล้านบาท
สินเชื่อของธนาคารยังขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่ม สินเชื่อบุคคลยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น
39,075 ล้าน (ล้านบาท)
1. เงินให้สินเชื่อ 31 ธ.ค. 47 31 ธ.ค. 46 % yoy
สินเชื่อทั่วไป (Good Bank) 471,881 393,613 19.90%
- ธุรกิจขนาดใหญ่ 218,056 197,514 10.40%
- ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 98,030 79,379 23.50%
- สินเชื่อบุคคล 155,795 116,720 33.50%
สินเชื่อกลุ่มจัดการทรัพย์สิน (Bad Bank) 91,992 112,680 -18.40%
รวมเงินให้สินเชื่อ 563,873 506,293 11.40%
เงินฝาก ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 624,718 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 จำนวน 17,586
ล้านบาท (ร้อยละ 2.9) โดยในไตรมาส 4/2547 เงินฝากลดลงจำนวน 23,904 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.7
จาก ไตรมาสที่ผ่านมา
(ล้านบาท)
เงินฝาก ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 624,718 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 จำนวน 17,586
ล้านบาท (ร้อยละ 2.9) โดยในไตรมาส 4/2547 เงินฝากลดลงจำนวน 23,904 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.7
จาก ไตรมาสที่ผ่านมา
(ล้านบาท)
1. เงินฝาก 31 ธ.ค. 47 31 ธ.ค. 46 % yoy
จ่ายคืนเมื่อทวงถาม 27,085 25,760 5.10%
ออมทรัพย์ 317,202 278,448 13.90%
จ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา
- ไม่ถึง 6 เดือน 196,544 211,106 -6.90%
- 6 เดือนไม่ถึง 1 ปี 17,241 18,951 -9.00%
- 1 ปีขึ้นไป 66,648 72,867 -8.50%
รวมเงินฝาก 624,718 607,132 2.90%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก 90.30% 83.40%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อ (หลังหักสำรอง) ต่อเงินฝาก 79.10% 73.20%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อ(หลังหักสำรอง) ต่อเงินฝาก ณ 31 ธันวาคม 2547 เท่ากับร้อยละ 79.1
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73.2 เมื่อสิ้นปี 2546 จากการเติบโตของสินเชื่อที่สูงกว่าเงินฝาก
เงินลงทุนในหลักทรัพย์
เงินลงทุนในหลักทรัพย์มีจำนวน 130,769 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.4 จากสิ้นปี 2546 และ
ลดลงร้อยละ 5.8 จากไตรมาสก่อน เป็นไปตามนโยบายเงินลงทุนของธนาคาร
(ล้านบาท)
1. เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 31 ธ.ค. 47 31 ธ.ค. 46 % yoy
- เงินลงทุนชั่วคราวสุทธิ 30,123 37,815 -20.30%
- เงินลงทุนระยะยาวสุทธิ 81,939 95,526 -14.20%
- เงินลงทุนในบริษัทย่อย/ร่วม 18,706 14,258 31.20%
รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 130,769 147,600 -11.40%
เงินกู้ยืม
เงินกู้ยืมมีจำนวน 16,210 ล้านบาท ลดลง 7,833 ล้านบาทหรือร้อยละ 32.6 จากสิ้นปี
2546 เนื่องจากการชำระคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพสกุลเงินเหรียญสหรัฐที่ครบอายุจำนวน 3,810 ล้านบาท
ในเดือนมกราคมและการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเยนจำนวน 1,851 ล้านบาทในเดือนพฤศจิกายน และการ
ใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ด้อยสิทธิประเภทไม่มีหลักประกันในปี 2547 จำนวนรวม 2,112 ล้านบาท
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคาร ณ 31 ธันวาคม 2547 มีจำนวน 82,035 ล้านบาท หรือคิดเป็น
มูลค่าตามบัญชี 24.52 บาทต่อหุ้น (จำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ณ สิ้นปี 2547 รวม 3,346 ล้านหุ้น)
เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 จำนวน 6,511 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญดังนี้
กำไรประจำปีจำนวน 18,489 ล้านบาท
การแปลงสภาพหุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ และการใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ
หุ้นบุริมสิทธิ จำนวนรวม 6,448 ล้านบาท
ส่วนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนลดลง 13,910 ล้านบาท จากการขาย หลัก
ทรัพย์และการลดลงของมูลค่าหุ้นตามภาวะตลาด
การจ่ายเงินปันผลในเดือนเมษายนจำนวน 4,486 ล้านบาท
เงินกองทุนตามกฎหมาย
เงินกองทุนตามกฎหมาย (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2) ณ 31 ธันวาคม 2547 มีจำนวน 85,569
ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 15.3 ของสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 63,374
ล้านบาทหรือประมาณร้อยละ 11.4 (ยังไม่รวมกำไรของไตรมาส 3/2547 และไตรมาส 4/2547 จำนวน
6,761 ล้านบาท)
สินเชื่อด้อยคุณภาพ
ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ซึ่งประกอบด้วยเงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานลงมา
ตามคำนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 80,340 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 14.0 เทียบกับจำนวน 89,769 ล้านบาท (ร้อยละ 17.5) ณ 31 ธันวาคม 2546
(ล้านบาท)
31 ธันวาคม 2547 31 ธันวาคม 2546
จำนวน ค่าเผื่อหนี้ จำนวน ค่าเผื่อหนี้
สินเชื่อจัดชั้น สงสัยจะสูญ สินเชื่อจัดชั้น สงสัยจะสูญ
สินเชื่อจัดชั้นและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ปกติ 484,262 6,375 416,383 11,965
กล่าวถึงเป็นพิเศษ 9,086 72 6,945 54
ต่ำกว่ามาตรฐาน 4,711 412 5,404 791
สงสัย 5,476 750 11,260 2,106
สงสัยจะสูญ 70,152 38,680 73,105 31,956
รวม 573,688 46,290 513,097 46,872
สำรองที่ตั้งเป็นการทั่วไปและเฉพาะราย 25,208
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรวม 72,080
สินเชื่อด้อยคุณภาพ (ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานและต่ำกว่า) 80,340 89,769
% ต่อสินเชื่อรวม (รวมเงินให้สินเชื่อสถาบันการเงิน) 14.00% 17.50%
หมายเหตุ: สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) หมายถึง สินเชื่อจัดชั้นตั้งแต่ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานลงมา
รวม เงินให้สินเชื่อสถาบันการเงิน แต่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับและสินทรัพย์อื่น--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ