กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.66 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 เป็นผลมาจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังซื้อในประเทศก็มีทิศทางที่ดีเช่นเดียวกัน ส่งผลให้อุตสาหกรรม รถยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันพืช Hard Disk Drive และเม็ดพลาสติก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามลำดับ
นางเพ็ญวิภา ไตรศิริพานิช ผู้อำนวยการกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนในการแถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index - MPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีการขยายตัวร้อยละ 4.66 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ได้แก่ รถยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันพืช Hard Disk Drive และเม็ดพลาสติก
สินค้าในอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีการขยายตัวได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเครื่องยนต์ แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล รถยนต์นั่งและรถปิคอัพเป็นหลัก
น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล 95 และ 91 เป็นหลัก และจากการหยุดเดินเครื่องจักรเพื่อซ่อมบำรุงใหญ่ของโรงกลั่นบางโรงในปีก่อน และจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและการท่องเที่ยวที่เติบโตสูง ทำให้มีปริมาณขนส่งสินค้าและการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น
น้ำมันพืช ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันปาล์มดิบเนื่องจากช่วงต้นปี 2560 พื้นที่เพาะปลูกในภาคใต้ประสบปัญหาน้ำท่วม ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลปาล์มได้ ประกอบกับพื้นที่ในการปลูกปาล์มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้น้ำมันปาล์มดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น
Hard Disk Drive ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.40 เนื่องจากผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่เพิ่มขึ้นจากการปิดฐานการลงทุนของประเทศจีนและสิงคโปร์ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งาน Internet of Things (IoT) และการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็ว ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เม็ดพลาสติก ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.80 จาก พอลิโพไพลีน เรซิน (PP) และ พีวีซี เรซิน (PVC) เป็นหลัก จากการหยุดการซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย รวมถึงมีการขยายสายการผลิต พอลิโพไพลีน เรซิน (PP) เพิ่มขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมสาขาสำคัญไตรมาสที่ 2/2561 ที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีการขยายตัว ได้แก่
อุตสาหกรรมรถยนต์ แนวโน้มขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 3.13 โดยเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 0.26 ส่งออกร้อยละ 11.06
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.50 มาจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ3.79
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า มีแนวโน้มขยายตัวในไตรมาส 2 ร้อยละ 4.39
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีแนวโน้มขยายตัวในไตรมาส 2 โดยผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 1.54 ผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 4.19 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 1.56
อุตสาหกรรมอาหาร มีแนวโน้มขยายตัวในไตรมาส 2 ร้อยละ 3.3 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารขยายตัวได้แก่ ไก่และสัตว์ปีกแปรรูป และน้ำตาล
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต
Index 2560 2561
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.*
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 112.03 112.05 125.51 99.32 114.22 110.66 107.61 112.30 114.12 108.37 115.44 111.70 117.30 117.26
อัตราการเปลี่ยนแปลง 6.11 0.01 12.01 -20.86 15.00 -3.12 -2.76 4.36 1.62 -5.04 6.53 -3.24 5.01 - 0.03
(MOM) %
อัตราการเปลี่ยนแปลง 0.95 -1.55 0.88 -1.61 2.69 0.97 3.97 5.63 5.34 1.02 6.29 5.80 4.70 4.66
(YOY) %
อัตราการใช้กำลังการผลิต 67.79 67.18 73.86 59.40 67.99 66.05 64.89 67.87 68.41 65.18 69.11 67.77 70.55 70.43
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2561