The 7th Asia Partnership Conference of Pharmaceutical Association (APAC)

ข่าวทั่วไป Wednesday April 18, 2018 15:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งานประชุม APAC (The Asia Partnership Conference of Pharmaceutical Association) ครั้งที่ 7 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 ณ ประเทศญี่ปุ่น Asia Partnership Conference of Pharmaceutical Associations หรือ APAC เป็นสมาคมความร่วมมือทางด้านการผลิตยาที่ประกอบด้วย 12 หน่วยงานจาก 11 เขตเศรษฐกิจในเอเซีย มีเป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิด Innovative Medicines ในเอเซีย และส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในภูมิภาค โดยสมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ของญี่ปุ่น หรือ JPMA (Japan Pharmaceutical Manufacturers Association) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ทีเซลส์ (TCELS) โดย ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานประชุม APAC หัวข้อ "การสร้างระบบนิเวศการค้นพบยาใหม่ในเอเซีย" โดยการค้นพบยาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสร้างยาใหม่ๆ ผ่านนวัตกรรมแบบเปิด Open Innovation การดำเนินงานด้านการส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิดระหว่างประเทศในเอเซียมีเป้าหมายคือ "การส่งมอบยาที่เป็นนวัตกรรมใหม่จากเอเชียไปยังคนเอเชีย" เมื่อมองไปที่เอเชียจากมุมมองของ "ระบบนิเวศการค้นพบยา" เราสามารถรับรู้ถึงเอกลักษณ์ของตนได้ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ดร.นเรศ ดำรงชัย กล่าวว่า "ทีเซลส์ (TCELS) ได้มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาสารสกัดจากธรรมชาติให้พบสารออกฤทธิ์ทางยา โดยความร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery : ECDD) มหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ไบโอเทค สวทช. ตลอดจนมีพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ โดยสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม" "นอกจากนี้ ทีเซลส์ (TCELS) ได้เข้าร่วมโครงการ Natural Products for Drug Discovery (NPD) การค้นพบยาใหม่จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น ไต้หวัน และ ไทย มุ่งเป้าด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อการค้นพบยา ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอย่างเป็นระบบและครบวงจร ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 การนำผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญสำหรับการค้นหาและพัฒนายาใหม่นั้น สามารถนำประโยชน์มาสู่อุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศได้อย่างมาก ปัจจุบันทีเซลส์ มีศูนย์เทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด ทำหน้าที่ในการค้นหาตัวยาใหม่ๆผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เซลล์ตั้งต้น และผลิตเซลล์ในเชิงพาณิชย์ด้วยระบบอัตโนมัติ ทีเซลส์ได้วางแผนกลยุทธหลักในการพัฒนาขีดความสามารถภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นใน 2 เรื่องหลัก คือ อุตสาหกรรมยา และเครื่องมือแพทย์ไปสู่ medical therapy industry และการพัฒนา high-end service base ด้วยระบบ AI / Big Data ผ่าน 4 โปรแกรมคือ Biopharma, Cell&Gene, Robotic และ Cosmetic" ดร.นเรศกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ